สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์ของแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย และการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร
อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์ของแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย และการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Seed quality status of rice seed producers, seed sellers and farmers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anchalee Prasertsak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประเมินและติดตามคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย และเกษตรกร เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในแต่ละพื้นที่ ดำเนินการในปี 2551-53 แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม (1) การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ (2) การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร และ (3) การติดตามและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรหลังจากการใช้เมล็ดพันธุ์ การสำรวจและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของแหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายของแต่ละจังหวัดในแต่ละภาค พบว่า แหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายหลักที่สำคัญในภาคเหนือตอนบนคือ สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร พันธุ์ข้าวที่จำหน่ายมาก ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข 6 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ผ่านมาตรฐาน 0-88 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพเมล็ดพันธุ์จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่ผ่านมาตรฐานเนื่องจากสิ่งเจือปนสูง ซึ่งสามารถปรับปรุงได้หากมีการทำความสะอาด ภาคเหนือตอนล่างมีร้านค้าจำหน่ายมากถึง 32-57 แห่ง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ผ่านมาตรฐานเฉลี่ย 16 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐานส่วนใหญ่เนื่องจากข้าวแดง ข้าวพันธุ์อื่นปน และสิ่งเจือปนสูง พันธุ์ข้าวที่จำหน่ายในภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก มีความหลากหลายของพันธุ์มากทั้งพันธุ์ที่รับการรับรอง และพันธุ์ไม่รับการรับรอง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านมาตรฐานเฉลี่ย 33 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากข้าวแดง ข้าวพันธุ์อื่นปน สิ่งเจือปน และความงอกเกินมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จำหน่าย แหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านมาตรฐานเฉลี่ย 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวภาคใต้ผ่านมาตรฐานเฉลี่ย 45เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่างทั้งหมด สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐานส่วนใหญ่เนื่องจากข้าวแดง ข้าวพันธุ์อื่นปน และสิ่งเจือปนสูง การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ตะวันออกและตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 4,174 ตัวอย่าง พบว่า ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน เกษตรกรปลูกข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ เกษตรกรปลูกข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว เนื่องจากความนิยมการบริโภคต่างกัน ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าวจากภาคเหนือผ่านมาตรฐานเฉลี่ย 11 เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่างทั้งหมด สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากสิ่งเจือปนสูง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ไม่ผ่านมาตรฐานทั้งหมด สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากข้าวแดง ข้าวพันธุ์อื่นปน และสิ่งเจือปนสูง ส่วนตัวอย่างจากจังหวัดชัยนาท และนครสวรรค์ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ผ่านมาตรฐาน 40-43 เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่างทั้งหมด ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูกมาก เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ผ่านมาตรฐานเฉลี่ย 17 เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่างทั้งหมด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านมาตรฐานเฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่างทั้งหมด ส่วนภาคใต้ พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ เล็บนกปัตตานี ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ผ่านมาตรฐานเฉลี่ยเพียง 6เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่างทั้งหมด การติดตามและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดี จากศูนย์วิจัยข้าว 13 แห่ง จำนวน 1,095 ตัวอย่าง เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางบางส่วน (ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา สกลนคร อุบลราชธานี) ที่ใช้เมล็ดพันธุ์หลักจากศูนย์วิจัยข้าว และมีการดูแลรักษาที่ดี คุณภาพผลผลิตผ่านมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จำหน่าย 55-100 เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่างทั้งหมด คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวจากภาคเหนือตอนล่าง (พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย) และภาคใต้ผ่านมาตรฐานชั้นพันธุ์จำหน่ายเพียง 0-7 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุเนื่องจากมีข้าวแดง ข้าวพันธุ์อื่น และสิ่งเจือปนเกินมาตรฐาน
บทคัดย่อ (EN): Evaluation on seed quality of rice seed producers, seed sellers and farmers were conducted in order to investigate the situation of rice seed quality in each province. There were three main activities conducted in 2008-2009 which were (i) evaluation on seed quality of rice seed producers and seed sellers, (ii) evaluation on rice seed quality of farmer used, and (iii) evaluation and monitoring on rice seed yield quality after using foundation seed. Popular rice varieties in Northern and Northeastern rice cultivated area were KDML105 and RD6. There were diversity of rice cultivars in the Lower Northern, Central, Eastern and Western cultivated area, particularly, non-recommended cultivars. The amount of rice seed samples that reached certified seed standard in these area were 33% of total samples. The amount of rice seed samples in northeastern area that reached certified seed standard were 40% of total samples. Popular rice varieties in Southern rice cultivated area were Leb Nok Pattani, Chainat 1 and local varieties. The amount of rice seed samples that reached certified seed standard in southern area were 45% of total samples. The amount of rice seed sampling from farmer own seed in the Central, Eastern and Western cultivated area that reached certified seed standard accounted for 17% of total samples. These below standard samples were mostly due to over red rice and other rice variety contamination. The amount of farmer own seed samples in the Northern and Northeastern cultivated area that reached certified seed standard accounted for 11% and 20% of total samples respectively. The amount of farmer own seed samples in the Southern cultivated area which reached certified seed standard were 6% of total samples. The amount of rice seed yield after using foundation seed with good cultural practices reached certified seed standard 55-100% of total samples.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329657
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์ของแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย และการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร
กรมการข้าว
2553
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การยืดอายุเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวในสภาพควบคุมอากาศและความชื้นโดยผู้ประกอบการ การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช การยอมรับการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง การใช้ค่าวิเคราะห์ดิน ผลผลิตที่คาดหวัง และธาตุอาหารหลักในผลผลิตเพื่อกำหนดอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับข้าว ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว บทบรรณาธิการ : การผลิตข้าวในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญบาง จังหวัดปี 2539 อิทธิพลของกระแสลมต่อการเจริญเติบโตและการสูญเสียผลผลิตข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก