สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์
พนม พรมมี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พนม พรมมี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ตามมาตรฐานฟาร์มผึ้ง (GAP) ของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร สภาพการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกร การปฏิบัติการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกร ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ประชากรที่ทำการศึกษาเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งพันธุ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 68 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.84 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ มีประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 7.8 ปี มีผึ้งที่เลี้ยงในปัจจุบันเฉลี่ย 183.1 รัง โดยมีรายได้เฉลี่ย 119,312.30 บาทต่อปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.8 คน แรงงานในครอบครัวที่ช่วยในการเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 2.27 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ เลี้ยงผึ้งเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้ง รองลงมา คือ กลุ่มลูกค้า ธกส. สำหรับความคิดเห็นของเกษตรกรในการปฏิบัติการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ตามมาตรฐานฟาร์มผึ้ง (GAP) พบว่ามีการปฏิบัติตามทุกครั้ง ส่วนปัญหา อุปสรรค ในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรจากการศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้ง ของเกษตรกรในจังหวัดอุครดิตถ์ ได้แก่ ไม่มีตลาดรองรับ ปัญหาเรื่องราคาน้ำผึ้งตกค่ำ ปัญหาเรื่องปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูระบาด ปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน และปัญหาเรื่องการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะ ปัญหาเรื่องการตลาด ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รู้จักว่าจังหวัดอุตรดิตถ์ว่ามีการเลี้ยงผึ้ง มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้ง รวมกันซื้อรวมกันขาย เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต รักษาคุณภาพของน้ำผึ้งให้ได้มาตราฐาน ซึ่งจะทำให้สามารถที่จะเก็บผลิตผลไว้ได้นาน และรักษามาตราฐานน้ำผึ้งตรงตามที่ตลาดต้องการ ราคาน้ำผึ้งตกต่ำ ควรมีการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตน้ำผึ้งให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น มีการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและรวมกลุ่มกันขายผลผลิต เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และให้รัฐบาลเข้ามาประกันราคาเพื่อให้ราคาเป็นมาตราฐาน ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง เช่น อุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง น้ำตาล รัฐควรมีมาตราการในการควบคุมไม่ให้ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงเกินไป ควรช่วยเหลือในการจัดหาแหล่งจำหน่ายปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูก มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดซื้อในปริมาณมาก ทำให้ราคาถูกลง โรคและแมลงศัตรูผึ้งระบาด ให้ปฏิบัติด้วยการหมั่นตรวจตราโรคและแมลงศัตรูอย่างสม่ำเสมอ และอยากให้ทางส่วนราชการที่รับผิดชอบทำการวิจัย และหาแนวทางการป้องกันกำจัดโดยการนำสารชีวภาพเข้ามาใช้ เพื่อเป็นการลดต้นทุน แหล่งเงินทุน ควรจัดการเลี้ยงผึ้งให้ได้มาตราฐานฟาร์มผึ้ง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีการจดบันทึกฟาร์ม ทำบัญชีรายรับรายจ่ายฟาร์ม ก็สามารถที่จะไปขอกู้ธนาคารเพื่อการเกษตร หรือรวมกลุ่มเพื่อจดทะเบียนเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน เพื่อขอทุนในการดำเนินการ หรือทำเรื่องกู้จากกองทุนหมู่บ้าน การเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลรู้จักจังหวัดอุตรดิตถ์ว่ามีการเลี้ยงผึ้ง โดยการนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในงานเทศกาลต่าง ๆ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผึ้ง เช่น ร้านค้าชุมชนที่ถนนอุตรดิตถ์ - เด่นชัย กม.ที่ 52 หรือลงในอินเตอร์เน็ท อนึ่งต้องรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตราฐานเป็นที่ยอมรับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์
พนม พรมมี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บทบาทของสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนครปฐม การศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มยุวเกษตรกร จังหวัดกาญจนบุรี สภาพการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกร : กรณีศึกษาในอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ความต้องการความรู้เพื่อปรับปรุงการผลิตทุเรียนของเกษตรกรในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ความคิดเห็นต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตตามโครงการฟื้นฟูอาชีพ เกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ปี 2545 ของเกษตรกรตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น วิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตรของเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีถั่วเหลือง การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร ของแม่บ้านเกษตรกรในภาคเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก