สืบค้นงานวิจัย
การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต
ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต
ชื่อเรื่อง (EN): Micropropagation of parental lines using tissue culture technique for clonal seed production in oil palm
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:      สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต” แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขึ้นที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดโกลด์เด้นเทเนอร่า และผลิตสายพันธุ์พ่อ (Pisifera) และสายพันธุ์แม่ (Dura) จาก young embryo หรือใบอ่อน        จากการศึกษาวิจัย พบว่า โครงการนี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่พัฒนาได้จากโครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด มาถ่ายทอดและประยุกต์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดย บริษัท โกลเด้นเทนเนอนา สามารถผลิตต้น clone ของพ่อแม่พันธุ์ได้สำเร็จ และเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมของปาล์มแต่ละสายพันธุ์ ทำให้การตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ผสม ต้นพ่อพันธุ์ Pisifera ที่คาดว่าจะได้ต้น clone ครบ 8 embryo คือ P1, P2, P9 และ P12 ส่วนต้นแม่พันธุ์ Dura นั้น ได้จำนวนต้นครบตามเป้าหมายคือ D6 และ D7 แต่ปัญหาที่ทำให้เกิดการสูญเสียจำนวนต้นไป คือ ปัญหาการ contamination ในเนื้อเยื่อและห้องปฏิบัติการ และการปรับสภาพของต้นอ่อนหลังการลงต้นอ่อนปลูกในดิน นอกจากนี้ บุคลากรเฉพาะทางที่มีความชำนาญในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่จัดการดูแลงานในห้องปฏิบัติการ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันให้ตรงตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้เปิดอบรมให้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นกับบุคลากรของบริษัท รวมถึงการติดตามเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นระยะ      ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลด์เด้นเทนเนอรา และสามารถผลิตสายพันธุ์พ่อ (Pisifera) และสายพันธุ์แม่ (Dura) จาก young embryo หรือใบอ่อน ซึ่งบริษัท มีประสิทธิภาพที่สามารถผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้อย่างต่อเนื่อง และได้จำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง เกษตรกรสามารถซื้อกล้าในราคาที่ถูกลง และลูกผสมที่ได้มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมน้อยลง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-08-18
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-08-17
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
17 สิงหาคม 2559
การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่าในอนาคต การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6 สายพันธุ์ ในช่วงอายุปีที่ 3 – 4 ปี การศึกษาปริมาณการใช้น้ำของปาล์มน้ำมันพันธุ์ เทเนอรา ปีที่ 3 การตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรมของต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบอ่อนของปาล์มน้ำมัน การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์พันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต การตอบสนองของพันธุ์ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq. ) ต่อการให้น้ำในระยะต้นกล้า เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6 สายพันธุ์ ในช่วงอายุปีที่ 5 – 6 ปี ในสภาพดินทรายชายฝั่งทะเลและในสภาพดินร่วนปนเหนียว เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน 6 สายพันธุ์ในบ่อนากุ้งร้าง การทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันในจังหวัดปทุมธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก