สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่าจังหวัดพะเยา
ดร.บุญฤทธิ์ สินค้างาม - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่าจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Appropriate Croppping System Patterns for Conservation in PungKha Royal Project Development Center, Phayao
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดร.บุญฤทธิ์ สินค้างาม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุภัค มหัทธนพรรค
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า จังหวัดพะเยา ” แก่มหาวิทยาลัยพะเยา โดย ดร.บุญฤทธิ์ สินค้างาม เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาระบบการปลูกพืช (Cropping system) ที่มีศักยภาพเพื่อการอนุรักษ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า จังหวัดพะเยาอย่างน้อย 1 ระบบ เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบและส่งเสริมในการจัดการระบบการปลูกพืชในพื้นที่เกษตรกร และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพความต้านทานต่อโรคของพืชที่อยู่ในระบบการปลูกพืชแต่ละระบบและเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการใช้เชื้อปฏิปักษ์ให้มีประสิทธิภาพการควบคุมโรคพืชในแต่ละระบบเพื่อประยุกต์ใช้ในสภาพแปลงปลูกบนพื้นที่สูงปังค่าและชุมชนโดยรอบ จากการศึกษาวิจัย พบว่า แปลงแรกปลูกพืชเสริมระบบ คือ ตะไคร้ และอะโวคาโด และแปลงที่ 2 ความสูงระดับน้ำทะเล 900 เมตร ปลูกข้าวโพดร่วมกับพืชเสริมระบบ คือ อะโวคาโด และหม่อน โดยทั้งสองแปลงแบ่งแปลงย่อยตามระดับความสูงมีแถบหญ้าแฝกอนุรักษ์เป็นแถบระดับประกอบด้วย แถบบน (U) กลาง (M) และล่าง (L) บันทึกข้อมูลทางการเกษตรของพืชแต่ละชนิด แปลงข้าวไร่ พบว่า น้ำหนักผลผลิตพื้นที่แถบบน R2U มีน้ำหนักสูงที่สุดเท่ากับ 477.8 กรัม ขณะที่แถบล่าง R2L มีน้ำหนักสูงที่สุดเท่ากับ 726.6 กรัม น้ำหนัก 1,000 เมล็ด พบว่า แถบบน R2U สูงที่สุด เท่ากับ 44.4 กรัม แถบล่าง R3L สูงที่สุด เท่ากับ 37.2 กรัม ขณะที่ข้าวโพดแถบบน พบว่า C1U น้ำหนักฝักสูงที่สุดเท่ากับ 688 กรัม แถบล่าง C5L น้ำหนักฝักสูงที่สุดเท่ากับ 785 กรัม ในส่วนของพืชรอง ได้แก่ อะโวคาโด ตะไคร้ และหม่อน ร่วมกับแนวแฝกมีการเติบโตทางด้านความสูง เส้นรอบวง การแตกกอ การแตกตาและใบเป็นไปอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในฤดูฝนที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินในระบบการปลูกพืช ได้แก่ 1) ดินและน้ำในดิน 2) การใช้ประโยชน์ที่ดินและการให้ผลผลิต 3) สภาพแวดล้อมในพื้นที่ใช้ประโยชน์ พบว่าข้อมูลทางด้านเคมีและฟิสิกส์ของดินมีความผันแปรตามฤดูกาลและตามแนวระดับ ขณะที่การดำเนินงานแบบมีส่วนกับเกษตรกรในพื้นที่วิเคราะห์ประสิทธิภาพพืชเศรษฐกิจ ดังนี้ เกษตรกรมีการปลูกทั้งข้าวไร่และข้าวโพดเลี้ยงคิดเป็นร้อยละ 77 ผลผลิตข้าวไร่เฉลี่ย 281 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวโพด 675 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า ข้าวไร่มีต้นทุนต่อไร่ 5,092 บาท ข้าวโพด 4,300 บาทต่อไร่ โดยมีค่าใช้จ่ายแรงงานปุ๋ย และยาค่อนข้างสูง ขณะที่ผลตอบแทนข้าวไร่สุทธิเหนือต้นทุน 2,561 บาทต่อไร่ หรือ 9.11 บาทต่อกิโลกรัม ข้าวโพดมีผลตอบแทนสุทธิเหนือต้นทุน 543 บาทต่อไร่ หรือ 0.8 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนการสำรวจโรคและแมลงของพืชทดสอบในแต่ละระบบการปลูกพืช ในช่วงเดือนตุลาคม 2556 ถึงสิงหาคม 2557 ซึ่งพืชในฤดูกาลคือ ข้าวไร่ และข้าวโพด พบว่ามีโรคใบไหม้ในระยะต้นข้าวออกรวง (Reproductive stage) โดยมีความรุนแรงระดับปานกลางประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ นอกจากนั้นพบโรคอื่นๆ คือ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคสมัท ส่วนแมลงศัตรูที่พบคือ เพลี้ยกระโดดหลังขาว และมดง่าม ในการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีได้แยกเชื้อราสาเหตุโรคจากใบข้าวไร่ที่มีอาการโรคใบไหม้และเชื้อราสาเหตุโรคในเก๊กฮวย และทำให้เชื้อบริสุทธิ์ด้วยวิธี tissue transplanting technique นำเชื้อที่แยกได้มาทำการปลูกเชื้อเพื่อพิสูจน์โรคตามวิธีของ Koch (Koch postulation)  พบว่าสามารถแยกเชื้อราสาเหตุคือ Pyricularia sp. จากข้าวไร่ และเชื้อ Alternaria sp. จากใบเก๊กฮวยได้นำไปใช้ในการทดสอบความสามารถในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคในระดับหลอดทดลองโดยวิธี Dual culture พบว่า มีเชื้อที่แยกจากดินจำนวน 25 ไอโซเลทที่สามารถยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคได้โดยมีแบคทีเรียจำนวน 15 ไอโซเลทที่ยังยั้งการเจริญของเชื้อ Pyricularia sp. และแบคทีเรียจำนวน 10 ไอโซเลทที่สามารถยับยั้งเชื้อ Alternaria sp. นำเชื้อที่มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งในระดับหลอดทดลองมากกว่า 80% จำนวน 5 ไอโซเลทไปทดสอบความสามารถในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Pyricularia sp. บนใบข้าวไร่ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า ไอโซเลท PR229 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Pyricularia sp. และไอโซเลท AR519 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Alternaria sp. โดยแสดงอาการโรคบนใบพืชแตกต่างกับชุดควบคุม นำเชื้อดังกล่าวไปตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยา และคุณสมบัติทางชีวเคมี พบว่า เป็นเชื้อกลุ่ม Bacillus sp. โดยการทดสอบการยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคพืชในระดับแปลงทดลองซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยนี้คือ ได้ระบบการปลูกพืช (Cropping system) ที่มีศักยภาพในการผลิตพืชเศรษฐกิจร่วมกับการอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีประสิทธิภาพบนพื้นที่สูงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า จังหวัดพะเยา ได้เชื้อปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชเศรษฐกิจ ในระดับแปลงปลูกโครงการหลวงปังค่า และหน่วยงานวิจัยบนที่สูงอื่นๆในเขตภาคเหนือตอนบน และได้เชื้อปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคของพืชหลัก คือ ข้าวไร่ และพืชเศรษฐกิจส่งเสริม เช่น เก๊กฮวยในระดับแปลงปลูก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-09-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-08-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่าจังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา
31 สิงหาคม 2557
การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย โครงการวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง การเพิ่มศักยภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเพาะพันธ์ปูแสมเพื่อการอนุรักษ์ และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพดินในพื้นที่ป่าชายเลน จังหวัดสมุทรสงคราม โครงการวิจัยการวิเคราะห์และพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อประเมินศักยภาพการผลิตมะม่วง การศึกษาศักยภาพการผลิตและการเพิ่มผลผลิตพืชในลุ่มน้ำห้วยข้าวสาร โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตไผ่และหวายบนพื้นที่สูง การวิจัยการเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองบนพื้นที่สูง การเพิ่มศักยภาพการผลิตมวนเพชฌฆาต Sycanus collaris F. (Hemiptera: Reduviidae) ด้วยการใช้มอดรำข้าวสาลี Tenebrio molitor L. (Coleoptera: Tenebrionidae) ระยะต่างกัน การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตองุ่นบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเพื่อทดสอบพันธุ์องุ่นรับประทานสดและการวิจัยเพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพผลผลิต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก