สืบค้นงานวิจัย
การส่งเสริมการผลิตและการใช้ประโยชน์จากกล้วยหินในจังหวัดเพชรบูรณ์
พิพัฒน์ ชนาเทพาพร, นุชจรี ทัดเศษ, จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว, การันต์ ผึ่งบรรหาร, ศิวดล แจ่มจำรัส, ศิวภรณ์ ใสโต, อโณทัย พลเยี่ยม เพชรแสง, น้ำฝน เบ้าทองคำ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตและการใช้ประโยชน์จากกล้วยหินในจังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง (EN): Promoting of Production and Utilization of Musa (ABB group) “Kluai Hin” in Phetchabun Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัย การส่งเสริมการผลิตและการใช้ประโยชน์จากกล้วยหินในจังหวัดเพชรบูรณ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างของกล้วยหิน การส่งเสริมอาชีพของผู้ประกอบ การเกี่ยวกับกล้วยหิน และเพื่อบูรณาการการวิจัยกับการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็นโครงการวิจัยย่อย 4 โครงการ โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนากระบวนการผลิตต้นพันธุ์และการอนุรักษ์กล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การศึกษาค่ากลูโคสที่ย่อยเร็วและค่ากลูโคสที่ย่อยช้าของแป้งกล้วยหินเพื่อการใช้ประโยชน์ในเส้นก๋วยเตี๋ยว โครงการ วิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะเศษวัสดุเหลือใช้ของกล้วยหิน และการใช้เสริมเป็นอาหารไก่พื้นเมือง และโครงการวิจัยย่อยที่ 4 การพัฒนาชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพ ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนากระบวนการผลิตต้นพันธุ์และการอนุรักษ์กล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการผลิตต้นพันธุ์กล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษาต้นพันธุ์กล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม โดยทำการศึกษาผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ และผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติ พบว่า การฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ (v/v) เป็นเวลา 10 นาที มีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด และยังพบว่า อาหารแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอด เกิดราก และจำนวนใบได้สูงสุด สำหรับการชักนำการเกิดรากของกล้วยหินที่มีอายุ 6 เดือน โดยเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากสูงสุด สำหรับการย้ายออกปลูกในสภาพธรรมชาติ ทำการทดสอบในวัสดุปลูกแตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ พีทมอส ทราย และทรายผสมขุยมะพร้าว พบว่าวัสดุปลูกพีทมอสมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุด และการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษาต้นพันธุ์กล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ คือการเพาะเลี้ยงต้นพันธุ์กล้วยหินบนอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบชะลอการเจริญเติบโตสูตรอาหาร MS ที่เติมแมนนิทอลความเข้มข้น 30 กรัม ต่อลิตร มีจำนวนยอดและเปอร์เซ็นต์การเกิดยอดน้อยที่สุด โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การศึกษาค่ากลูโคสที่ย่อยเร็วและค่ากลูโคสที่ย่อยช้าของแป้งกล้วยหินเพื่อการใช้ประโยชน์ในเส้นก๋วยเตี๋ยว ผลการศึกษา พบว่ากล้วยหินเป็นแหล่งของสารฟรุกโต โอลิโกแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ให้พลังงงานและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค แป้งกล้วยหินและอัตราส่วนของแป้งกล้วยหินที่ 2.5 และ 3.0 ในส่วนประกอบของเส้นก๋วยเตี๋ยว มีปริมาณน้ำตาลรวมทั้งหมดเท่ากับ 66.4, 54.4 และ 73.2 ?g / mL ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์เท่ากับ 7.8, 17.3 และ 19.8 ?g / mL และค่ากลูโคสที่ย่อยเร็ว (RAG) เท่ากับ 44.4 ? 2.78, 27.2 ? 2.97 และ 29.4 ? 2.97 กรัมต่อแป้ง 100 กรัมของสารตัวอย่าง และมีปริมาณกลูโคสที่ย่อยช้า (SAG) เท่ากับ 28.1 ? 0.66, 16.2 ? 1.02 และ 25.0 ? 1.91 กรัม ตามลำดับ การประเมินความพึ่งพอใจต่อเส้นก๋วยเตี๋ยวจากแป้งกล้วยหิน พบว่าที่อัตราส่วนของแป้งกล้วย 3.0 ในส่วนผสมของเส้นก๋วยเตี๋ยว มีคะแนนความพึงพอใจต่ำกว่าอัตราส่วน 2.5 โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะเศษวัสดุเหลือใช้ของกล้วยหินและการใช้เสริมเป็นอาหารไก่พื้นเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบโภชนะทางเคมีของเปลือกกล้วยหินบด ซึ่งผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ พบว่าเปลือกกล้วยหินบดถูกจัดอยู่ในประเภทอาหารฐานหรืออาหารหลัก ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากนั้นทำการศึกษาการใช้เปลือกกล้วยหินบดแห้งเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยสุ่มแบ่งลูกไก่พื้นเมืองแรกเกิดออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว ส่วนกลุ่มที่ 2, 3, 4, และกลุ่ม 5 ได้รับอาหารสำเร็จรูปและเสริมด้วยเปลือกกล้วยหินบดแห้ง 5, 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในแต่ละสัปดาห์ทำการเก็บข้อมูลน้ำหนักตัว และปริมาณอาหารที่กินของไก่พื้นเมืองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี Least Significant Different (LSD) ผลการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมืองทั้ง 5 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P>0.05) โครงการวิจัยย่อยที่ 4 การพัฒนาชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพ และ 2) ประเมินชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มแม่บ้านผู้เชี่ยวชาญการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยหิน และกลุ่มแม่บ้านหรือแม่ค้าผู้เชี่ยวชาญการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยชนิดอื่นๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 12 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ 1) แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพ 2) ชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพ และ 3) แบบประเมินชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x? ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) ข้อมูลในการจัดทำชุดการเรียนรู้ ควรประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1.1) ชุดการเรียนรู้ควรมีขนาดเท่ากับกระดาษ A4 1.2) ชนิดอาหารควรมีจำนวน 7-10 ชนิด 1.3) ตัวอักษรในชุดการเรียนรู้ควรใช้แบบอักษร TH SarabunPSK 1.4) ขนาดตัวอักษรในชุดการเรียนรู้ควรใช้ขนาด 18 1.5) อาหารแต่ละชนิดควรมีปริมาณเนื้อหาประมาณ 1 หน้า 1.6) สีของตัวอักษร และกระดาษควรเป็นสีขาวดำ ส่วนสีของภาพควรเป็นภาพสีอื่นๆ และ 1.7) รูปภาพประกอบควรใช้ภาพสี และ 2) ผลการประเมินชุดการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหินเพื่อพัฒนาอาชีพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.66 คำสำคัญ: กล้วยหิน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช แป้งกล้วยหิน เส้นก๋วยเตี๋ยวจากกล้วยหิน ค่ากลูโคสที่ย่อยเร็ว ค่ากลูโคสที่ย่อยช้า น้ำตาลรวมทั้งหมด น้ำตาลรีดิวซ์ เปลือกกล้วยหินบด ไก่พื้นเมือง การพัฒนาชุดการเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหิน การพัฒนาอาชีพ
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research project, Promoting of production and utilization of Musa (ABB group) “Kluai Hin” in Phetchabun province, were to study the utilization of different parts of Musa (ABB group) “Kluai Hin”, to promote the entrepreneurs business about Musa (ABB group) “Kluai Hin” and integrate this research with teaching and learning in higher education. This research project was divided in 4 sub-projects; The 1st sub-project, Development of seedling production and conservation of Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ in vitro. The 2nd sub-project, The study of rapidly available glucose and slowly available glucose of Kluai Hin starch for utilization of noodle. The 3rd sub-project, proximate analysis of Musa (ABB group) wastes and feed supplementation in native chicken. The 4th sub-project, The development of learning packages on Musa (ABB group) “Kluai Hin” products for occupation development. The results in each sub-project were described as follows: The 1st sub-project; Development of Seedling Production and Conservation of Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ in vitro. This experiments aimed to study the optimum Media for the production of Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ in vitro and study on optimum conditions for preservation of Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ in vitro for genetic preservation. The effects of BA and NAA on growth and development of Musa sapientum (ABB group) cv ‘Kluai Hin’ in vitro and effects of substrate on growth in vivo were studied. The results showed that sterilization with 5% (v/v) solution of sodium hypochlorite for 10 minutes had the highest survival rate. MS medium supplemented with BA 1 mg/L gave the highest shoot formation, root formation and number of leaves. Root induction with MS medium supplemented with NAA at 1 mg/L gave the highest root formation. Percent for transplanting in natural conditions. Three different planting materials were used: peat moss, sand and sand mixed with coconut flake. The peat moss content had the highest survival rate. The optimum condition for preservation of Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ in vitro was cultured on growth retardant growth medium. MS supplemented with mannitol at 30 g / L that gave the lowest of shoot and percentage of shoot formation. The 2nd sub-project, The study of rapidly available glucose and slowly available glucose of Kluai Hin starch for utilization of noodle. Banana (Musa sapientum) is a good source of dietary fructo-oligosaccharide, which are considered to be functional components of food. They were impact energy consumption and healthy volunteers consumed unripe banana flour. Banana flour (BF) and ratio of noodle with 2.5 of BF and 3.0 of BF, the values of total sugar were 66.4, 54.4 and 73.2 ?g/mL; reducing sugar glucose were 7.8, 17.3 and 19.8 ?g/mL; rapidly available glucose (RAG) were 44.4?2.78, 27.2?2.97 and 29.4?2.97 g/100g flour; and slowly available glucose (SAG) were 28.1?0.66, 16.2?1.02 and 25.0?1.91 g/100g flour g/100g flour, respectively. Sensory properties of the banana noodles comparison with standard noodles (standard scale) were found to be affected significantly by the addition more banana flour ratio 3.0 of noodles lower (Slight) than ratio 3.0 (Moderate), respectively. The 3rd sub-project, proximate analysis of Musa (ABB group) wastes and feed supplementation in native chicken. The objectives of this study, to analyze the chemical nutrient content of grinded Musa peel (Group ABB). The results revealed that Musa peel (Group ABB) are classified in the basal feed or main feed that suitable for use as animal feed. Then, a study of grinded Musa peel (Group ABB) supplementation in feed on the production performance in native chicken. Five groups of grinded Musa peel supplementation in native chicken feed for 1 day of aged native chickens were imposed by Completely Randomized Designs; group 1; non grinded Musa peel supplement, group 2, 3, 4 and 5 were grinded Musa peel supplement in 5, 10, 15 and 20 percent, respectively. This experiment were collected bodyweight and feed intake for 12 weeks. All of data were analyzed with analysis of variance (ANOVA). Comparison of data between five groups of chickens was performed using by Least Significant Different, (LSD). The results showed that all of average production performances were not significantly different in 5 groups (P>0.05). The 4th sub-project, The development of learning packages on Musa (ABB group) “Kluai Hin” products for occupation development. This research aimed to : 1) design and study the learning packages on Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ products for occupation development 2) evaluate the of learning packages on Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ products for occupation development. The samples applying purposive sampling consisted of 12 persons from women’s occupation groups who produce ‘Kluai Hin’ products, and food sellers who produce products from others banana in Muang District, Phetchabun. The research instruments were: 1) a questionnaire designed to gather information required for developing the learning packages on Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ products for occupation development 2) the learning packages on Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ products for occupation development and 3) the evaluation of the learning packages on Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ products for occupation development. The mean and standard deviation were applied to analyze the data. The finding of this research revealed as follows: 1) the information required to the learning packages consist of 1.1) size is A4 1.2) 7-10 kinds of food made from ‘Kluai Hin’ 1.3) font for typing is TH SarabunPSK 1.4) size of font is 18 1.5) each kind of food consists of 1 content page 1.6) color and paper should be black and white and 1.7) pictures in the learning packages should be color and 2) the evaluation of the development of learning packages on Musa (ABB group) ‘Kluai Hin’ products for occupation development is the highest level Keywords: Musa sapientum (ABB group) cv ‘Kluai Hin’, Plant tissue culture, Plant growth regulators, Banana flour, Banana noodles, RAG, SAG, Total sugar, Reducing sugar, Grinded Musa peel (Group ABB), Native chicken, Learning packages, ‘Kluai Hin’ products, Occupation development
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-11-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การส่งเสริมการผลิตและการใช้ประโยชน์จากกล้วยหินในจังหวัดเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2560
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การพัฒนา เทคโนโลยีสะอาดและการใช้ประโยชน์เศษเหลือจากการผลิตไหม ในการผลิตโปรตีนไหม และผลิตภัณฑ์ สู่อุตสาหกรรมชุมชน ความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายและวัชพืชน้ำเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนา และ การใช้ประโยชน์ของ ข้าวสี ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ การพัฒนา และ การใช้ประโยชน์ของ ข้าวสี ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การพัฒนาและการใช้ประโยชน์ของข้าวสีในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ การพัฒนาและ การใช้ประโยชน์ของ ข้าวสี ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ การพัฒนาและการใช้ประโยชน์ของข้าวสีในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ศึกษาการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของพืช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก