สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่
นิศาชล ลีรัตนากร - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Guidelines of Sustainability Potential Development for Health Tourism in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิศาชล ลีรัตนากร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nisachon Leerattanakorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชนิตา พันธุ์มณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chanita Panmanee
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจัดได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โคยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างเงินตรา ต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและกำลัง ได้รับความนิยม คือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งนี้หลายประเทศได้เร่งเพิ่มศักยภาพของตนเองเพื่อ รองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าว ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งในการที่จะ สร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง ทราบข้อมูลทั้งจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ เพื่อที่จะนำข้อมูลคังกล่าวมาใช้วางแผนส่งเสริม การตลาดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทย นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัด เชียงใหม่ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เช่น การวิเคราะห์ปัจจัย แบบจำลองโพรบิด การวิเคราะห์ เนื้อหา วิธีการวิเคราะห์การจำแนกพหุ เป็นต้น ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัด เชียงใหม่อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ควรมีการปรับปรุงเรื่องสื่อประชาสัมพันธ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักชาวไทย คือ กลุ่มลูกค้าเป็นเพศหญิง อยู่ในวัยกลางคน จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี มีรายได้ปานกลาง ประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่เดินทางมาจากภาคเหนือ และ กรุงเทพมหานคร ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กลุ่มสำคัญ ได้แก่ นักท่องเที่ยวเพศชาย อายุน้อย กว่า 30 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ปานกลาง ประกอบอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว เดินทางมาจากประเทศในแถบเอเชีย รองลงมาคือ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการจำแนกพหุ (MCA) ซึ่งแสคงให้เห็นถึงอิทธิพลของตัวแปร ต่างๆ ที่มีต่อร่ายจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากผลการวิเคราะห์ พบว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยโดยเฉลี่ย เท่ากับ 889.25 บาทต่อคน และ 1.408.5I บาทต่อคน สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เมื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของ นักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่าตัวเปรที่มีนัยสำคัญทางสติติ ได้แก่ อายุ รายได้ ภูมิลำเนา วัตถุประสงค์ ในการเดินทางและกลุ่มการเดินทาง โคยนักท่องเที่ยวที่มีค่าใช้ง่ายสูง คือ นักท่องเที่ยวที่มีอายุน้อย กว่า 30 ปี มีรายได้มากกว่า 21,000 บาทต่อเดือน เดินทางมาจากกรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์การ เดินทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และเดินทางมากับกรุ๊ปทัวร์ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พบว่าตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ได้แก่ เพศ สถานภาพการสมรส ราชได้ ภูมิลำเนา และระตับการศึกษา โดยนักท่องเที่ยวที่มี ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสูงสุด คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นเพศหญิง โสด มี ร้ายได้ระหว่าง 1 7,000-20,999 บาทต่อเดือน เดินทางมาจากประเทศแถบยุโรปและจบการศึกษา ระคับปริญญาตรี
บทคัดย่อ (EN): Tourism is currently one of the most important industries creating economic growth especially in terms of the major source of foreign exchange earnings. One of the fast-developing tourist segments is "health tourism", many countries have responded with aggressive growth in the quantity and diversity of supply offered, especially in Thailand. In order to foster tourism marker, it' is important to understand how to market to tourism. Successful marketing requires careful planning and comprehensive analysis of data and information obtained from tourists. Using information derived from tourism and entrepreneurs in Chiang Mai, Thailand, the task employed multivariate data analysis techniques such as factor analysis, content analysis as well as multiple classification analysis. Moreover, this study represents consumer behavior, the factor which determines the purchasing and consumption patterns. There is a good potential for health tourism in Chiangmai. However entrepreneurs should adopt modern media such as internet. The Thai tourist's characteristics are females who have middle age and hold Bachelor's Degrees. Moreover, they are business owners and come from North of Thailand and Bangkok. The foreign tourist's characteristics are males who have age less than 30 years old, hold Bachelor's Degrees and eome from Asia and Europe. By using Multiple Classification Analysis, the average spending per person of Thai tourists is 889.25 Baht and 1,408.51 Baht for foreign tourists. On the study of factors determining average spending per person of Thai tourists the results show that factors which are found to be statistically significant are age, income, place of residing, objective and group of travel. Tourists with highest spending are less than 30 years old, with average monthly income higher than 21,000 Baht per month, come from of Bangkok, have business-related purposes and travel with group tour. For foreign tourists, factors which are found to be statistically significant are gender, marital status, income, birthplace and education level. Tourists with highest spending are female, single, monthly income between 17,000-20,999 Baht, hold Bachelor's Degrees and come from Europe. The findings provide implications for the tourism development in Thailand.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-53-026
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2556/nisachon_leerattanakorn_2554_2/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การยกระดับศักยภาพผู้พิการสู่การพัฒนาเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์อย่างสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางเชิงระบบสำหรับการวิเคราะห์ระบบเกษตรเพื่อการพัฒนา การพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชน ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการประชาสัมพันธ์เกษตรสมัยใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ เทคนิคการควบคุมโรคเต้านมอักเสบของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพโคนมของเกษตรกรในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาความเข้มแข็งของธุรกิจสปาและนวดแผนไทยโดยชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ความแปรปรวนของปริมาณสารแอนติออกซิแดนซ์ในใบชาที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก