สืบค้นงานวิจัย
การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในการดำเนินการงานวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สกล แก้วศิริ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในการดำเนินการงานวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Using Co- operative Learning for Developing of Classroom Action Research Ability of Full- time Experience Teacher Students in Chiangmai Rajabhat University Demonstration School .
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สกล แก้วศิริ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกัน ศึกษาความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา ผู้บริหาร และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และศึกษาประสิทธิภาพในการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในการดำเนินการงานวิจัยชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระเบียบวิธีวิจัยใช้เทคนิคผสมระหว่างวิธีการเชิงคุณภาพ โดยจัดเวทีสนทนากลุ่มเป้าหมาย และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประชากรในการวิจัยได้แก่ ครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา ผู้บริหาร และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกันของนักศึกษาฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่พบว่า นักวิจัย ผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ได้เสนอสภาพปัญหาว่านักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีพื้นฐานทักษะการทำวิจัยชั้นเรียนน้อย คณะครูมีพื้นฐานการวิจัยการศึกษาปานกลางแต่มีการลงมือทำวิจัยชั้นเรียนน้อย ผู้บริหารตระหนักว่าการทำวิจัยชั้นเรียนเป็นบทบาทที่ทางโรงเรียน ต้องมีส่วนร่วมพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา ตระหนักว่าการทำวิจัยชั้นเรียนเป็นหน้าที่ของครูทุกคน นักศึกษาทราบดีว่า การทำวิจัยชั้นเรียนเป็นหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันเสนอความคิดเห็นการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกันโดยการช่วยเหลือกัน การยอมรับความสามารถ การร่วมมือกัน การมีปฏิสัมพันธ์กัน แล้วเสนอให้มีการวางระบบนิเทศติดตามงานวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวมทั้งให้มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูก่อนเสนอเค้าโครงการวิจัยชั้นเรียน จึงมีการสร้างและใช้คู่มือการจัดกิจกรรมในการทำวิจัยในชั้นเรียนแบบร่วมมือกัน โดยผลการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมในการทำวิจัยชั้นเรียนทำให้นักศึกษาทุกคนสามารถส่งเค้าโครงการวิจัยชั้นเรียนได้ตามเวลาที่กำหนด ผู้วิจัยได้สังเคราะห์รูปแบบการดำเนินการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกันของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยเสนอเป็น 4S Model เป็นรูปแบบเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบการดำเนินการของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้ SWOT ? SETTLE ? STEERAGE ? STEPPING ทบทวนตนเอง วางรากฐานสร้างความพร้อม ควบคุมวางแนวทาง การนำไปพัฒนาต่อ 2. ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา ผู้บริหาร และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูต่อรูปแบบการดำเนินการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกัน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พึงพอใจต่อการใช้คู่มือกิจกรรมในการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกันโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือด้านการช่วยเหลือกัน ความพึงพอใจต่อความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา ต่อรูปแบบการดำเนินการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกันของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการดำเนินการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกันโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น ความพึงพอใจของผู้บริหารต่อรูปแบบการดำเนินการทำวิจัยชั้นเรียนแบบร่วมมือกันของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น 3. การศึกษาประสิทธิภาพการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถ ในการดำเนินการงานวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พบว่าคณะครูและผู้บริหารได้เข้าร่วมกิจกรรมในหลายบทบาทหน้าที่ด้วยความเต็มใจ ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติตามกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในการทำวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นว่าปฏิบัติได้มากที่สุดในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เมื่อศึกษาความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษาในการเขียนรายงานการวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษา โดยรวมเห็นว่าปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินการทำงานวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยสถานศึกษาพบว่านักศึกษาทุกคนได้รับการประเมินการปฏิบัติการทำวิจัยชั้นเรียนได้ในระดับดีเยี่ยม ผลงานวิจัยของนักศึกษาแสดงผลของประสิทธิภาพนวัตกรรม ร้อยละ 80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการวิจัยชั้นเรียนโดยใช้นวัตกรรมสูงกว่าก่อนใช้นวัตกรรมร้อยละ 100 และระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินการวิจัยชั้นเรียนโดยการใช้นวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 60 ระดับพึงพอใจมาก ร้อยละ 40 ผลกระทบต่อผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง/ครูที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทำให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ช่วยเหลือกัน ยอมรับความสามารถกัน ร่วมมือกันและโดยเฉพาะที่เด่นชัดที่สุดคือการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นักเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ ทุกฝ่ายมีเจตคติที่ดีต่อการทำวิจัยชั้นเรียนเห็นประโยชน์ที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนางานของโรงเรียนต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research was to develop the Co-operative learning model of classroom action research. The methodology was to study a comment reflected by an instructional coaches/advisors, an executive officer and Full- time Experience Teacher Students and to study an efficiency of Co-operative learning model practiced by the Full- time Experience Teacher Students. Research methodology was comprised of qualitative research by making a group conversation, and quantitative research by collecting data such as the questionnaires and the Full- time Experience Teacher Students ’s behavior assessment. The research population included the instructional coaches/advisors, the executive officer and the Full- time Experience Teacher Students who have worked/trained at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School. The data was undertaken as content analysis, percentage, mean and standard deviation (SD). The research has found that: 1. The instructional coaches/advisors, the executive officer and the Full- time Experience Teacher Students who have worked/trained at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School revealed that the Full- time Experience Teacher Students rarely did a classroom action research, teachers were in a basic stage of a research methodology and rarely did a classroom action research as well. The executive officers realized the way to develop the Full- time Experience Teacher Students potential would be started from school as well as teachers. The Full- time Experience Teacher Students also realized them-self that they must succeed the classroom action research effectively. The fundamental factors which the Full- time Experience Teacher Students need to be successful was assistance, trustworthiness, collaboration and interaction, and also need for follow up by supervisors, recommended by target group. Moreover, teachers would create a classroom action research manual to help them to get a good preparation. Researcher synthesized the research of Co-operative learning model practiced by the Full- time Experience Teacher Students at Chiang Mai Rajabhat University Demostation School, and presented as 4S Model; monitoring and examining model. SWOT ? SETTLE ? STEERAGE ? STEPPING Self-Revision Well-Prepared Supervision and Control To develop 2. The study of the comments that was revealed by instructional coaches/advisors, the executive officers and the Teacher Student to the Co-operative learning model has found that the Full- time Experience Teacher Students satisfied the classroom action research manual at a high level. In addition, they satisfied in the part of assistance at the highest level, and the competency writing for research proposal at a high level. The instructional coaches/advisors satisfied the Co-operative learning model practiced by Full- time Experience Teacher Students were at a high level. Overall satisfaction of the Full- time Experience Teacher Students to the Co-operative learning model were at a high level. The executive officers satisfied the Co- operative learning model practiced by Full- time Experience Teacher Students were at the highest level. 3. The study of the efficiency of Co-operative leaning model practiced by the Full- time Experience Teacher Students who have worked/trained at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School has found that the instructional coaches/advisors and the executive officer’s willingness to participate in many activities. The related person satisfied to the Co-operative learning model of the classroom action research were at the highest level, in the aspect of being a good interaction. The instructional coaches/advisors satisfied to the writing research report were at a high level. The overall evaluation of the classroom action research, evaluated by the school officer were excellent. Before the Full- time Experience Teacher Students practiced the classroom action research, they had got 80 percent, and after they had practiced, they got 100 percent. The satisfactions of Full- time Experience Teacher Students for these researches were 60 and 40 percentages. The relationship between the executive officers, instructional coaches/advisors and Full- time Experience Teacher Students had more close ups., eager to help each other, accept to personal competence, Co-operating and be a good interaction was clearly to see. At last the Full- time Experience Teacher Students could develop to acquire by themselves, be positive thinking to the classroom action research and could bring the benefits forward to develop the school.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292702
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในการดำเนินการงานวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การพัฒนาบุคลิกภาพนักศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรม กับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศึกษาพฤติกรรมการสร้างค่านิยมด้านความซื่อสัตย์ ด้านใฝ่หาความรู้ ด้านความมีระเบียบวินัย สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การใช้วิธีการสอนแบบความร่วมมือโดยใช้กระบวนการจัดนิทรรศการในรายวิชา ญี่ปุ่นศึกษา 2 นักศึกษาวิชาเอก ภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อผลิตข้าวเหลือง 11 ปลอดสารพิษ บ้านโคกล่าม ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ การปรับปรุงกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพโรงงานขนาดเล็กในจังหวัดพัทลุง การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อสนองแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะวิชาชีพ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก