สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการใช้น้ำอย่างประหยัดในศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พิษณุโลกและสุพรรณบุรี
ลัดดาวัลย์ กรรณนุช - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการใช้น้ำอย่างประหยัดในศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พิษณุโลกและสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Water use efficiency in Pathum Thani Rice Research Center, Phitsanulok Rice Research Center and Suphan Buri Rice Research Center
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ลัดดาวัลย์ กรรณนุช
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Laddawan Kunnoot
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เริ่มตันฤดูนาปรังปี 2543 โดยได้ศึกษาทาเทคโนโลยีการลดการใช้น้ำเพื่อปลูกข้าวนาปรังอย่างมีประสิทธิภาพ ปรากฏว่า การให้น้ำแบบเป็นระยะ (Intermittent irrigation) คือการให้ดินนาเปียกและแห้งสลับกัน เป็นวิธีที่สามารถลดการใช้น้ำในการปลูกข้าวนาปรังได้ประมาณ 40 % ของปริมาณน้ำที่ใช้ในการปลูกข้าวแบบปกติคือมีน้ำขังตลอดฤดูปลูก นอกจากนี้ การให้น้ำแบบดินชุ่มน้ำ (Saturated Soil) จะสามารถลดการใช้น้ำลงได้ประมาณ 50 % พบว่าปัญหาที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวได้แก่ วัชพืชที่ขึ้นรบกวนเมื่อน้ำในนาแห้งลง ปี 2544 ดำเนินการทดลองเพื่อศึกษาหาความเหมาะสมของพันธุ์ข้าว การใช้ปุ๋ย และวิธีการกำจัดวัชพืชของการจัดการน้ำแต่ละวิธีในแต่ละสภาพพื้นที่ ซึ่งผลที่ได้รับที่เป็นชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการใช้น้ำอย่างประหยัดของสภาพต่าง ๆ จะแตกต่างกันไป มีข้อสรุปดังนี้ 1.พันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพสามารถปรับตัวและให้ผลผลิตดีในระบบการปลูกข้าวนาปรังที่มีการใช้น้ำน้อย ได้แก่ ข้าวพันธุ์ สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 ปทุมธานี1 ชัยนาท1 พิษณุโลก2 และข้าวสายพันธุ์ดี BKNGB9201-15-7, SPR85112-KLG-23-3-3, SPR90033-26-3-2-3-1, CNTLR85063-32-1-1 -2, CNT89020-9-2-2-3 2.การกำจัดวัชพืชด้วยการใช้แรงงาน กำจัดหลังหว่านข้าว 30 วัน เป็นวิธีที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การใช้สาร pretilachlor อัตรา 80 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เพียงครั้งเดียว หลังหว่านข้าวแล้ว 4 วัน เป็นวิธีที่ไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวแต่อย่างใด 3. การใส่ปุ๋ยให้กับข้าวในการปลูกข้าวนาปรังที่มีการให้น้ำแบบ intermitent นั้น จะใส่ปุ๋ยทันทีที่ให้น้ำแต่ละครั้ง โดยแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจน หลายครั้ง อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 12-18 กิโลกรัมไนโตรเจน ต่อไร่ จะต้องมีการกำจัดวัชพืชอย่างดี สำหรับการให้น้ำแบบ saturated นั้น จะใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง ระยะหลังหว่านข้าว 30 วัน แตกกอ และตั้งท้อง แต่ค่อนข้างจะมีปัญหาเพราะการให้น้ำแบบนี้จะมีวัชพืชขึ้นมาแข่งขันกับข้าวปริมาณมาก และการให้ดินชุ่มน้ำก็จะต้องมีการสูบน้ำเข้านาบ่อยครั้งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและผลผลิตค่อนข้างต่ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/155910
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summary only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการใช้น้ำอย่างประหยัดในศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พิษณุโลกและสุพรรณบุรี
กรมการข้าว
2544
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ศึกษาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในฤดูนาปรังในระบบการใช้น้ำอย่างประหยัด ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ศึกษาอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมของข้าวลูกผสมในเขตศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี การศึกษาหาปริมาณการใช้น้ำของข้าวฟ่างหวานพันธุ์สุพรรณบุรี 1 (ปีที่ 1) การศึกษาหาปริมาณการใช้น้ำของฟักข้าวปีที่2 การศึกษาหาปริมาณการใช้น้ำของฟักข้าว ปีที่ 1 การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว ผลของการใช้แบคทีเรียละลายฟอสเฟตในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวในสภาพแอโรบิก ผลของการใช้ปุ๋ยแคลเซียมซิลิเกตต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 ในดินเค็ม การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก