สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพและวิธีการใช้สารเคมีบางชนิดต่อการควบคุมโรครากขาวในสวนยาง
อารมณ์ โรจน์สุจิตร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพและวิธีการใช้สารเคมีบางชนิดต่อการควบคุมโรครากขาวในสวนยาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารมณ์ โรจน์สุจิตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โรครากขาวของยางพาราเกิดจากเชื้อราชั้นสูงจำพวกเห็ด(Basidiomycetes)มีชื่อวิทยาศาสตร์ Rigidoporusmicroporus พบแพร่ระบาดและทำความเสียหายแก่พื้นที่ปลูกยางในทวีปเอเชีย ได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกาและ ไทย ทวีปอาฟริกาได้แก่ไอโวรีโคสท์ กานา ไนจีเรียกาบอง โรครากขาวทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ สามารถพบต้นยางเป็นโรคได้ตั้งแต่ 1-2 ปีแรกปลูกต้นที่เป็นโรคจะยืนต้นตายและเป็นแหล่งเชื้อแพร่กระจายแก่ต้นยางข้างเคียงทั้งในแถวและระหว่างแถวต่อไป ทำให้จำนวนต้นยางและผลผลิต/ไร่ลดลง มีผลทำให้สูญเสียรายได้ทั้งจากผลผลิตน้ำยางและต้นยาง นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการควบคุมและป้องกันโรคอีกด้วยปี2551-2553(อารมณ์ และ คณะ, 2554)ได้สำรวจสวนยางในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนที่เป็นเฉพาะโรครากทั้งหมดในจำนวนนี้เป็นโรครากขาวมากถึงร้อยละ 94.82โดยมีความเสียหายและมีบริเวณที่เป็นโรครากขาวเฉลี่ย 0.61ไร่ และ 2.13 บริเวณต่อแปลง ความเสียหาย(Y=จำนวนต้น)ของต้นยางเนื่องจากโรคแต่ละบริเวณมากขึ้นตามอายุสวนยาง(X)ดังสมการเลขยกกำลัง Y =1.493X1026ในการป้องกันกำจัดโรครากในสวนยางเพื่อลดความรุนแรง ป้องกันการแพร่ลุกลามของโรคในแปลง และลดแหล่งเชื้อในแปลงปลูกยางเพื่อมิให้เป็นปัญหาในแปลงปลูกใหม่ต่อไปนั้น สารเคมียังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่สามารถป้องกัน กำจัดและรักษาโรครากได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สารเคมีที่มีประสิทธิภาพและแนะนำให้ใช้ในปัจจุบัน เช่น ไตรเดอร์มอฟ, ไซโพรโคนาโซล, โพรพินาโซล, เฮกซาโคนาโซล และเฟนิโคลนิล (สถาบันวิจัยยาง, 2553) พบว่ามีจำหน่ายในพื้นที่น้อยมากและราคาค่อนข้างแพง จึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในการจัดการกับโรครากจากการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีชนิดที่ยังไม่มีในคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง พบว่าสารเคมีมายโครบิวทานิล(microbuthanil 12.5%w/v EC))สามารถยับยั้งเชื้อราได้100% ที่ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์เพียง100 ppm. และในสภาพแปลงทดลองพบว่า ไซโปรโคนาโซล(cyproconazole 10%w/v SL)) อัตรา 500 ppm.หรืออัตรามากกว่า 5 เท่าของอัตราที่มีประสิทธิภาพ100%ในห้องปฏิบัติการ และ โพรคลอร์ราช(prochloraz 45%w/v EC) ),ไตรอะดิมิฟอน(triadimefon 20%w/v EC)ทั้งอัตรา 2,000และ 5,000 ppm.สารออกฤทธิ์ หรืออัตรามากกว่า 2 และ 5 เท่าของอัตราที่มีประสิทธิภาพ 100%ในห้องปฏิบัติการมีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดโรครากได้ดีไม่แตกต่างกัน การทดลองนี้จึงได้ทดสอบสารเคมี มายโครบิวทานิลโพรคลอร์ราช,ไตรอะดิมิฟอน ในแปลงปลูกโดยการพัฒนาอัตราและวิธีการใช้สารเคมีที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประหยัด สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในการให้คำแนะนำ และถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพและวิธีการใช้สารเคมีบางชนิดต่อการควบคุมโรครากขาวในสวนยาง
การยางแห่งประเทศไทย
2559
วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว ผลของสารเคมีที่ใช้ในสวนยางต่อภาวะมลพิษของดิน การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์ พืชร่วมยางที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อราโรครากขาวของยางพารา การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดอื่น ๆ ในสวนยาง การคัดเลือก และการขยายพันธุ์ต้นตอยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา ประสิทธิภาพการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุงด้วยสารเคมี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก