สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำไร่พริกแบบเกษตรธรรมชาติแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (GAP) บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วีระศักดิ์ จุลดาลัย - มหาวิทยาลัยนครพนม
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยและพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำไร่พริกแบบเกษตรธรรมชาติแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (GAP) บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อเรื่อง (EN): The Research and Development Of Natural Hot Chili Farming in Mekong River Basin to Follow Good Agricultural Practice and Sufficiency Economy Philosophy and Competitiveness
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระศักดิ์ จุลดาลัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในไร่พริก ของกลุ่มเกษตรกรทำไร่พริกอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม และพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรทำไร่พริกแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการปลูก การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และระบบบริหารจัดการกลุ่มในพื้นที่เป้าหมาย ตลอดจนการหาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับ พริก เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อนนำไปสู่การหารูปแบบการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง ของกลุ่มเกษตรกรทำไร่พริกแบบเกษตรธรรมชาติ โดยการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาสภาพปัญหา วิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางการแก้ไขปัญหา และสร้างระบบการจัดการเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผลการศึกษา พบว่า จากกระบวนการพัฒนาและกระบวนการจัดการความรู้เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง กลุ่มเกษตรกรทำไร่พริก อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (GAP) สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิเคราะห์และนำความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการใช้ปุ๋ยคอก รวมทั้งการผสมผสานกับองค์ความรู้เรื่องการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพให้พอเพียงกับ ความต้องการของเกษตรกร จนสามารถลดการใช้สารเคมีในไร่พริก และลดต้นทุนการทำไร่พริกแบบปลอดสารพิษ โดยเน้นการใช้สมุนไพรที่ได้จากทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนโพนสวรรค์มาประยุกต์ใช้เป็นน้ำสมุนไพรเพื่อป้องกันแมลงในไร่พริก และได้ปลูกสมุนไพรทดแทน เพื่อสร้างความตระหนัก และปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนรักและหวนแหนทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่กลุ่มแม่บ้านฯ นำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการถนอมอาหารมาประยุกต์ใช้กับการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริก เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และจำหน่ายภายในชุมชน รวมทั้งการส่งผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายให้กับชุมชนใกล้เคียง และหน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อให้ได้ปริมาณผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริกที่มีคุณภาพ และสอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นการผลิตที่ยึดหลักความพอประมาณ ตั้งแต่การวางแผนการผลิตที่คำนึงถึงความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนการรวมกลุ่มของกลุ่มเกษตรกรทำไร่พริก อำเภอโพนสวรรค์เป็นการนำศักยภาพของกลุ่มฯมาสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยลดการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตจากภายนอกให้มากที่สุด ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของความแบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังความสามารถของสมาชิกในชุมชน ทำให้เกิดความพอเพียงในการดำเนินชีวิตและมีชีวิตที่สมดุลอย่างแท้จริง ซึ่งเป็น “ความพอเพียงในระดับชุมชน” โดยเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าและตรงกับทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ของพระบาทสมเดจ็พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ความเชื่อมโยงของการรวมกลุ่มสมาชิกชุมชนโพนสวรรค์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและขณะนี้ชุมชนบ้านกลางกำลังจะพัฒนาเข้าสู่ทฤษฏี ขั้นที่ 3 โดยการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ภายนอกชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์/บทเรียนจากการพัฒนา และร่วมมือกันพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกัน กลายเป็น “เครือข่ายชุมชนพอเพียง” ที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือกันและกันในที่สุ่ด
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/294353
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนครพนม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำไร่พริกแบบเกษตรธรรมชาติแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (GAP) บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยนครพนม
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชุดโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเศรษฐกิจในกระชัง จังหวัดนครพนม เพื่อผลิตอาหารปลาเศรษฐกิจจากใส้เดือนดิน แบบครบวงจร ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทางรอดของการเลี้ยงสุกรขุนสำหรับเกษตรกรรายย่อย : กรณีศึกษาการเลี้ยงสุกรในระบบเกษตรธรรมชาติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเลี้ยงกบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  และการบูรณาการสร้างและพัฒนาระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ การศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติที่ยั่งยืนของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาต้นแบบหลักสูตรเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการศึกษาทางไกล อาหารบำรุงสมอง การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก