สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาศักยภาพการผลิตเอทานอลจากมันเทศ
พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาศักยภาพการผลิตเอทานอลจากมันเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Potential of Ethanol Production from Sweet potato
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันเทศ โดยสรุปกระบวนการผลิตเอทานอลจากมันเทศมี 6 ขั้น ตอน คือ1)กระบวนการเตรียมวตัถุดิบโดยการบดและตากแห้งเป็นเวลา 3 วัน 2) กระบวนการย่อยแป้งโดยการต้มให้สุกร่วมกับการใช้เอนไซม์แอลฟาอะไมเลส และกลูโคอะไมเลสช่วยย่อยแป้ง 3)กระบวนการหมักด้วยยีสต์ 4)กระบวนการกลั่น ลำดับส่วนเพื่อให้ได้เอทานอลน้ำ และ 6) กระบวนการกำจัดน้ำ เพื่อให้ได้เอทานอลบริสุทธ์โดยการดูดซับด้วย Molecular Sieve การใช้มันเทศเป็นวตัถุดิบในการผลิตเอทานอลพบว่ามันเทศสด 1กิโลกรัมเมื่อผ่านการบดละเอียดและนำมาตากแห้งจะเหลือน้ำ หนัก200กรัม มันเทศสดพนัธุ์โอกุด ปริมาณ 19 -20 กิโลกรัม จะสามารถผลิตเอทานอลน้ำ ได้1ลิตร ที่มีเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอลล์55 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาสภาพและคุณสมบัติของมันเทศที่เหมาะสมในการนำมาใช้ผลิตเอทานอล พบว่ามันเทศแต่ละชนิดที่มีเนื้อสีต่างกัน ได้แก่เนื้อสีขาวเนื้อสีเหลือง เนื้อสีม่วงและเนื้อสีส้ม ให้ปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอลล์แตกต่างกัน มันเทศชนิดที่มีเนื้อสีเหลืองเมื่อนำมาหมกัจะให้ปริมาณแอลกอฮอลล์ในน้ำหมักสูงที่สุด ปริมาณแป้งในมันเทศแต่ละชนิดที่มีเนื้อสีต่างกัน จะให้ปริมาณแป้งแตกต่างกัน มันเทศเนื้อสีเหลืองจะมีปริมาณแป้งสูงสุดคือ68 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำ หนกัแห้งและพบว่ามันเทศที่มีปริมาณแป้งสูงจะให้ปริมาณความเข้มข้น ของแอลกอฮอลล์สูงตามไปด้วย ระยะเวลาการเก็บรักษามันเทศภายหลังการเก็บเกี่ยวมีผลต่อปริมาณเปอร์เซ็นต์แป้งและเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอลล์ที่ได้ระยะเวลาการเก็บรักษามันเทศที่นานเกินกว่า15วันจะทำ ให้ปริมาณแป้งลดลงและเมื่อนำมันเทศมาหมักจะให้เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอลล์ลดลงด้วย ในด้านของการเขตกรรมในการปลูกมันเทศในระดับไร่นาพบว่ามีผลต่อคุณภาพของมันเทศที่ได้และส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอลล์ในน้ำหมักที่ได้อย่างมีนัยสำคัญกล่าวคือ การให้น้ำ มันเทศในระหว่างการปลูกมีผลต่อการสะสมปริมาณแป้งและผลต่อเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอลล์ที่ไดจ้ากการหมักวิธีการให้น้ำ ที่เหมาะสมคือ2 สัปดาห์/ 1คร้ัง ตลอดอายุการเก็บเกี่ยว การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์จะช่วยเพิ่มปริมาณการสะสมเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันเทศโดยมีวธิีการใส่คือในอัตรา150กิโลกรัม/ไร่โดยแบ่ง ใส่2คร้ังที่อายุมันเทศ60และ30วันหลังการเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่ามันเทศจากแปลงของเกษตรกรในแต่ละแหล่งปลูกที่มีความแตกต่างกันในด้านของสภาพการให้น้ำ ได้แก่แหล่งปลูกที่อาศัยน้ำฝนตามฤดูกาลในจังหวัดนครราชสีมา อาศัยน้ำจากคลองชลประทานในสภาพปลูกเป็นพืชหลักตลอดปีในจังหวัดสุพรรณบุรี อาศัยน้ำจากคลองชลประทานในสภาพปลูกเป็นพืชหลังฤดูกาลทำนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาศัยน้ำจากบ่อบาดาลโดยการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พบว่ามันเทศจากแหล่งต่างๆ ดงักล่าวมีเปอร์เซ็นต์แป้งไม่แตกต่างกัน และเมื่อนำมาหมักพบว่าเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอลล์ที่ได้ในน้ำ หมักไม่แตกต่างกันผลการศึกษายังพบว่ามันเทศที่เสียหายจากการถูกดว้งงวงมันเทศลงทำ ลาย สามารถนำมาหมักเพื่อผลิตเอทานอลได้อัน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งจากการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดลอ้ ม ในด้านสภาพการปลูกมันเทศ โดยทั่วไปของเกษตรกร พบวา ปัจจัยสำคัญที่เกษตรกรปลูกมันเทศเป็นอาชีพ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้1) พื้นที่เหมาะสม 2) มีตลาดรองรับแน่นอน 3) พอใจในราคาที่ขายได้4)ไม่รู้จะปลูกพืชอะไร 5) เป็นอาชีพดั่งเดิม และ6) มีความชำนาญในการปลูกมันเทศสำหรับปัญหาสำคัญในการปลูกมันเทศเป็นการค้าของเกษตรกรเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้1)ราคาไม่คงที่ 2) มีแมลงรบกวน และ3) สารเคมีปุ๋ยมีราคาแพงสิ่งที่เกษตรกรต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เรียงตามลำดับดังนี้1) ต้องการให้ได้ราคาที่สูงขึ้น 2) ต้องการปัจจัยสนับสนุนการผลิต เช่น ปุ๋ยและสารฆ่าแมลง เป็นต้น 3) ต้องการแหล่งเงินทุน 4) ต้องการการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีการปลูกมันเทศ และ 5) ต้องการการมีแหล่งน้ำ สำหรับปลูกได้ตลอดปี สำหรับการตลาดของมันเทศพบว่าผลผลิตมันเทศในปัจจุบัน ยังคงใช้เพียงพอเพื่อการบริโภคในรูปหัวมันสดภายในประเทศเท่าน้้น
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
เอกสารแนบ: http://researchgateway.in.th/search/result_search/2217b271bde6d7b11ccb15c03536f6cd5a14043b3e035fc45271928a7165920a
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาศักยภาพการผลิตเอทานอลจากมันเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูโดยวิธีผสมผสานเพื่อควบคุมการลงทำลาย ของด้วงงวงมันเทศ (Cylas formicarius (F.) ในมันเทศที่มีศักยภาพในการผลิตไบโอเอทานอลทั้ง 5 สายพันธุ์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การผลิตขนมมันเทศ ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี การประเมินศักยภาพของน้ำตาลทรายดิบเพื่อการผลิตเอทานอล การเพิ่มมูลค่าอ้อยโดยการใช้ประโยชน์จากการย่อยสลายเศษต้นและใบโดยเซลลูโลไลติกเอนไซม์จากเชื้อราเพื่อใช้ในการผลิตไบโอเอทานอลและไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาศักยภาพในการนำเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยมาผลิตเอทานอล การบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตเอทานอลจากแป้งมันสำปะหลังด้วยระบบไม่ใช้อากาศแบบลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก