สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านบริวารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.สภาพและความรุนแรงของปัญหาต่าง ๆ ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกร
วิโรจน์ วนาสิทธชัยวัฒน์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านบริวารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.สภาพและความรุนแรงของปัญหาต่าง ๆ ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of Native Chicken Raising in villages under Poo Pan Project 1.Some Aspects of Native Chicken Raising
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิโรจน์ วนาสิทธชัยวัฒน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพและความรุนแรงของปัญหาต่าง ๆ ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในหมู่บ้านบริวารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับวางแผนและดำเนินการปรับปรุงการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกร เพื่อหาทางเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรตามพระราชประสงค์ โดยทำการสำรวจข้อมูลจากการเกษตรกรในหมู่บ้านบริเวณรอบ ๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร จำนวน 14 หมู่บ้าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร รวมทั้งสิ้น 207 ราย ในระหว่างเดือน พฤษภาคม – กันยายน 2534 ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักในการทำนาและมีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแท้กันทุกครัวเรือน เพื่อให้บริโภคเองภายในครัวเรือนและแบ่งขายบางส่วน โดยเฉลี่ยแล้ว เกษตรกรเลี้ยงพ่อไก่ไว้รายละ 2 ตัว แม่ไก่ 4.8 ตัว เฉลี่ยทั้งฝูง 26.2 ตัว โดยเลี้ยงแบบปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ และให้อาหารอื่นจำพวก ปลายข้าวเปลือกเสริมวันละ 38.3 กรัม/ตัว แม่ไก่ให้ผลผลิตไข่ได้ เฉลี่ยปีละ 3 ชุด จำนวนไข่ชุดละ 10 – 12 ฟอง มีลูกไก่ฟักออกเป็นตัว ชุดละ 9.5 ตัว เหลือรอดมาจนถึงพรากจากแม่ (อายุ 1 – 2 เดือน) เฉลี่ยชุดละ 6.6 ตัว เกษตรกรนำไก่ที่เลี้ยงไว้มาบริโภคเฉลี่ยเดือนละ 2.4 ตัว และขายไปเฉลี่ยเดือนละ 3.2 ตัว โดยมีรายได้เฉลี่ยจากการขายไก่ ปีละ 938.80 บาท ปัญหาการเลี้ยงไก่ของเกษตรกร ที่พบว่ามีความรุนแรงมากเป็นอันดับหนึ่งคือ ปัญหาการเกิดโรคระบาด โดยเฉพาะโรคอหิวาต์และนิวคาสเซิล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไก่ตายไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่ล่วงหน้า (ร้อยละ 63.8) และนอกจากนี้ยังไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่ล่วงหน้า (ร้อยละ 63.8) และนอกจากนี้ยังไม่ได้ทำการกำจัดพยาธิภายนอกและพยาธิภายใน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเรื่องหมัดและไรมากเช่นกันด้วยปัญหาอื่น ๆ ที่พบมีความสำคัญรอง ๆ ลงมาได้แก่ การสูญเสียไก่เนื่องจากถูกสัตว์อื่นกัดตาย ขาดแคลนเงินทุนในการซื้ออาหารคุณภาพดี วัคซีนและยารักษาโรคหาซื้อได้ยาก ไก่ถูกขโมยและถูกรถทับตาย ในส่วนของความต้องการความช่วยเหลือนั้น เกษตรกรต้องการให้รัฐให้การสนับสนุนด้านการทำวัคซีนไก่อย่างสม่ำเสมอก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อลดจำนวนไก่ตายเนื่องจากโค รองลงมาเป็นความช่วยเหลือด้านยากำจัดหมัด – ไร ยารักษาโรคไก่ต่าง ๆ พร้อมทั้ง พันธุ์ไก่ที่ดี พันธุ์ไก่ที่ดี คำแนะนำการเลี้ยงไก่อย่างถูกวิธี ตลอดจนคำแนะนำด้านอาหารไก่ เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้และสามารถขยายการผลิตไก่พื้นเมืองเพิ่มขึ้น จนทำเป็นอาชีพเสริมได้
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study were to obtain the general background information and some aspects of native chicken raising in the villages under Poo Pan project, Sakolnakorn province. The study was carried out in 14 villages by interviewing 207 farmers May 1991 through September 1991. The results of the survey revealed that native chickens were raised mainly as a part of farming for home consumption and some sales. Most of the were raised freely looking around for natural feeds but some were given feed consisting of broken rice, paddy rice, atc. The average number of chickens per household were 26.2 heads, 2 cocks per 4.8 Hens. There was an arerage of 3 egg laying periods per year with an average of 10 – 12 eggs per hen for each period. The most limiting factor of native chicken raising were infectious deseases, especially Fowl cholera and Newcastle. Most of the farmers, about 63.8 percent, did not do vaccination programs and they also paid little attention to parasite control. This led to significant problems with fleas and lice. Firstly, the farmers need government help to mininize rate of chickens due to infectious deseases. Vaccinations should be carried out by official technicians to show farmers the proper techniques of immunization. This would mean that in the future the farmers could do the vaccinations themselves. The technical knowledge on parastic control, preventative medicine, improved breeding stock, improvement of production management and feeding ought to be included as well.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านบริวารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.สภาพและความรุนแรงของปัญหาต่าง ๆ ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกร
กองอาหารสัตว์
2535
กรมปศุสัตว์
คู่มือการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ผลของสถานที่ การศึกษา สายพันธุ์ และวัตถุประสงค์การผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อรายได้ของเกษตรกรในวังทอง เมือง บางระกำ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร การเลี้ยงโคขุน ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรต่อโครงการการเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านชนบทโดยการให้วัคซีนป้องกันโรค จังหวัดมหาสารคาม การสำรวจสภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ สภาพการเลี้ยงโคนมในแหล่งต่างๆ 1.2 เขตสหกรณ์นิคมวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี การวิจัยการเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองบนพื้นที่สูง สภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชุมพร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก