สืบค้นงานวิจัย
การประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชในการประเมินการตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน
ปรเมศ บรรเทิง, นันทวุฒิ จงรั้งกลาง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชในการประเมินการตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Application of crop growth model in evaluating the response of cassava cultivars to different planting dates
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: แบบจำลองการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังเป็นเครื่องมือทางเลือกชนิดหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการประเมินการตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 9 ระยอง 11 และ CMR38-125-77 ภายใต้สภาพแวดล้อมปลูกที่แตกต่างกัน 2) เพื่อประเมินศักยภาพของแบบจำลองการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ในการจำลองการตอบสนองของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 9 ต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการวันปลูกที่เหมาะสมสำหรับมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 9 ด้วยแบบจำลอง ปลูกมันสำปะหลังทั้ง 4 พันธุ์ คือ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 9 ระยอง 11 และ CMR38-125-77 ในปี 2558-2559 ภายใต้สภาพไร่ ที่หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ. เมือง จ. ขอนแก่น และภายใต้สภาพพื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ที่บ้านโคกสี ตำบลบ้านค้อ อ. เมือง จ. ขอนแก่น ใช้แผนการทดลอง randomized complete block design (RCBD) มี 4 ซ้ำ บันทึกข้อมูลดินก่อนปลูก ข้อมูลฟ้าอากาศตลอดฤดูปลูก ข้อมูลการจัดการ และข้อมูลพืช เพื่อใช้ในการประเมินแบบจำลอง ทำการจำลองผลผลิตรากสะสมอาหารของ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง 9 ภายใต้วันปลูกที่แตกต่างกัน ผลจากการทดลองจริงในแปลงชี้ให้เห็นว่า CMR38-125-77 เป็นพันธุ์ที่ดีในเกือบทุกลักษณะสำหรับทั้งสองวันปลูก ผลที่ได้จากการทดลองจริงและจากการจำลองสถานการณ์มีความแตกต่างกัน จากการจำลองสถานการณ์ตั้งแต่ปี 2538-2558 พบว่า ทั้งภายใต้สภาพการให้น้ำชลประทานและสภาพอาศัยน้ำฝน มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 มีน้ำหนักแห้งรากสะสมอาหารสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝน ดินชุดยโสธรให้ค่าน้ำหนักแห้งรากสะสมอาหารสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ วันปลูกเดือนเมษายนและพฤษภาคมภายใต้สภาพการให้น้ำชลประทานให้น้ำหนักแห้งรากสะสมอาหารสูงกว่าวันปลูกอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝน การปลูกที่ 2 เดือนแรกของปีให้น้ำหนักแห้งรากสะสมอาหารมากกว่าวันปลูกอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): The cassava model is an alternative tool to provide the oppunity for its application in evaluating the responses of cassava genotypes in difffrent planting dates. The objective of this study were to 1) study on growth of cassava genotypes, i.e., Kasetsart 50, Rayong 9, Rayong 11 and CMR38-125-77 in different environmental planting 2) evaluate the potential of the cassava model in simulating the responses of Kasetsart 50 and Rayong 9 to different planting dates and 3) study on appropriate planting date managements for Kasetsart 50 and Rayong 9 by using the model. The four cassava genotypes, i.e., Kasetsart 50, Rayong 9, Rayong 11 and CMR38-125-77 were grown during 2015-2016 under upland condition at Field Crop Research Experimental Station, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Mueang Khon Kaen, Khon Kaen province and under following rainfed upper paddy field condition at Ban Khok Si, Ban Kho distric, Mueang Khon Kaen, Khon Kaen province. A randomized complete block design with 4 replications was used. Soil physical and chemical properties before planting, physiological traits, storage root dry weight at final harvest and weather data were recorded for model evaluation. The storage root yields of Kasetsart 50 and Rayong 9 were simulated under different plating dates. The results from actual experiments indiacted that CMR38–125–77 is a good genotype in terms of most crop traits for both planting dates. There were differences between actual values of observed and simulated data. Simulated results for 1995-2015 indicated that Rayong 9 had higher storage root dry weight than Kasetsart 50 with statistical significance for both irrigated and rainfed conditions. Yasothon soil serie gave high storage root dry weight with statistical significance under rainfed condition. Under irrigated condition, the planting dates of April and May produced more storage root dry weight than the other planting dates with statistical significance. Under rainfed codition, planting at the first two months of the year gave higher storage root dry weight than the other planting dates with statistical significance.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชในการประเมินการตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2560
การคำนวณและการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมสำหรับมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 เพื่อการประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม การประยุกต์ใช้แบบจำลอง CSM-CSCRP-Cassava ในการประเมินการตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน อาหารจากมันสำปะหลัง การประเมินความเข้มของสีใบด้วย SCMR การเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังที่ปลูกภายใต้การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการปลูกข้าวนาน้ำฝนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช การใช้แบบจำลอง GUMCAS ในการเลือกพันธุ์และช่วงปลูกมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) เฉพาะพื้นที่ การใช้แบบจำลองการผลิตมันสำปะหลังเพื่อประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีเฉพาะพื้นที่ อิทธิพลของสาร paclobutazol ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตมันสำปะหลัง การตอบสนองของผลผลิตและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังพันธุ์ต่างๆ ต่อการให้น้ำในอายุพืชที่ต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก