สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยวิธีการตรวจสอบการปลอมปนข้าวเพื่อการส่งออก
วิโรจน์ พิราจเนนชัย - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ชื่อเรื่อง: การวิจัยวิธีการตรวจสอบการปลอมปนข้าวเพื่อการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Research for contamination rice detection methodology
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิโรจน์ พิราจเนนชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาวิธีการตรวจสอบการปลอมปนของข้าวสารชนิดข้าวหอมมะลิที่อยู่ภายในถุงบรรจุ โดยวิธีการทางการประมวลผลสัญญาณภาพของวัตถุด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง เปรียบเทียบกับวิธีการถ่ายภาพด้วยรังสีแล้วผ่านกระบวนการวิเคราะห์ทางภาพ จากผลการทดสอบพบว่าการตรวจสอบด้วยการประมวลผลภาพถ่ายจากภาพเอ็กเรย์ถุงบรรจุข้าว ไม่สามารถดึงลักษณะเด่นของภาพออกมาเพื่อทำการวิเคราะห์หรือแยกแยะได้ ถึงแม้ว่าจะสังเกตเห็นได้ว่ามีการปลอมปนที่บรรจุแทรกไว้ แต่ในการแยกแยะอัตโนมัติโดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพดิจิตอลไม่สามารถแยกแยะออกมาได้ อีกทั้งการตรวจสอบเมล็ดข้าวด้วยเครื่องสแกนภาพถุงบรรจุข้าวไม่สามารถแยกแยะข้อมูลได้ชัดเจน จากการทดสอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงเพื่อหาสภาพของการตอบสนองคลื่นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง พบว่าจากการทดสอบจะต้องใช้กำลังงานสูงประมาณ 10 dBm จึงสามารถพิจารณาสภาพการปลอมปนที่เกิดขึ้นภายใน ที่เกิดจากการดูดซับและส่งผ่านพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง แต่มีบางส่วนที่สภาพของเมล็ดข้าวมีความชื้นที่แตกต่างทำให้ผลการวิเคราะห์มีข้อผิดพลาดได้ ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาการตรวจสอบการปลอมปน และต้องมีการพัฒนาการวิเคราะห์ผลภาพจากรูปแบบของสัญญาณในลักษณะต่าง ๆ ต่อไป
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
เอกสารแนบ: http://www.repository.rmutt.ac.th/handle/123456789/271
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยวิธีการตรวจสอบการปลอมปนข้าวเพื่อการส่งออก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ชุดตรวจสอบการปลอมปนข้าวหอมมะลิ การพัฒนาวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากเมล็ดข้าวสารเพื่องานตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวด้วยโมเลกุลเครื่องหมาย การพัฒนาเครื่องต้นแบบตรวจสอบคุณภาพและการปลอมปนเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบรวดเร็วด้วยคลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้แบบเคลื่อนที่ การพัฒนาวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากเมล็ดข้าวสารและการนำโมเลกุลเครื่องหมายมาใช้เพื่องานตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าว การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอตรวจสอบการปลอมปนพันธุ์ข้าวด้วยการประมวลผลภาพดิจิตอล การวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการขัดสีข้าว วิธีการตรวจสอบข้าวชนิดอื่นปนในข้าวหอมมะลิ การประเมินความแม่นยำในการวิเคราะห์การปลอมปนของข้าวพันธุ์อื่นในเมล้ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด การพัฒนาเครื่องต้นแบบตรวจสอบคุณภาพและการปลอมปนเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบรวดเร็วด้วยคลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้แบบเคลื่อนที่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก