สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการทำตลาดสุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเขตภาคเหนือ
อดิศร สิทธิเวช - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: แนวทางการทำตลาดสุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเขตภาคเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Marketing Glide Line for Price Improvement, Northern Region Organic Swine Porduct (Moo Lum).
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อดิศร สิทธิเวช
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยแนวทางการทำการตลาดสุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเขตภาคเหนือมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษารูปแบบการผลิตของผู้เลี้ยงสุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) เพื่อศึกษาตลาดเป้าหมาย ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมผลิตภัณฑ์สุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) ของตลาดเป้าหมาย เพื่อศึกษาปัญหาของการซื้อและการบริโภคสุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) และเพื่อสังเคราะห์แนวทางการจัดการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) ใช้การวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมระดมสมอง เก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และจังหวัดเชียงราย รวมทั้งขยายพื้นที่ไปศึกษายังจังหวัดราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการผลิตมีทั้งแบบรักษาแนวทางจากผู้ส่งเสริม และประยุกต์ ใช้กับระบบอุตสาหกรรม ตลาดเป้าหมายพบว่ามี 6 กลุ่มคือ ตลาดที่ 1 เป็นตลาดในพื้นที่ใกล้เคียงการเลี้ยงเป็นตลาดที่ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ตลาดที่ 2 ตลาดเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นตลาดที่ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ตลาดที่ 3 ตลาดกลุ่มชาติพันธุ์ หรือชนเผ่าบนพื้นที่สูง เป็นตลาดที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากราคาตลาดได้ประมาณร้อยละ 8 ตลาดที่ 4.ตลาดเพื่อสุขภาพในเขตเมือง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ประมาณร้อยละ 15 จากราคาตลาด 5.ตลาดบุคคลทันสมัยรายได้สูงในเขตเมืองใหญ่ เช่นเชียงใหม่ นครปฐม สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ประมาณร้อยละ 34 จากราคาตลาด และ 6. ตลาดมุ่งเน้นคุณภาพอาหารปลอดภัยในกรุงเทพมหานคร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ประมาณร้อยละ 75 จากราคาตลาด ด้านปัญหาของการทำการตลาดพบว่าในตลาดในพื้นที่ผู้ขายยังไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เนื่องจากขาดอำนาจต่อรองราคา ตลาดชำแหละขายปลีกในพื้นที่ใกล้เคียงพบว่าขาดความต่อเนื่องในการขายอันเนื่องมาจากปริมาณผลผลิตไม่มากจึงไม่สามารถเปิดขายได้ทุกวัน ส่วนตลาดมุ่งเน้นสุขภาพสูงในกรุงเทพมหานครพบว่าบางช่วงเวลาคุณภาพเนื้อไม่สม่ำเสมอ ด้านแนวทางการตลาดพบว่ากลยุทธ์ที่เหมาะสมคือกลยุทธ์โอกาส-จุดแข็ง ในกลุ่มเป้าหมายที่ 1 – 5 และกลยุทธ์โอกาส-จุดอ่อนที่ต้องพัฒนาจุดอ่อนด้วยการพัฒนาเครือข่ายผู้เลี้ยงเพื่อพัฒนามาตรฐานการเลี้ยง และเพิ่มความสามารถในการต่อรองราคา
บทคัดย่อ (EN): The research purposes are1) to study the feasibilities of investment in market, production process, economic and finance, and form and type of businesses. 2) to forecast impacts of investment to the economy and society of the country.3)to propose the study results and summarize the alternatives for the investment decisions.Populations and samples, including the innovation owner, people who take AWS to test, related personnel, material factory for, suppliers, importers, whole seller/retailer, current AWS users, and targeted customers.The information was analyzed by content analysis and financial analysis. The result shows that there is feasibility in business by targeting at researchers who work in limited area, have limited fund, and do not demand convenient for loading information. Due to the fact that the product has its outstanding, it is needed in the targeted market. As the production cost is low, the product price can be set at low which leads to open many distribution channels. And there is advantage in networking and knowledge in sell promotion. Moreover, as the result of Five-Force Model, the business is attractive. There are ways to make the business get more influence over the 5 factors. And the SWOT analysis shows that there are much strength with almost no weaknesses, many channels of opportunities, and small threats. The business is feasible in technology due to the innovation owner who knows the whole production process and has alternatives in ways of production and types of material. The business is feasible in finance. The products are guaranteed in case of the problems. The business requires initial investment for 80,000 baht and the selling price is 40,000 baht. The investment project has NPV = 162,265 baht at i = 8%. IRR is 68%. The payback period is 1 year 5 months. And if the sale is decreasing and able to sell only 1 device per month from the target of 2 devices, we can increase the price 10,000 baht to maintain profits. The business should be established in company limited to get more credibility. In management and operation, the owner can operate alone. The business has positive impacts to the economy and society, especially in agriculture and preserving environment of the country. Therefore the government must support Risk management, due to the fact that the product from AWS device is weatherinformation, therefore current customers are researchers and big agricultural companies. In the future, a large number of ordinary farmers will be our customers under the condition that AWS device can generate and analyze information which is practical. AWS should be supported and further researched to set segment-by-segment invasion strategies to approach market that it must approach in private market/researchers. The wireless system must be developed in order to collect wide range information via mobile phone to central computer system. Then approach to forecasting agricultural product market (Crop Modeling) by developing AWS along with the forecasting system. Finally, approaching weather forecasting systemto predict pr?cised agricultural information.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะบริหารธุรกิจ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-034
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://erp.mju.ac.th/researchDetailPublic.aspx?rid=4860
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการทำตลาดสุกรอินทรีย์ (หมูหลุม) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเขตภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดข้าวอินทรีย์สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ ศักยภาพด้านการตลาดและความเต็มใจจะจ่ายสินค้าเนื้อสุกรอินทรีย์ ในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลไม้ในเขตภาคเหนือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ ศักยภาพการใช้ประโยชน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของปูหิน บริเวณพื้นที่อ่าวสิเกา จังหวัดตรัง โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสุกรแบบครบวงจร ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในสุกร การสกัดน้ำมันอะโวคาโดและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลอะโวคาโด แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปยางพาราของสหกรณ์กองทุนสวนยางในจังหวัดสงขลา โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทข้าวหอมมะลิผ่านการสื่อสารการตลาดสู่ตลาดอาเซียน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก