สืบค้นงานวิจัย
การผลิตรีคอมบิแนนท์โกรทฮอร์โมน และการติดตามผลการเร่งอัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการสืบพันธุ์ของปลาในกลุ่มปลาการ์ตูนเพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
ผศ.ดร.ชูตา บุญภักดี - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การผลิตรีคอมบิแนนท์โกรทฮอร์โมน และการติดตามผลการเร่งอัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการสืบพันธุ์ของปลาในกลุ่มปลาการ์ตูนเพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Recombinant Growth Hormone Construction and Analysis of Growth and Reproductive Enhancement in the Anemonefish for Commercial Fisheries Improvement
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.ชูตา บุญภักดี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:      สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การผลิตรีคอมบิแนนท์โกรทฮอร์โมน และการติดตามผลการเร่งอัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการสืบพันธุ์ของปลาในกลุ่มปลาการ์ตูนเพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์” แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทำการผลิตรีคอมบิแนนท์โกรทฮอร์โมนของปลาการ์ตูนอานม้าที่สามารถขยายการผลิตได้ในเซลล์แบคทีเรีย และได้ฮอร์โมนที่สามารถนำมาใช่เร่งการเจริญเติบโตและพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาในกลุ่มปลาการ์ตูน 2) ทราบระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้ rGH เร่งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาในกลุ่มปลาการ์ตูน และ 3) ทราบผลของฮอร์โมนต่อการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตและการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ในกลุ่มปลาการ์ตูน      จากการศึกษาวิจัย พบว่า โกรทฮอร์โมน (growth hormone; GH) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า หรือต่อมพิทูอิทารี่ ทำหน้าที่เร่งการเจริญเติบโต เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์  รักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน และเมทาบอลิซึมของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง การโคลนยีน GH จาก complementary DNA (cDNA) ของปลาการ์ตูนอานม้า (Amphiprion polymnus) ที่สามารถแปรรหัสได้เป็นโปรตีนสมบูรณ์โดยใช้ pETSUMO เป็นดีเอ็นเอพาหะ รีคอมบิแนนท์โปรตีน GH (rGH) ที่ผลิตได้อยู่ในสภาพละลายง่ายและแสดงออกในเซลล์แบคทีเรีย Escherichia coli BL21 เมื่อเหนี่ยวนำด้วยสารละลาย isopropyl-β -D-thiogalactoside โดยสามารถผลิต rGH ได้ประมาณ 8 มิลลิกรัม/ลิตร ทดสอบคุณสมบัติทางชีวภาพ ของ rGH โดยการผสมกับอาหารให้ปลากิน โดยทดสอบกับปลาการ์ตูน 3 ชนิด คือ ปลาการ์ตูนส้มขาว (A. ocellaris) ปลาการ์ตูนเพอคูล่า (A. percula) และปลาการ์ตูนอานม้า (A. polymnus) ที่มีอายุ 2 และ 4 เดือน โดยให้กินติดต่อกัน 2, 4, 6 และ 8 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่า rGH ส่งผลต่อการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ rGH ในแต่ละชนิดปลาที่ได้รับ เมื่อปลาการ์ตูนส้มขาวอายุ 2 เดือน กิน rGH ที่ระดับความเข้มข้นทั้ง 3 ระดับ และทุกระยะเวลาที่ทดสอบ มีผลยับยั้งการเจริญเติบโต แต่ rGH ที่ความเข้มข้น 50 µg/g bwt/day เมื่อให้ปลาการ์ตูนส้มขาวอายุ 4 เดือน กินทุกวันติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ สามารถเร่งการเจริญเติบโตได้ 11.12% ในขณะที่ rGH ความเข้มข้น 10 µg/g bwt/day เมื่อปลาการ์ตูนเพอร์คูล่าและปลาการ์ตูนอานม้าอายุ 2 เดือน กินติดต่อกัน 4 สัปดาห์ สามารถเร่งการเจริญเติบโตได้ 171.25 และ 35.41% ตามลำดับ เมื่อปลาการ์ตูนเพอคูล่าและปลาการ์ตูนอานม้าอายุ 4 เดือน กิน rGH ที่ 1 µg/g bwt/day ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ มีผลทำให้มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 4.20% และ6.71% ตามลำดับ (ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ; p>0.05) และ rGH ที่ความเข้มข้นและระยะเวลาเท่าเดิมนี้สามารถเร่งการเจริญเติบโต 84.08% ให้กับปลาการ์ตูนอานม้าอายุ 4 เดือนเมื่อเลี้ยงรวม 9 ตัว/ตู้      ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย ได้พัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามในกลุ่มปลาการ์ตูน และขยายผลการทดสอบได้กับปลาทะเลสวยงามชนิดอื่นๆ รวมทั้งปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ใช้เพื่อการบริโภคได้ โดยเฉพาะนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในด้านการผสมพันธุ์ และการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-05-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-04-30
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2552
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตรีคอมบิแนนท์โกรทฮอร์โมน และการติดตามผลการเร่งอัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการสืบพันธุ์ของปลาในกลุ่มปลาการ์ตูนเพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 เมษายน 2554
การผลิตรีคอมบิแนนท์โกรทฮอร์โมน และการติดตามผลการเร่งอัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการสืบพันธุ์ของปลาในกลุ่มปลาการ์ตูนเพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ การศึกษาชนิดอาหารเพื่อทดแทนโรติเฟอร์ในการอนุบาลลูกปลาการ์ตูนที่เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ การเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายเล็กโดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน 2 วิธี การเจริญเติบโตและการพัฒนาแถบสีของปลาการ์ตูนลูกผสม (Amphiprion percula (Lacepede, 1802) X A. ocellaris Cuvier, 1830) การพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดและการผลิตไข่มุกน้ำจืดเพื่อการพาณิชย์ วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์น้ำจืด ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก