สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย
สนอง อมฤกษ์, สนอง อมฤกษ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย
ชื่อเรื่อง (EN): Test and Development on fruit dryer for aril longan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย มีวัตถุประสงค์พื่อ ทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้ นำมาอบแห้งเนื้อลำไย ซึ่งเป็นการทดสอบเทคโนโลยีในพื้นที่ โดยนำเครื่องต้นแบบจากสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม มาทดสอบอบเนื้อลำไย ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าสามารถอบเนื้อลำไยได้ ใช้อุณหภูมิอบแห้งเริ่มต้นอบแห้ง 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นปรับอุณหภูมิลดลง เหลือ 70 องศาเซลเซียส จนลำไยแห้ง ต้องสลับชั้นถาดทุกสองชั่วโมง โดยใช้เวลาในการอบแห้ง 8 ถึง 10 ชั่วโมง จากความชื้นเนื้อลำไย 86 % มาตรฐานเปียก จนเหลือความชื้นสุดท้าย 18 % มาตรฐานเปียก โดยมีอัตราผลสดต่อผลแห้งโดยเฉลี่ยเท่ากับ 9.98:1 ระยะเวลาในการอบแห้งโดยเฉลี่ยเท่ากับ 9.5 ชั่วโมง ต้นทุนในการอบแห้งโดยเฉลี่ยเท่ากับ 221 บาทต่อกิโลกรัมเนื้อลำไยแห้ง ผลการตรวจสอบคุณภาพพบว่า คุณภาพของเนื้อลำไยอบแห้งที่เป็นไปตามมาตรฐาน มกอช. 8-2549 เนื้อลำไยสดอบแห้งคือ ความชื้น ไม่เกิน 18% ค่าวอเตอร์แอกทิวิตี ไม่เกิน 0.6 ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 80 ?Brix และความเป็นกรด-เบส ไม่ต่ำกว่า 6.2 จากการทดลองพบว่า การเก็บรักษาเนื้อลำไยอบแห้งที่อุณหภูมิห้องเพื่อการบริโภคในรูปแบบเนื้อลำไยอบแห้งควรเก็บรักษาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน เนื่องจากการเก็บรักษาที่ระยะเวลา 2 เดือน เนื้อลำไยอบแห้งมีความชื้นเกินเกณฑ์มาตรฐาน ประกอบกับคุณภาพด้านการยอมรับทางประสาทสัมผัสของเนื้อลำไยอบแห้งที่อายุการเก็บรักษา 2 เดือน เริ่มมีความแตกต่างจากเริ่มต้น โดยการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องสามารถบรรจุในถุงพลาสติก PP เนื่องจากให้ผลการทดลองด้านความชื้นไม่แตกต่างกับถุงสุญญากาศและถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ สำหรับเนื้อลำไยอบแห้งที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลามากกว่า 2 เดือน ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพด้านความชื้น ค่าวอเตอร์แอกทิวิตี และความเป็นกรด-เบส ของเนื้อลำไยอบแห้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน แต่คุณภาพด้านปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และด้านจุลินทรีย์ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อาจนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เช่น น้ำลำไย หรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เป็นต้น สำหรับการเก็บรักษาเนื้อลำไยอบแห้งในอุณหภูมิห้องเย็นสามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน โดยที่คุณภาพของเนื้อลำไยยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสอยู่ในระดับชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งเนื้อมังคุดด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบดแห้งและทอดทุเรียน การวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องระเหยสารภายใต้ระบบสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานไมโครเวฟสำหรับการอบแห้งและสกัดสารจากพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง การประหยัดพลังงานในการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเครื่องอบแห้งแบบไหลผ่าน : รายงานการวิจัย ผลของกระบวนการอบแห้งต่อคุณภาพของขนมขบเคี้ยวจากผลไม้ เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ความดันต่ำสำหรับผลิตอาหารเพื่อเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเครื่องอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร การศึกษาการอบแห้งเมล็ดพริกไทยด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์ โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลำไย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก