สืบค้นงานวิจัย
ความต้านทานโรคใบของยางพาราพันธุ์ RRIT ชุด 300
นริสา จันทร์เรือง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ความต้านทานโรคใบของยางพาราพันธุ์ RRIT ชุด 300
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นริสา จันทร์เรือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความต้านทานโรคใบของยางพาราที่สำคัญ เช่น โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคใบจุดก้างปลา ของยางพันธุ์ RRIT 300 ซึ่งเป็นพันธุ์ยางที่จะเลื่อนชั้นเป็นพันธุ์แนะนำ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำพันธุ์ยางแนะนำ ได้ดำเนินการทดลองในปี พ.ศ. 2545-2546 ณ ศูนย์วิจัยยางสงขลา โดยวิธีการปลูกเชื้อราสาเหตุโรคกับก้านใบ ใบยางและพุ่มใบยางพาราในสภาพห้องปฏิบัติการ เรือนทดลอง และแปลงกิ่งตา การดำเนินงานในปี 2545 เป็นการเตรียมวัสดุในการทดลอง โดยได้นำกิ่งตาพันธุ์ยางทดสอบชุด 300 จาก สถานีทดลองยางยะลา คือยางพันธุ์ RRIT 300, RRIT 301, RRIT 302, RRIT 303, RRIT 304, RRIT 305, RRIT 306, RRIT 307 และพันธุ์แนะนำบางพันธุ์ที่ใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ สงขลา 36, BPM 24, RRIM 600, RRIC 100, RRIC 103 มาทำการติดตาในแปลงกิ่งตา ที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา เพื่อเพิ่มปริมาณกิ่งตาที่จะนำไปเตรียมเป็นยางชำถุง สำหรับนำไปทำการทดสอบโรคราแป้ง โรคใบร่วง ที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora โรคใบจุดนูน และโรคใบจุดก้างปลา ในสภาพเรือนทดลอง ในปี 2546 ยางพันธุ์ RRIT ชุด 300 จำนวน 8 สายพันธุ์ เสียหายจากการขุดแก้มลิง ทำให้ไม่สามารถติดตาบนต้นทดลองได้ตามกำหนด จึงไม่สามารถทำการทดลองต่อได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้านทานโรคใบของยางพาราพันธุ์ RRIT ชุด 300
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ความต้านทานเชื้อออยเดียมของยางพันธุ์ RRIT ชุด 200 บางพันธุ์ ความต้านทานโรคเส้นดำของยางพันธุ์ RRIT ชุด 200 บางพันธุ์ การศึกษายีนต้านทานโรคในยางพาราเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ยาง การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา การทดสอบความต้านทานโรคใบของยางพันธุ์จากบราซิลในแปลงเพาะชำ ความต้านทานโรคที่สำคัญทางเศรษฐกิจของยางพารา 1,600 สายพันธุ์ ความต้านทานโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ของยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก