สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด
สุกัญญา กองเงิน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุกัญญา กองเงิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลทั่วไปและวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงในต้นฤดูฝนของเกษตรกรว่าปฏิบัติถูกต้องตามคำแนะนำมากน้อยเพียงใด ตลอดจนศึกษาปัญหาอุปสรรคที่เกษตรกรหนักใจในการผลิตถั่วลิสง เพื่อหาทางให้เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมตามคำแนะนำของทางราชการให้มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงมีอายุโดยเฉลี่ย 45.8 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมต้นร้อยละ 78.7และมีประสบการณ์การปลูกถั่วลิสงมาแล้วโดยเฉลี่ยประมาณ 8.6 ปี มีส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คนร้อยละ 52.8 และมีแรงงานที่ช่วยในการปลูกถั่วลิสงเพียงสองคนซึ่งมีร้อยละ 55.5 มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรโดยเฉลี่ย 17.5 ไร่ เกษตรกรจะปลูกถั่วลิสง1-2 ครั้งต่อปี เกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสง เพียงครั้งเดียวมีเพียงร้อยละ 55.5 และ ปลูกถั่วลิสงสองครั้งต่อปีมีจำนวนร้อยละ 43.8 ขนาดพื้นที่ปลูกถั่วลิสงในต้นฤดูฝนจะอยู่ระหว่าง 1-5ไร่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีจำนวนร้อยละ 76 รองลงมาใช้พื้นที่ปลูกถั่วลิสง 5-10 ไร่จำนวนร้อยละ 14.4 สำหรับแหล่งข้อมูลที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรมากที่สุดในความคิดเห็นของเกษตรกรคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 54.2 รองลงมาคือเพื่อนบ้านร้อยละ 24.7 เกษตรกรผู้นำและสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ร้อยละ10.3 เท่ากัน สำหรับกรณีเกิดปัญหาด้านการผลิตถั่วลิสงเกษตรกรจะปรึกษาเกษตรตำบลเป็นอันดับแรกจำนวนร้อยละ 45.9 รองลงมาคือ เพื่อนบ้านร้อยละ 22.6 และเกษตรกรผู้นำร้อยละ 17.1 ตามลำดับ เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกถั่วลิสงต้นฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายนซึ่งมีร้อยละ 55.5 และ 37.7 ตามลำดับ มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงที่เหมาะสมตามคำแนะนำของทางราชการอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ การตากถั่วลิสงตั้งแต่ 3 แดดขึ้นไปมีจำนวนร้อยละ 90.3 และช่วงเวลาในการตากที่เหมาะสมคือ ตากทันทีภายหลังจากขุดขึ้นมาโดยตากในแปลง 2-3 แดดแล้วปลิดและตากอีกมีจำนวนร้อยละ 80.3 (คิดจากเกษตรกรที่จำหน่ายถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งที่มีจำนวน 76 คน) ส่วนการใช้เทคโนโลยีการผลิตอยู่ในเกณฑ์ดีปานกลางได้แก่ การใช้พันธุ์ส่งเสริมร้อยละ 71.2 การเตรียมดินปลูกโดยไม่ยกร่อง ร้อยละ 71.9 และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ดีโดยจะตากถั่วลิสงให้แห้งสนิทแล้วเก็บในถุงพลาสติกหรือกระสอบป่านปิดปากถุงให้แน่นซึ่งมีการปฏิบัติร้อยละ 71.9 ส่วนการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้มีการปฏิบัติมากขึ้นกว่าเดิม ได้แก่ 1. อัตราเมล็ดพันธุ์ตามคำแนะนำ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ มีการปฏิบัติเพียงร้อยละ 24.0 2. การคลุกเชื้อไรโซเบียมก่อนปลูก มีการปฏิบัติเพียงร้อยละ 22.6 3. ระยะปลูกที่เหมาะสม (30-50) x 20 เซนติเมตร มีการปฏิบัติเพียงร้อยละ 39.7 4. การใส่ปูนขาวและวิธีการใส่ที่ถูกต้องมีการปฏิบัติเพียงร้อยละ 24.6 5. การใส่ปุ๋ยและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีการปฏิบัติเพียงร้อยละ 24.0 6. การคัดแยกฝักดีฝักเสียอีกครั้งหลังปิดและตากแล้ว มีการปฏิบัติเพียงร้อยละ 28.8 สำหรับปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงต้นฤดูฝนเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ โรคแมลงศัตรูถั่วลิสงทำลายมาก (28.7%) ราคาผลผลิตต่ำ (23.9%) ขนาดแรงงาน (18.0%) ขาดแหล่งเมล็ดพันธุ์ดี (16.2%) ขาดน้ำ (8.4%) และต้นทุนการผลิตสูง (4.8%) ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวในฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาต้นฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญบาง จังหวัดปี 2539 การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ การศึกษาเฉพาะกรณีเรื่อง การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกถั่วลิสงฤดูแล้งของเกษตรกรในเขตโครงการชลประทานลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงฤดูแล้งของเกษตรกร ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงของเกษตรกรบ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีในการผลิตถั่วลิสง ของเกษตรกรตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ.2521 เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 สภาพการผลิตถั่วลิสงของเกษตรกร ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2545

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก