สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่1 การพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
สริตา ปิ่นมณี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่1 การพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processingof Products from Hemp Subproject 1: Improvement of Hemp Varieties and Seed Production Technology
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สริตา ปิ่นมณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อให้ได้พันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสารเสพติดต่ำ มีผลผลิตสูงและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้ดี ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีการทดลองการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ 4 การทดลอง คือ (1) รวบรวมเมล็ดพันธุ์เฮมพ์สำหรับการใช้เป็นฐานพันธุกรรมการปรับปรุงพันธุ์ (2) คัดเลือกประชากรเฮมพ์เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์เส้นใยรุ่นที่ 3 (M3) ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (3) คัดเลือกประชากรเฮมพ์เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันในเมล็ด รุ่นที่ 1 (M1) และ (4) ศึกษาระบบการผลิต เมล็ดพันธุ์เฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุม และศึกษาการกระจายตัวของละอองเกสรเฮมพ์ การดำเนินงาน (1) รวบรวมเมล็ดพันธุ์เฮมพ์สำหรับการใช้เป็นฐานพันธุกรรมการปรับปรุงพันธุ์ สามารถรวบรวมเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ท้องถิ่นมาได้ทั้งหมด 10 ตัวอย่าง ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จาก 7 หมู่บ้าน 3 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย และตาก) ซึ่งจะได้ปลูกทดสอบและศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของเฮมพ์แต่ละตัวอย่างในฤดูกาลต่อไป (2) คัดเลือกประชากรเฮมพ์เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์เส้นใยรุ่นที่ 3 (M3) ซึ่งทำต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รุ่นที่ 2) ด้วยวิธีการคัดเลือกรวม จำนวน 4 พันธุ์ คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ พบว่า เฮมพ์ทั้ง 4 พันธุ์ เปอร์เซ็นต์เส้นใยเพิ่มขึ้นจาก รุ่นที่ 2 (M2) คือ 19.3, 19.8, 17.5 และ 18.7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 20.6, 19.1, 19.9 และ 22.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยที่ทุก สายพันธุ์ยังคงมีปริมาณ THC ต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ คือเท่ากับ 0.070, 0.138, 0.080 และ 0.072 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และมีสัดส่วน CBD/THC มากกว่า 2 คือเท่ากับ 11.529, 9.601, 9.675 และ 5.014 ตามลำดับ (3) คัดเลือกประชากรเฮมพ์เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันในเมล็ด รุ่นที่ 1 (M1) ด้วยวิธีการคัดเลือกรวม จำนวน 4 พันธุ์ คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ พบว่ามีเปอร์เซ็นต์น้ำมันในเมล็ดเท่ากับ 26.65, 27.12, 23.09 และ 27.79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยที่ทุกสายพันธุ์ยังคงมีปริมาณ THC ต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ คือเท่ากับ 0.053, 0.056, 0.065 และ 0.042 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีสัดส่วน CBD/THC มากกว่า 2 คือเท่ากับ 11.887, 22.350, 13.572 และ 6.546 ตามลำดับ (4) ศึกษาระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุม ดำเนินงานในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์ 4 พันธุ์ คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 โดยสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์คัด (Breeder seeds) ได้ทั้งหมด 9.7 กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์หลัก (Foundation seeds) จำนวน 338 กิโลกรัม และเมล็ดพันธุ์ขยาย (Extension seeds) จำนวน 1,637.8 กิโลกรัม ส่วนงานศึกษาการกระจายตัวของละอองเกสรเฮมพ์ ไม่สามารถทำการทดลองให้สำเร็จได้ เนื่องจากผลกระทบจากช่วงวันสั้นที่มาถึงเร็วกว่าปกติ ทำให้ดอกเพศผู้บานก่อนเวลาที่กำหนดและโปรยละอองเกสรในแปลงก่อนทำการตัดทิ้งออกจากแปลง จึงไม่สามารถดำเนินงานทดลองขั้นต่อไปได้ ดังนั้นจำเป็นต้องทดลองซ้ำอีกครั้งในปี 2558 จากผลการศึกษาดังกล่าวการรวบรวมเมล็ดพันธุ์เฮมพ์สำหรับการใช้เป็น ฐานพันธุกรรม และการคัดเลือกประชากรเฮมพ์ให้มีผลผลิตสูงขึ้น สามารถใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา สายพันธุ์เฮมพ์ให้มีผลผลิตสูงและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้ดี ส่วนข้อมูลการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ในปีต่อไป และการวางแผนส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ในครัวเรือนและการปลูกเฮมพ์เชิงพาณิชย์ต่อไปได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่1 การพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2: การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC ต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร โครงการย่อย 2: โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการย่อยที่ 6 : การศึกษาวิจัยการรักษาเชื้อพันธุ์และขยายเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก