สืบค้นงานวิจัย
การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด
ภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย, นิภาพร ศรีบัณฑิต, พรทิวา คล้ายเดช - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด
ชื่อเรื่อง (EN): The use of Sesbania rostrata Brem. as fertilizer to Saline soil on yield rice varieties in Lum – Sa -Tud Bason .
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ดินเค็ม
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด ทำการศึกษา ณ ตำบลกุดจอก อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆในพื้นที่ดินเค็มน้อย 2) ศึกษาผลของการใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินก่อนและหลังการทดลองในชุดดินนาดูน 3) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) มี 8 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าว กข.15 ตำรับการทดลองที่ 2 ไม่ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าวหอมมะลิ 105 ตำรับการทดลองที่ 3 ไม่ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าว หอมนิล ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าว ไรซ์เบอร์รี่ ตำรับการทดลองที่ 5 ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าว กข.15 ตำรับการทดลองที่ 6 ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าวหอมมะลิ 105 ตำรับการทดลองที่ 7 ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าว หอมนิล และตำรับการทดลองที่ 8 ใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด + ข้าว ไรซ์เบอร์รี่ โดยทุกตำรับการทดลองใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใช้สูตร 16-20-0 อัตรา 11 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 46-0-0 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 0-0-60 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการศึกษาสมบัติทางเคมีของดิน การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีบางปะการของดินจากผลการทดลองหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่า ค่าการนำไฟฟ้ามีค่าความเค็มอยู่ในระดับเค็มน้อย เฉลี่ย 3.25 เดซิซีเมนต่อเมตรค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) เพิ่มขึ้นจากรดจัดเป็นกรดเล็กน้อย เฉลี่ย 5.8 มี ปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ำแต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 0.83 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินอยู่ในระดับต่ำ เฉลี่ย 10 และ 39 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ ต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด ไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อความสูง ผลผลิต จำนวนต้นต่อกอและ น้ำหนักฟาง เมื่อนำตำรับการมดลองที่ 5 ใช้โสนอัฟริกัน + ข้าวกข. 15 ที่เป็นตำรับการทดลองที่ดีที่สุดมาเปรียบเทียบกับวิธีการของเกษตรกร ในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่าตำรับการทดลองที่ใช้โสนอัฟริกัน + ข้าวกข. 15 มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าวิธีของเกษตรกร 94.2 บาท /ไร่ คำสำคัญ โสนอัฟริกัน (Sesbania rostrata Brem.) การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (chemical fertilizer of application based on soil analysis as recommended by LDD) ลำสะแทด (Lum - Sataet)
บทคัดย่อ (EN): The use of Sesbania rostrata Brem. as chemical fertilizer of application based on soil analysis as recommended by LDD to Saline soil on yield rice varieties in Lum – Sataet conducted at Tumbon Koodjok Bua Yai District Nakhonratchasima Province during January to December 2014 . The objectives of this research were to study 1) The use of Sesbania rostrata Brem. as chemical fertilizer of application based on soil analysis as recommended by LDD to Saline soil on yield rice varieties in very slightly saline 2) the effects of fertilizer utilization to change some soil properties on Nadoon Soil 3) the cost and economic return of maize production. The experimental design was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 replications, and 8 treatments as follows: 1) non- Sesbania rostrata Brem+ RD15 2) non- Sesbania rostrata Brem+ Khao Dawk Mali 3) non- Sesbania rostrata Brem+ Jasmine 4) non- Sesbania rostrata Brem+ Riceberry 5) incorporation- Sesbania rostrata Brem 60 days +RD15 6) incorporation- Sesbania rostrata Brem 60 days +Khao Dawk Mali 105 7) incorporation- Sesbania rostrata Brem 60 days + Jasmine 8) incorporation- Sesbania rostrata Brem 60 days + Riceberry All treatments with chemical fertilizer of application based on soil analysis as recommended by LDD ,fertilizer grades 16-20-0 at rate of 11 kg./rai,46-0-0 at rate of 14 kg./rai, 0-060 at rate of 5 kg./rai The results were showed that the average EC was 3.25 ds/m (as low salinity) ,pH values 5.8 (Slightly acid) , OM was in the low values 0.83 but tends to in increased ,Phosphorus and Potassium were in the low values 10 , 36 mg/kg The use of Sesbania rostrata Brem. as chemical fertilizer of application based on soil analysis as recommended by LDD to Saline soil on yield rice varieties in Lum – Sataet were no significant for percentage of plant height ,yield ,number of plans per hill and weight. How ever 5) incorporation- Sesbania rostrata Brem 60 days +RD15 gave the best treatment when compare with the farmer method .For the cost and economic return, it was found that the treatment 5, using incorporation- Sesbania rostrata Brem 60 days +RD15, have the cost lower than with farmer method was 94.2 bath/rai. Keyword Sesbania rostrata Brem. , chemical fertilizer of application based on soil analysis as recommended by LDD , Lum - Sataet
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด ผลของการปรับรูปแปลงนา และการใช้วัสดุปรับปรุงดินต่อระดับ ความเค็มของดินและผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม การใช้เทคโนโลยีพัฒนาที่ดินจัดการดินเค็มพื้นที่ลุ่มน้ำเซบกจังหวัดอำนาจเจริญแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ผลของอัตราปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ขยายเชื้อร่วมกับปุ๋ยคอกต่อผลผลิตแตงโมบนพื้นที่ที่มีศักยภาพการแพร่กระจายดินเค็ม จังหวัดอำนาจเจริญ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้ทนดินเค็มโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการก่อกลายพันธุ์ การจัดการดินในหลุมปลูกด้วยวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ผลในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ การใช้จุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารและฮอร์โมนพืชร่วมกับวัสดุอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเค็มในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนดินเค็มและมีคุณภาพการหุงต้มดี การประเมินและคัดเลือกสายต้นอ้อยจากการก่อกลายพันธุ์ให้ทนดินเค็ม อิทธิพลของอินทรียวัตถุต่อความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์ในพื้นที่นาข้าวดินเค็ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก