สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม
พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี, พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อเรื่อง: การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่อง (EN): Agricultural Technology Transfer and Innovation Development by Sufficiency Economy Philosophy for Community in Nakhon Pathom Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม ประกอบไปด้วยการศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกระบวนการผลิตทางการเกษตร การศึกษาบริบทชุมชนในด้านระบบการผลิตและระบบนิเวศเกษตรในชุมชน และนำสู่การพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมสู่เกษตรกรโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน กระบวนการผลิตทางการเกษตรในระดับปานกลาง มีความรู้ความเข้าใจแต่ขาดการปฏิบัติอย่างจริงจัง การศึกษาบริบทชุมชนในด้านระบบการผลิตและระบบนิเวศเกษตรในชุมชน พบว่า 1) ผลิตภาพหรือระดับการผลิตของชุมชนเป็นไปตามมาตรฐาน 2) เสถียรภาพหรือความสม่ำเสมอ เป็นไปตามมาตรฐาน 3)ถาวรภาพหรือความยั่งยืน เมื่อพิจารณาจากกระบวนการการจัดการดินและการจัดการศัตรูพืช พบว่าทุกชุมชนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน 4) กิจกรรมการเกษตรในชุมชนส่งผลต่อการสร้างความสามัคคีในหมู่เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงและเครือญาติ 5) กิจกรรมการเกษตรในชุมชนมีความเสมอภาคในด้านการผลิต การตลาด และผลประโยชน์ที่ต่างคนต่างได้รับตามกำลังการผลิตของตนเอง และ 6) ชุมชนมีการพึ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิตโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน การพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมสู่เกษตรกรโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีรูปแบบกระบวนการ 5 กระบวนการ ได้แก่ 1.การจัดกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบไปด้วย การจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อย (เวทีสนทนายามเย็นที่บ้านเกษตรกร) การจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อยเชิงประเด็น และการจัดเวทีวิจัยสัญจร 2.การจัดกระบวนการสร้างความรู้ ประกอบไปด้วย เวทีประชุมกลุ่มเพื่อการกำหนดความรู้ร่วมกันกิจกรรมการอบรมให้ความรู้ในห้องบรรยาย และกิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกพื้นที่ 3.การจัดกระบวนการกระจายความรู้ 4.การจัดกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ 5. กระบวนการสร้างอัตลักษณ์เกษตรกรต้นแบบ คำสำคัญ ; การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร, การพัฒนานวัตกรรม
บทคัดย่อ (EN): This research aims to develop knowledge , innovation and technology transfer in agriculture using the sufficiency economy philosophy to farmers in the community, Nakhon Pathom. The study was consists of cognitive education of farmers in the use of philosophy in the process of agricultural production. Education community in the context of production systems and ecological agriculture in the community. And led to the development of innovative agricultural technologies and processes appropriate to farmers by the philosophy of sufficiency economy. The results showed that most farmers have a better understanding of the sufficiency economy philosophy in the medium. Have a better understanding , but lack of practice. Education community in the context of production systems and agro- ecological communities found that productivity and stability of production are avilables. In case of sustainable by considering the soil management and pest management, found that all communities remained below. Agricultural activities in the community affect the unity among neighbors and kin. Agricultural activities in the community are equal in terms of production, marketing and benefits. That every man has the capacity of self and community self-reliance, the inputs are generally lower than standard. Innovation and the transfer of agricultural technologies to farmers using the sufficiency economy philosophy. Process, i.e a process model 5. 1.The process of social mobility with a sub forum. (Forum home evening farmer) organized the forum sub-oriented issues. And backstage roaming research 2. The knowledge creation process consists of the meetings to determine the knowledge-sharing activities, provide training in a lecture hall. And learning from sources outside the area. 3. Classification process of distributing knowledge. 4. The process of learning from practice. 5. Process of identity construction master farmers. Keywords : Technology Transfer in Agriculture, Innovation development
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
30 กันยายน 2556
โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาเทคโนโลยีวนเกษตรระดับสถานีวิจัยเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงบูรณาการ การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตร การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผัก ในภาคใต้ ปี 2544 กระบวนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  และการบูรณาการสร้างและพัฒนาระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ การพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาแกนนำเกษตรกรและยุวเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2552 (เกษตรอินทรีย์ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) (Test) 87 ทางเลือกทางการเกษตร เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก