สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Post harvest Pest Management for Quality Control
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): ECO2 FUME
บทคัดย่อ: ผลิตผลทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวทั้งเมล็ดธัญพืช ผัก ผลไม้ และไม้ดอก เกิดความสูญเสียได้มากสาเหตุจากการเข้าทำลายหรือการปนเปื้อนของแมลง ทำให้คุณภาพไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ ดำเนินการทดลองในปี 2554-2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยวในเมล็ดธัญพืช พืชสมุนไพร ผัก ผลไม้ และไม้ดอก ทั้งที่บริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ วิธีการใช้สารรมที่เหมาะสม การใช้วิธีทางกายภาพ การใช้ชีวภัณฑ์ เพื่อลดการใช้สารเคมีและต้องคงคุณภาพของผลิตผลได้ดี การทดลองในโครงการประกอบด้วย 5 กิจกรรมได้แก่ 1) กิจกรรมการใช้สารรมอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 2) กิจกรรมการพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์และการนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร 3) กิจกรรมการใช้วิธีทางกายภาพในการควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร 4) กิจกรรมการศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร และ 5) กิจกรรมการศึกษาความต้านทานฟอสฟีนของแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร โดยได้ผลการทดลองในแต่ละกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมการใช้สารรมอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พบว่าการรมในสภาพไซโลจำเป็นต้องมีการป้องกันการรั่วไหลของก๊าซและมีระบบหมุนเวียนอากาศ การรมก๊าซฟอสฟีนที่มีประสิทธิภาพระยะในเวลาการรมเป็นส่วนสำคัญคือต้องรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซไว้อย่างน้อย 5 วัน ผ้าพลาสติกที่ใช้ในการรมสามารถใช้ได้ทั้งผ้าพลาสติกนีโอชีท (PE+ไนล่อน) หนา 0.06 มม. ผ้าพลาสติก (tarpaulin) หนา 0.05-0.2 มม. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกาแฟในโรงเก็บควรใช้กับดักแสงไฟเพื่อดักจับด้วงกาแฟร่วมกับการใช้สารรมฟอสฟีนที่อัตรา 1 tablet/ต่อสารกาแฟ 1 ตัน สำหรับกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายผักส่งออกพบว่าสารรมเมทิลโบรไมด์ที่ความเข้มข้น 30 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร นาน 90 นาทีสามารถกำจัดเพลี้ยไฟได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ส่วนในแมลงวันพริกต้องใช้อัตราสารรมเมทิลโบรไมด์ที่มากกว่า 32 mg/l การใช้สารรม ECO2FUME ในการกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่าการรมด้วย ECO2FUME นั้นสามารถลดระยะเวลาการรมด้วยการเพิ่มอัตราความเข้มข้นได้การรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อกำจัดด้วงงวงข้าวโพด และมอดแป้ง สามารถรมด้วย ECO2FUME ที่อัตรา 25 กรัม/ลบ.ม. (350 ppm) ใช้ระยะเวลา 3 วัน อัตรา 50 กรัม/ลบ.ม. (700 ppm) ใช้ระยะเวลา 2 วัน และอัตรา 70 กรัม/ลบ.ม. (1,000 ppm) ใช้ระยะเวลา 1 วัน โดยต้องควบคุมระดับความเข้มข้นของก๊าซฟอสฟีนให้อยู่ในระดับที่กำหนดตลอดระยะเวลาของการรม และการศึกษาประสิทธิภาพของสารรมอีโคฟูมต่อการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ พบว่าสารรมอีโคฟูมอัตรา 2000 ppm 72 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 6 องศาเซลเซียส จะสามารถกำจัดเพลี้ยไฟได้ทุกระยะการเจริญเติบโตควรเก็บที่ 10 องศาเซลเซียส ได้นาน 7 วัน กิจกรรมการพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์และการนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่าการเก็บรักษาแตนเบียนให้คงประสิทธิภาพสำหรับแตนเบียนผีเสื้อข้าวสาร (Bracon hebetor Say) ส่วนแตนเบียนมอด (Anisopteromalus calandrae (Howard)) การเก็บที 10 องศาเซลเซียสยังไม่เหมาะสม สำหรับมวนดำก้นลายก้นลาย (Amphibolus venator (Klug)) ได้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและสามารถนำไปปล่อยเพื่อควบคุมแมลงในโรงเก็บได้ ด้านการใช้สมุนไพรในการป้องกันกำจัดแมลงพบว่า การจุ่มผลเงาะในสารสกัดจากใบยาสูบพันธุ์เบอรเลย์ที่ผสมกับพันธุ์เวอร์จิเนีย อัตราส่วน 1:1 ที่ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เป็นเวลา 60 นาที มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งลายทำให้เพลี้ยแป้งตาย 86.51 และ 93.89 เปอร์เซ็นต์ที่ 24 และ 72 ชั่วโมงหลังการทดลอง สารสกัดจากเลี่ยนที่ระดับความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ และสารสกัดจากลางสาดที่ระดับความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์มีประสิทธิภาพในการควบคุมด้วงงวงข้าวโพดและมอดหนวดยาวได้ดี การทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากจันทน์เทศและข่าลิงในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีฤทธิ์ต่อด้วงถั่วเขียวและด้วงถั่วเหลืองทั้งในด้านการสัมผัส การเป็นสารรม และยับยั้งการวางไข่และการฟักของตัวอ่อน แต่เมื่อนำไปทดสอบในสภาพโรงเก็บด้วยการคลุกเมล็ดถั่วเขียง พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากจันทน์เทศและข่าลิงไม่สามารถป้องกันกำจัดแมลงศัตรูถั่วเขียวในสภาพโรงเก็บได้ กิจกรรมการใช้วิธีทางกายภาพในการควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบฆ่ามอดยาสูบและมอดสมุนไพร ในดอกคำฝอย ดอกเก็กฮวย และชาใบหม่อน คือ60 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 2 ชั่วโมง ส่วนเมล็ดผักชี คือ 60 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 3 ชั่วโมง การทดสอบการใช้คลื่นความถี่วิทยุในเมล็ดข้าวโพด พบว่าระดับพลังงานที่ทำให้ข้าวโพดมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 วินาที สามารถควบคุมด้วงงวงข้าวโพดและมอดข้าวเปลือกได้ดีและทำให้คุณภาพของข้าวโพดเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย การทดสอบการรมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรที่สำคัญ ด้วยก๊าซไนโตรเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในสภาพก๊าซหมุนเวียน พบว่าการรมโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน 99.9% เป็นเวลา 12 วัน สามารถควบคุมแมลงด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง มอดข้าวเปลือก และมอดฟันเลื่อย ที่ใช้ทดสอบได้หมดอย่างสมบูรณ์ และเมื่อทดสอบการใช้ก๊าซไนโตรเจนในบรรจุภัณฑ์ พบว่า การใส่ก๊าซไนโตรเจนในถุงฟอยด์ ถุง PET ถุง KNY และถุง NY สามารถควบคุมด้วงงวงข้าวโพดได้ภายใน 1 สัปดาห์ โดยถุงทั้ง 4 สามารถกักเก็บก๊าซได้ดี และพบปริมาณของสารพิษแอฟลาทอกซินเพิ่มขึ้นน้อยมากที่ระยะเวลาการเก็บ 6 เดือน การทดสอบการบรรจุสมุนไพร 4 ชนิดได้แก่ ดอกคำฝอย เมล็ดผักชี ดอกเก็กฮวย และชาใบหม่อน พบว่าการบรรจุสมุนไพรในถุง NY/LLDPE และถุง PET/CPP ร่วมกับใส่สารดูดซับออกซิเจนมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้ดีแต่ต้องคำนวณปริมาณสารดูดซับออกซิเจนอย่างเหมาะสม การศึกษาประสิทธิภาพการใช้กับดักแสงไฟในโรงเก็บกระเทียมแห้ง พบว่ากับดักแสงไฟแบบติดผนังมีประสิทธิภาพดีกว่ากับดักแสงไฟแบบตั้งพื้น โดยกับดักแสงไฟแบบติดผนังดักจับดักด้วงปีกตัดได้ดีกว่า 10 เท่า กิจกรรมการศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร พบว่าในโรงเก็บลำไยอบแห้งใช้กับดักแสงไฟแบบติดผนังระยะสูงจากพื้น 2 เมตรร่วมกับการใช้สารรม aluminium phosphide อัตรา 1 tablet ต่อพื้นที่กองรม 1 ลูกบาศก์เมตรกำจัดด้วงผลไม้แห้ง, Dry fruit beetle; Carpophilus hemipterus Linn. ได้ผลดี และจากการสำรวจในโรงเก็บข้าวเมล็ดโพด 33 ตัวอย่าง จาก 7 จังหวัด พบแมลงศัตรูข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว 6 ชนิดได้แก่ มอดแป้ง มอดหนวดยาว ด้วงงวงข้าวโพด มอดข้าวเปลือก เหาหนังสือ และมอดฟันเลื่อย โดยว่าด้วงงวงข้าวโพด 1 คู่ สามารถเพิ่มปริมาณได้ถึง 10 เท่าในเวลา 6 เดือน และพบว่ามอดแป้งเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เมล็ดข้าวโพดได้มากกว่าแมลงชนิดอื่นๆ กิจกรรมการศึกษาความต้านทานฟอสฟีนของแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร จากการสุ่มเก็บตัวอย่างมอดแป้ง ในโรงสีทั่วประเทศไทย จำนวน 125 โรงสี พบว่ามอดแป้งจาก 4 โรงสี ต้านทานต่อสารรมฟอสฟีน คิดเป็น 3.20 เปอร์เซ็นต์ของโรงสีที่เก็บตัวอย่างมาทั้งหมด และมอดแป้งจาก 121 โรงสี คิดเป็น 96.8 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่พบการสร้างความต้านทานต่อสารรมฟอสฟีน ผลการการทดสอบในมอดหนวดยาวจากโรงสีและโรงเก็บข้าวโพดจำนวน 47 แหล่ง จากทั้ง 4 ภาค 22 จังหวัด ผลการทดสอบพบมอดหนวดยาวต้านทาน 33 แหล่ง หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยพบมอดหนวดยาวสายพันธุ์ต้านทานกระจายตัวในทุกภาค และจากสายพันธุ์ต้านทานพบมีมอดหนวดยาวที่แสดงความต้านทานรุนแรงเพียง 2 แหล่ง หรือ 6 เปอร์เซ็นต์ คำสำคัญ: การจัดการศัตรูผลิตผลเกษตร ศัตรูผลิตผลเกษตร
บทคัดย่อ (EN): Agricultural product losses caused by the infestation or contamination of insects made their quality were not acceptable to the market. The post-harvest pest management for quality control project was conducted by the Postharvest Technology on Field Crops Research and Development Group, Postharvest and Processing Research and Development Division during October 2010 to September 2015. The objective of this study was to find out the optimum technology for controlling post-harvest insect by using alternative methods, such as fumigation, bio-agent, physical control and studying on biological, ecological and distribution of these insects, to reduce the chemical use. In this project consisted of 5 topics that the results were as follows: The results of The proper fumigation practice and good efficacy of fumigation study were concluded. The best method for phosphine Fumigation practice in silo for controlling insects must prevent the leakage of gas and got air circulation system. The effectiveness of phosphine fumigation in optimum concentration dependent on exposure time. The efficacies of phosphine fumigation under Tarpaulin sheet thickness as 0.05, 0.1 and 0.2 mm were as same as Neo sheet (PE+Nylon) thickness 0.06 mm for controlling all stages of insects. Integrated pest control to the coffee bean weevil, Araecerus fasciculatus De in green coffee were using of light traps in conjunction with using of phosphine fumigation if necessary. For the use of methyl bromide study was found that the use of methyl bromide at 30 g/m3 for the expose time 90 minutes could control all stage growth of Thrips palmi Kerny in orchid flower but the use of methyl bromide at 32 mg/l in 0.25 liter flask for the expose time 120 minutes could not control all stage growth of Solanum fruit fly, Bactrocera latifrons (Hendel). For ECO2FUME fumigation study was found that the fumigation with ECO2FUME could reduce the period of fumigation by increasing the concentration. For example, the fumigation on maize against all stages of Sitphilus zeamais and Tribolium castaneum was fumigated by ECO2FUME dosage 25 g/m3 (350 ppm) of ECO2FUME for 3 days, dosage50 g/m3 (700 ppm) for 2 days and dosage 70 g/m3 (1,000 ppm) for 1 days. The efficacy test of ECO2FUME on T. palmi was found that all larval of T. palmi could not killed by the ECO2FUME? fumigation at 2,500 ppm for 24 h at 6o C but those larvae could not completely develop to adults. The biological agent development and its application of controlling on stored product insect was found that the low temperature at 10OC was the good condition for storing pupa of rice moth parasitoids, Bracon hebettor Say in 1 week but could not keep the pupa of parasitic wasp, Anisopteromalus calandrae (Howard). It was found the technique to mass-rearing of Assassin bug, Amphibolus venator (Klung) used red flour beetle, T. castaneum as prey and the efficacy of these predacious bugs for controlling the stored-product insect. For the study of using plant extract for controlling post-harvest insects was found that the mixed tobacco extract at the ratio of Burley:Virginia as 1:1 which concentration at 20% by using water as solvent and dipping time for 60 minutes was effective to control mealybug, Ferrisia virgata (Cockerell) on rambutan fruits. It was found that the 3 kinds of herb (Aglaia odorata, Melia azadirach, and Lansium domesticum). extracts at 20- 30% concentration could control Sitophilus zeamais and Cryptolestes pusillus in field storage. The essential oils of Myristica fragrans and Alpinia conchigeraoils could control Callosobruchus maculatus, Callosobruchus chinensis in labolatory condition but could not control insects in the warehouse. The essential oil extracted from Litsea cubeba could control cigarette beetle (Lasioderma serricorne (F.)) and drugstore beetle (Stegobium paniceum (L.)) in labolatory condition. Physical control on stored product insect learned about how to use heat, modified atmosphere treatment light trap to control insects. It was found that the effective heating conditions to control 2 insects, Lasioderma serricorne (Fabricius) and Stegobium paniceum (Linnaeus), in coriander seed were 60oC for 3 hours and 70oC for 2 hours and in dried chrysanthemum and dried mulberry leaves the effective heating conditions were 60oC for 2 hours and 70oC for 1 hour. The radio frequency (RF) heat treatment to control Sitophilus zeamais and Rhyzopertha dominica was found that the efficient condition to control was 25% of power level (670 watts), after holding temperature of maize over 50?C for 90 seconds. The study of modified atmospheres with carbon dioxide (CO2) and nitrogen (N2) was found that 99.9% N2 and mixture gas of 20% CO2 and 80% N2 were applied with four species of insects in one ton of rice could completely control all insects at 12 days. It was found that rice packaging with filling N2 in four kinds of bag (foil bags, PET bags, KNY bags and NY bags) could control insect within 1 week. The good storage of four dried herbs (safflower, coriander seed, chrysanthemum and mulberry tea) could packed in 2 kinds of plastic bag, NY/LLDPE bag and PET/CPP bag, with suitable rate of oxygen absorber, it would be control all of insect in 1 week. In dried garlic storage could be use sticky wall light trap for control important insect, pineapple beetle (Urophorus (Carpophilus) humeralis (Fabricius)). For biology and ecology of stored product insects and controlling them was study on dry fruit beetle; Carpophilus hemipterus Linn. in dried longan and it was found that life cycle reared with dried longan were the egg stage took 4.15 ? 0.81 days while larval stage and pupa stage took 17.30 ? 2.003 and 4.85 ? 1.31 days respectively. The efficacy method to control of this insect was using wall type light trap at the level 2 meters from the ground for collecting adult of this beetles and phosphine fumigation at rate 1 tablet/ 1 cubic meter of dried longan if it was necessary. For studying of losses of stored maize which were artificially infested with maize weevil, lesser grain borer, red flour beetle and flat grain beetle was found that ten adults of each insect could considerably multiply in quantity and massively caused weight loss in stored maize. Phosphine resistant strain of two stored-product insects, red flour beetle, Tribolium castaneum and flat grain beetle, Cryptolestes spp. was conducted in the years 2556-2558. The result was showed that red flour beetle population from 125 rice mills found only 4 populations showed resistance and flat grain beetles from 47 rice mills showed resistance 33 locations but there was only 2 locations showed strong resistance. Keywords: Post-harvest, Pest Management, Quality Control
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการข้าวเปลือกเพื่อรักษาคุณภาพ โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมี โครงการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู โครงการวิจัยการจัดการคุณภาพผลิตผลสดหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว การจัดการธุรกิจการเลี้ยงสุกรรายย่อยกรณีศึกษาในพื้นที่ตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ผลของกระบวนการผลิตและการเก็บรักษาต่อคุณภาพปลาอินทรีเค็ม พัฒนาการของลูกปลากดเกราะวัยอ่อน โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก