สืบค้นงานวิจัย
สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย
พัชรี พันธุเล่ง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): The Coastal Environment in the Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชรี พันธุเล่ง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Patcharee Puntuleng
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาสภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดตราดถึงนราธิวาส ตามระยะห่างฝั่ง >1.6 – 3, 3.0 - 5.0 และ 5.0 - 10.0 ไมล์ทะเลรวม 60 สถานี ในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม และกรกฎาคม 2553 โดยเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำที่ระดับผิวน้ำ กลางน้ำ และพื้นน้ำผลการศึกษาพบว่าความลึกของนํ้าทะเลบริเวณสถานีเก็บ ตัวอย่างเท่ากับ 0.50 - 36.00 เมตรความโปร่งใสเท่ากับ 1.20 - 23.50 เมตร อุณหภูมิเท่ากับ 26.63 - 32.96องศาเซลเซียส ความเค็มเท่ากับ 28.28 - 34.88 psu ความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7.15 - 9.90ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำเท่ากับ 4.00 - 7.78 มิลลิกรัมต่อลิตร และปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมดเท่ากับ 0.01 - 185.00 มิลลิกรัมต่อลิตรปริมาณ ฟอสเฟต - ฟอสฟอรัสเท่ากับ 0.81 - 48.65 ไมโครกรัมอะตอมฟอสฟอรัสต่อลิตร ปริมาณไนไตรท์ - ไนโตรเจนเท่ากับ 0.01 - 28.74 ไมโครกรัมอะตอมไนโตรเจนต่อลิตรปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนเท่ากับ 0.00 - 40.50 ไมโครกรัมอะตอมไนโตรเจน ต่อลิตร และปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนเท่ากับ 0.01 - 50.00 ไมโครกรัมอะตอมไนโตรเจนต่อลิตร แพลงก์ตอนพืชมีความหนาแน่นเฉลี่ยสูงที่สุดที่ระยะห่างฝั่ง >1.6 - 3.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 491,451 เซลล์ต่อลิตรรองลงมาได้แก่ ระยะ 3.0 - 5.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 432,597 เซลล์ต่อลิตรและระยะ 5.0 - 10.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 253,391 เซลล์ต่อลิตรมีองค์ประกอบชนิดมากที่สุดในบริเวณระยะห่างฝั่ง 3.0 - 5.0 ไมล์ทะเลเท่ากับ 141 ชนิด 69 สกุล รองลงมาได้แก่ ระยะ 5.0 - 10.0 ไมล์ทะเลเท่ากับ 138 ชนิด 69 สกุล และ >1.6 - 3.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 136 ชนิด 68 สกุลสกุลที่มีความหลากหลายของชนิดมากทั้ง3 ระยะห่างฝั่งได้แก่ Chaetoceros, Ceratium และ Rhizosolenia พบว่าชายฝั่งในอ่าวไทยตอนบนทั้ง3 บริเวณระยะห่างฝั่งมีความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชสูงที่สุด โดยแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นและมีความหนาแน่นสูงทั้ง 3 บริเวณระยะห่างฝั่ง ได้แก่Pseudo-nitzschia pungens, Chaetoceros pseudocurvisetus, Chaetoceros lacinosus, Thalassionema frauenfeldii และProboscia alata แพลงก์ตอนสัตว์มีความหนาแน่นเฉลี่ยสูงที่สุดที่ระยะห่างฝั่ง 5.0 - 10.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 2,446 ตัวต่อ ลูกบาศก์เมตรรองลงมาได้แก่ ระยะ3.0-5.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 1,840 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรและระยะ>1.6 - 3.0 ไมล์ ทะเล เท่ากับ 1,116 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรมีองค์ประกอบชนิดมากที่สุดในบริเวณระยะห่างฝั่ง3.0-5.0 ไมล์ทะเลพบไม่น้อยกว่า 95 ชนิด 60 สกุลระยะวัยอ่อน 37 กลุ่ม รองลงมาได้แก่ ระยะ5.0 - 10.0 ไมล์ทะเลพบไม่น้อยกว่า 92 ชนิด 59 สกุล ระยะวัยอ่อน 33 กลุ่ม และระยะ>1.6 - 3.0 ไมล์ทะเล พบไม่น้อยกว่า 88 ชนิด 56 สกุลระยะวัยอ่อน 37 กลุ่ม สกุลที่มี ความหลากหลายของชนิดมากทั้ง3 ระยะห่างฝั่งอยู่ใน Phylum Arthropodaได้แก่ Chaetoceros, Ceratium และ Rhizosoleniaพบว่าชายฝั่งในอ่าวไทยตอนบนทั้ง 3 บริเวณระยะห่างฝั่งมีความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์สูงที่สุด โดยแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดเด่นและมีความหนาแน่นสูงทั้ง 3ระยะห่างฝั่ง ได้แก่ Vorticella oceanic, copepod nauplii, calanoid copepodid, Sagitta spp., Oikopleura spp. และ Ophiopluteus larvae
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-06-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย
กรมประมง
30 มิถุนายน 2554
กรมประมง
การเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะการทำประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งแชบ๊วยบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาปากคมชนิด Saurida elongata และ S. undosquamis ในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกชนิด Decapterus maruadsi ในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาสีกุนตาโต Selar cumenohpthalmus ในอ่าวไทย การประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย การประมงปลากะตักในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาข้างเหลือง Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ในอ่าวไทย อิทธิพลของสภาวะแวดล้อมต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและสถิติประชากรของนกเขตร้อน (ระยะที่ 2)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก