สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การจัดการธาตุอาหารกาแฟอราบิก้า
จุไรรัตน์ ฝอยถาวร - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การจัดการธาตุอาหารกาแฟอราบิก้า
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated Research on Improvement of Production of Arabica Coffee in Highland Areas Sub-project 2 : Plant Nutrient Management in Arabica coffee
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จุไรรัตน์ ฝอยถาวร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตกาแฟอราบิก้า โดยดำเนินการในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 10 แห่ง และโครงการขยายผลโครงการหลวง 7 แห่ง ทำการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ pH, OM, EC, N, P, Ca, Mg, Fe, Mn, Cu, S และ B เก็บตัวอย่างพืชเพื่อวิเคราะห์ N, P, Ca, Mg, Fe, Mn, Cu, S และ B ผลการวิเคราะห์ดิน พบว่า ค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) เป็นกรดรุนแรง – กรดเล็กน้อย ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) อยู่ในช่วงปานกลาง – สูงมาก ค่าการนำไฟฟ้า (EC) อยู่ในระดับปลอดภัยทุกพื้นที่ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total-N) อยู่ในระดับปานกลาง – สูงมาก ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available-P) อยู่ในระดับต่ำมาก – สูงมาก ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ (Exch-K) อยู่ในระดับปานกลาง – สูงมาก ปริมาณแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ Exch-Ca) อยู่ในระดับต่ำมาก – สูงมาก ปริมาณแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ (Exch-Mg) อยู่ในระดับต่ำ – สูง ปริมาณธาตุเหล็ก (Fe) อยู่ในระดับ ต่ำ – สูง ปริมาณธาตุแมงกานีส (Mg) อยู่ในระดับ ปานกลาง – สูง ปริมาณธาตุสังกะสี (Zn) อยู่ในระดับ ต่ำ – สูงมาก ปริมาณธาตุทองแดง (Cu) อยู่ในระดับ ต่ำมาก – สูง ปริมาณธาตุซัลเฟอร์ (S) อยู่ในระดับต่ำ – สูง ปริมาณธาตุโบรอน (B) อยู่ในระดับ ต่ำมาก – สูง ผลการวิเคราะห์พืช พื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและโครงกรขยายผลโครงการหลวง พบว่า ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total-N) อยู่ในระดับขาดแคลน – สูง/เป็นพิษ ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (P) อยู่ในระดับขาดแคลน – สูง/เป็นพิษ ปริมาณธาตุโพแทสเซียม (K) อยู่ในระดับขาดแคลน – เพียงพอ ปริมาณธาตุแคลเซียม (Ca) อยู่ในระดับขาดแคลน – เพียงพอ ปริมาณธาตุแมกนีเซียม (Mg) อยู่ในระดับเพียงพอ – สูง/เป็นพิษ ปริมาณธาตุเหล็ก (Fe) อยู่ในระดับเพียงพอ – สูง/เป็นพิษ ปริมาณธาตุแมงกานีส (Mn) อยู่ในระดับ เพียงพอ – สูง/เป็นพิษ ปริมาณธาตุสังกะสี (Zn) อยู่ในระดับขาดแคลน – เพียงพอ ปริมาณธาตุทองแดง (Cu) อยู่ในระดับขาดแคลน – เพียงพอ ปริมาณธาตุโบรอน (B) อยู่ในระดับ อยู่ในระดับเพียงพอ – สูง/เป็นพิษ ผลวิเคราะห์ดินและพืชแสดงถึงปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอหรือมากเกินไปสำหรับการเจริญเติบโตของพืช เพื่อนำไปใช้ในกรวางแผนการทดสอบการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพกาแฟต่อไป การทดสอบสาธิตเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารกาแฟอราบิก้า พบว่า เกษตรกรมีความพอใจในปุ๋ยที่ใช้ เนื่องจากทำให้กาแฟมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น แต่เนื่องเกิดปัญหาโรคและแมลงให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตของกาแฟบางส่วน งานทดสอบการจัดการธาตุอาหารกาแฟสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพกาแฟต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การจัดการธาตุอาหารกาแฟอราบิก้า
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอราบิก้า ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้า บนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ โครงการหลวงแล โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง การประเมินและเฝ้าระวังการระบาดของโรคและแมลงศัตรูกาแฟอราบิก้าในพื้นที่การส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของเสาวรสหวาน บนพื้นที่สูง การตัดแต่งกิ่งกาแฟอราบิก้า ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก