สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาหนังลูกผสมเพื่อเพิ่มมูลค่า
ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาหนังลูกผสมเพื่อเพิ่มมูลค่า
ชื่อเรื่อง (EN): Development of increased value-added products from hybrid catfish
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thananan Suppahakitchanon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Kriangsak Mengamphan
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อจากการชำแหละปลาหนังลูกผสม พบว่า ปลาหนังลูกผสมเพศผู้ที มีน้ำหนักมีชีวิตเฉลี่ย 3,135.06 กรัม และเพศเมียที่น้ำหนักมีชีวิตเฉลี่ย 4,788.87 กรัม พบว่า เพศผู้และ เพศเมียมีเปอร์เซ็นต์เนื้อรวมทั้งหมด 51.65 และ 50.64 โดยแบ่งเป็นเนื้อลำตัว 40.21 และ 38.68 และ เนื้อท้อง 11.44 และ11.96 เครื่องใน 10.63 และ 13.29 กระดูกหัวและก้างปลา 36.15 และ 34.73 ตามลำดับ และคุณค่าทางโภชนะของปลาหนังลูกผสมมีเปอร์เซ็นต์ความชื้น 76.35 โปรตีน 17.07 ไขมัน 2.42 คาร์โบไฮเดรต1.17 เถ้า1.39 และเยื่อใย 0.89 ตามลำดับ ผลตอบแทนจากการจำหน่ายเนื้อปลาในรูปแบบแบ่งเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ในปลาเพศผู้และปลา เพศเมีย ที่มีปริมาณ 106.60 และ 186.77 กิโลกรัม จำนวน 34 และ39 ตัว ปลามีชีวิตราคากิโลกรัมละ 45 บาท คิดเป็นเงิน 4,797 และ 8,404.65 บาท ภายหลังจากการชำแหละ เมื่อแยกจำหน่ายปลาเป็นชิ้นส่วน เนื้อลำตัว เนื้อท้องและไข่ปลา ราคากิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนตับ หัวและก้างราคากิโลกรัมละ 40 บาท คิดเป็นเงินทั้งหมด 7,132.80 และ 12,217.20 บาท เมื่อหักค่าปลามีชีวิตแล้วจะได้ผลตอบแทนจากการ จำหน่าย 2,335.80 และ 3,812.55 บาท ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 68.70 และ 97.75 บาทต่อตัว ต้นทุนจากการจำหน่ายในรูปแบบแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลา เพื่อการเพิ่มมูลค่าของเนื้อ ปลาในผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด ได้แก่ ไส้กรอกอิมัลชั่น (ผลิตภัณฑ์ตะวันตก) และ ไส้อั่ว(ผลิตพันธุ์พื้นบ้าน) พบว่าการผลิตไส้กรอกอิมัลชั่น 1 กิโลกรัม มีต้นทุนการผลิต 157 บาท ขณะที่การผลิตไส้อั่วปลา มี ต้นทุนการผลิต 161 บาท ผลจากการสำรวจความพึงพอใจของทดสอบชิมเนื้อปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาหนังลูกผสม จำนวน 300 ราย มีเพศหญิงร้อยละ 57.0 เพศชายร้อยละ 43.0 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 26-35 ปี ร้อย ละ 39.3 รองลงมามีอายุอยู่ระหว่าง 36-45 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ข้าราชการ ร้อยละ 39.9 มีสถานภาพ สมรส ร้อยละ 60.0 และสถานภาพโสดร้อยละ 39.3 การศึกษาในระดับปริญญาตรีร้อยละ 74.7 นับถือ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.6 มีรายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ระหว่าง 10,001-30,000 บาทต่อเดือน มากถึง ร้อยละ 63.4 รองลงมามีรายได้ต่อเดือน <10,000 ร้อยละ 25.2 และ ไม่เคยรับประทานไส้อั่วที่ทำจากเนื้อ ปลาร้อยละ 60.5 ทัศนคติของผู้ทดสอบต่อเนื้อปลาและผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลา พบว่า เพราะเนื้อปลาและ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลา มีรสชาติดีและอร่อย ร้อยละ 40.3 และเชื่อว่าการรับประทานเนื้อปลาและ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลาทำให้สุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงร้อยละ 41.6 ระดับคะแนนส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 4(ดี) ในขณะที่ บอกว่าเนื้อปลาและผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลามีราคาแพงร้อยละ 50 กลิ่นของเนื้อปลาเกิดจากแหล่งที่มาหรือระบบการเลี้ยงร้อยละ 41.6 และ เนื้อปลามีความสะอาดและความปลอดภัยกว่า เนื้อสัตว์ประเภทอื่นร้อยละ 40.3 ระดับคะแนน 3 (ปานกลาง) การประเมินระดับคะแนนความพึงพอใจต่อเนื้อปลาและผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลา ผู้ให้สัมภาษณ์ ส่วนใหญ่พึงพอใจด้านสี, กลิ่น, รสชาติ,เนื้อสัมผัสต่อผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจโดยรวมที่มีต่อไส้ กรอก อยู่ในระดับ 4 (ดี) ส่วนเนื้อปลาและ ไส้อั่ว อยู่ในระดับ 3 (ปานกลาง)
บทคัดย่อ (EN): Carcass characteristics and meat quality of hybrid catfish found that the average live weight of male hybrid catfish were 3,135.06 g. and female were 4,788.87 g. Fish meat percentage were 51.65 and 50.64% respectively (body= 40.21 and 38.68 %, belly= 11.44 and 11.96, entrails= 10.63 and 13.29%, head and tail=36.15 and 34.73% respectively). Nutritional of hybrid catfish consisted with moistness=76.35%, protein= 17.07%, fat=2.42%, carbohydrate=1.17%, ash=1.39% and fiber=0.89%) The return from selling meat part of thirty four male and thirty nine female fish (106.60 and 186.77 kg., price =45 Baht/kg.) were 4,797 and 8,404.65 Baht/kg. respectively. The value from sold fish meat in form of body meat and belly meat and eggs (100 Baht/kg.), head and tail (40 Baht/kg) were 7,132.80 and 12,217.20 Baht respectively. Net profit were 68.70 and 97.75 Baht/head Cost of processed products from fish meat for value added such as emulsion sausage (western style) and Sai Aua (Notrhern Thai Spicy Sausage) found that cost of emulsion sausage were 157 Baht/kg. and Sai Aua were 161 Baht/kg. The result of consumers satisfaction in fish meat and products sensory test from three hundred consumers found that most consumers were female (57.0%). they had 26-35 years old (39.3%). They were government officer (39.9%) and married (60.0%). They had bachelor's degree (74.7%). They were Buddhist (39.9%). They had average income were 10,001-30,000 Baht/M (63.4%). Most consumer never ate Sai Aua from fish (60.5%). The opinion of consumers to fish meat and meat products found that most score were 4th level (best testy) (40.3%) and believed that eating fish meat and fish products should be made healthy (41.6%). They scored 3rd level on fish meat and fish products were expensive (50.0%). They believed that fish meat odor occurred from resource and raising system (41.6%) and fish meat were clean and safely more than other meat. Most consumers satisfied on sausage in color, odor, taste and texture. They scored 4th level (good). Fish meat and Sai Aua had 3rd level (medium).
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-56-057.3/57-054.3
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2558/thananan_supphakitchanon_2557/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาหนังลูกผสมเพื่อเพิ่มมูลค่า
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลำไย การศึกษาสมบัติของแป้งหัวมันเพิ่มและการใช้ประโยชน์เพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มของชุมชนตำบลเนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลไม้ในเขตภาคเหนือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเนื้อสมุนไพร โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทข้าวหอมมะลิผ่านการสื่อสารการตลาดสู่ตลาดอาเซียน โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระตุ้นการเจริญของเส้นผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเหงือกปลาหมอ โครงการพัฒนาสารสกัดจากกัญชาเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยา กิจกรรมย่อย การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาสำหรับใช้แก้ปวดในรูปแบบการบริหารยาใต้ลิ้น การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารจากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในชุมชนเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก: เส้นกึ่งสำเร็จรูป การพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจขนาดย่อม : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์หม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก