สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง
อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว, ภานุมาศ พฤฒิคณี, จตุพร ไกรถาวร, อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว, ภานุมาศ พฤฒิคณี, จตุพร ไกรถาวร - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง
ชื่อเรื่อง (EN): Rice Yield Increasing of Fertilizer Management on Yield of Rice Sow in Phutthalung Soil
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชื่อโครงการวิจัย การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง Effect of fertilizer management on yield of rice sow in Phatthalung Soil คณะผู้วิจัย นางสาวจตุพร ไกรถาวร นางอุไรวรรณ ทองแกมแก้ว นายภาณุมาศ พฤฒิคณี ได้รับทุนอุดหนุการวิจัยประเภท การวิจัยประยุกต์ ประจำปี พ.ศ. 2551 จำนวนเงิน 125,980 บาท ระยะทำวิจัย 1 ปี ตั้งแต่ 2551-2552 บทคัดย่อ การศึกษาถึงความสามารถในการเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยใน ชุดดินพัทลุงในข้าวไม่ไวแสงพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ปลูกในแปลงนาเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยเริ่มทดลองตั้งแต่เดือนเมษายน สิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2551 โดยทดลองให้ปุ๋ยข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ดังต่อไปนี้ ตำรับที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-16-8 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-16-8 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 4.5 กิโลกรัมต่อไร่ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 4.5 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อข้าวกำเนิดช่อดอก ตำรับที่ 3 ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-16-8 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 2.5 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อข้าวกำเนิดช่อดอก + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 2.5 กิโลกรัมต่อไร่ในข้าว 7 วันหลังจากออกดอก ตำรับที่ 4 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่รองพื้น + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว ตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่รองพื้น + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 4.5 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 4.5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวกำเนิดช่อดอก ตำรับที่ 6 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ รองพื้น + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 2.5 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อข้าวกำเนิดช่อดอก + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 2.5 กิโลกรัมต่อไร่ในข้าว 7 วันหลังจากออกดอก ผลการทดลองรูปแบบการแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ทั้งหมด 6 ตำรับ ในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ปลูกด้วยวิธีการหว่านน้ำตม ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยการให้ปุ๋ยในตำรับที่ 3 คือการใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-16-8 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 2.5 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อข้าวกำเนิดช่อดอก + ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 2.5 กิโลกรัมต่อไร่ในข้าว 7 วันหลังจากออกดอก มีแนวโน้มให้การเจริญเติบโตเฉลี่ยสูงสุดและให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดคือ 476.90 กิโลกรัมต่อไร่ สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของค่าCGR และค่า LAI ที่มีค่าสูงขึ้นในระยะ vegetative ส่วนการให้ปุ๋ยตำรับที่ 4 คือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่รองพื้น + ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20 วันหลังหว่านข้าว ให้ผลผลิตต่ำสุดคือ 358.80 กิโลกรัมต่อไร่ คำสำคัญ : ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1, การจัดการปุ๋ย, การเจริญเติบโตและผลผลิต, ปุ๋ยไนโตรเจน
บทคัดย่อ (EN): Research Title Effect of fertilizer management on yield of rice sow in Phatthalung Soil Researcher Jathuporn Kraitavorn Uraiwan Thongkamkeaw Panumas Pruetikanee A study of effect of fertilizer management on yield of rice was made in pre-germinated direct seeded lowland rice. Research station at farmer field Ampher Mueng Phattalung Province during April-July 2009 . the rice Chainat 1 was manage fertilizer by Method 1. basal 16-16-8 fertilizer rate 20 kg./rai+N rate 9.0 kg./rai at 20 DAE Method 2. basal 16-16-8 fertilizer rate 20 kg./rai+N rate 4.5 kg./rai at 20 DAE+N rate 4.5 kg./rai at panicle initiation (PI) Method 3. basal 16-16-8 fertilizer rate 20 kg./rai+N rate 4.0 kg./rai at 20 DAE+N rate 2.5 kg./rai at panicle initiation (PI)+N rat 2.5kg./rai 7 day after panicle initiation Method 4. basal organic fertilizer rate 500 kg./rai+N rate 9.0 kg./rai at 20 DAE Method 5. basal organic fertilizer rate 500 kg./rai+N rate 4.5 kg./rai at 20 DAE+ N rate 4.5 kg./rai at panicle initiation (PI) Method 6. basal organic fertilizer rate 20 kg./rai+N rate 4.0 kg./rai at 20 DAE+N rate 2.5 kg./rai at panicle initiation (PI)+N rat 2.5kg./rai 7 day after panicle initiation The result revealed that all 6 methods of manage fertilizer have product non significant. Method 3 : basal 16-16-8 fertilizer rate 20 kg./rai+N rate 4.0kg./rai at 20 DAE+N rate 2.5 kg./rai at panicle initiation (PI)+N rat 2.5 kg./rai 7 day after panicle initiation had high growth rate related with high physiological growth rate : CGR and LAI on vegetative stage and higher paddy yield was 476.90 kg./rai and Method 4 : basal organic fertilizer rate 500 kg./rai+N rate 9.0 kg./rai at 20 DAE had a lower paddy yield was 358.80 kg./rai Key word : rice cv. Chainat 1, Fertilizer management ,Growth and Yield , Nitrogen fertilizer
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2551
การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดโสนอัฟริกันร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดินพัทลุง การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำหลังการหว่านข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยการจัดการดินและปุ๋ย การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ และแหนแดงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตของผักคะน้า ข้าวโพดฝักอ่อนภายใต้การปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มชุดดินที่ 7 การจัดการดินเค็มโดยใช้ถั่วเขียวเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมกับการไถกลบตอซังและพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี (กข.31)ในดินร่วนเหนียว ผลของอัตราเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวสุพรรณบุรี 90 ในการทำนาหว่านน้ำตมในดินเปรี้ยว การจัดการดินกรดด้วยวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวพื้นที่นาขั้นบันได ชุดดินหนองมด จังหวัดเชียงราย การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสดหลายชนิด สำหรับการปลูกข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 7 การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวโพดหวาน ในชุดดินเขาพลอง (กลุ่มชุดดินที่ 44)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก