สืบค้นงานวิจัย
การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในภาคกลาง
ชยงค์ นามเมือง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในภาคกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Response to Nitrogen Fertilizer of Rice in the Central Plain Region Of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชยงค์ นามเมือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chayong Nammuang.
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ได้ดำเนินการทดลองศึกษาอิทธิพลของดินนาชนิดต่าง ๆ ต่อความสามารถในการให้ผลผลิตและตอบสนองต่อปุ๋ยของข้าวในภาคกลางของประเทศ ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2519 ถึง 2526 โดยจัดแบ่งดินนาที่ใช้ในการทดลองเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะและคุณสมบัติของดินบน ชั้นไถพรวน (0-15 ซม.) คือ ดินเหนียว (Aeric และ typic Tropaqualfs) ดินร่วนปนดินเหนียว (Aeric Tropaquepts และ Aeric tropaqualfs) ดินร่วนเหนียวปนทราย (Aeric Plinthic Tropaqualfs) และดินเหนียวเปรี้ยว (Typic Tropaquepts) ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย และไวต่อช่วงแสง ในการศึกษาร่วมกับปุ๋ย N อัตราต่าง ๆ ตั้งแต่ 0-36 กก. N/ไร่ โดยใส่ปุ๋ยฟอสเฟตและโปแตส ในอัตราระหว่าง 3 ถึง 6 กก. ของ P2O5 และ K2O5/ไร่ ก่อนปักดำ เป็นปุ๋ยรองพิ้น ทั้งนี้เพื่อหาอัตราปุ๋ย N ที่เหมาะสมที่สามารถให้ผลผลิตข้าวสูงสุด หรือให้ผลผลิตข้าวสูงพร้อมกำไรสูงสุด ผลการทดลอง ปรากฎว่าการตอบสนองต่อปุ๋ย N ของข้าวขึ้นอยู่กับชนิดของดินและพันธุ์ข้าว การให้ผลผลิตสูงของข้าวที่ปลุกในดินนาชนิดต่าง ๆ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายและดินเหนียวเปรี้ยว อย่างไรก็ตาม ในดินชนิดเดียวกัน ข้าวที่ปลูกในฤดูแล้งมีความสามารถในการตอบสนองต่อปุ๋ย N ได้สูงกว่า และให้ผลผลิตได้สูงกว่าข้าวที่ปลูกในฤดูฝน ปริมาณความต้องการปุ๋ย N ของข้าวเพื่อให้ผลผลิตสูงหรือสูงสุดเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก คือ ดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย และดินเหนียวเปรี้ยว ในฤดูฝน พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง , ไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย และไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตข้าวสูงสุด คือ 927 , 750 และ 714 กก. ข้าวเปลือก/ไร่ ประสิทธิภาพของปุ๋ย N ในการเพิ่มผลผลิตข้าวสำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่ปลูกในดินร่วนปนดินเหนียวและดินร่วนเหนียวปนทราย มีอัตราเพิ่ม 9.3-10.2 กก. ข้าวเปลือก/1 กก. N สำหรับพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงที่ปลูกในดินร่วนปนดินเหนียวและดินร่วนเหนียวปนทราย มีอัตราเพิ่ม 9.3-10.2 กก. ข้าวเปลือก/ฟ กก. N สำหรับพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงปลูกในดินร่วนเหนียวปนทรายและดินเหนียวเปรี้ยวมีอัตราเพิ่ม 9.3-9.7 กก. ข้าวเปลือก /1กก. N ข้าวแสดงการตอบสนองต่อระดับปุ๋ย N ในลักษณะเพิ่มผลผลิตสูงสุดและลดน้อยถอยลง (Quadratic response) เพราะฉะนั้น อัตราปุ๋ยสำหรับผลผลิตข้าวสูงสุดและผลผลิตพอเหมาะทางเศรษฐกิจ (ผลผลิตข้าวสูงพร้อมกำไรสูงสุด) พร้อมทั้งปริมาณของผลผลิตข้าวที่จะได้รับสามารถคำนวณได้จากสมการ Quadratic ต่าง ๆ ของการตอบสนองของข้าวต่อระดับปุ๋ย N ในดินนาประเภทต่าง ๆ
บทคัดย่อ (EN): Responses of rice to nitrogen fertilization were measured for both wet and dry season cropping on the farmers field in the Central Plain Region of thailand between 1976 and 1983. Four soil groups were included in the study the groupings being based on surface soil (0-15 cm) texture; they were clay soils in the aeric and Typic Tropaquepts, clay-loam soils in teh Aeric Tropaquepts and Aeric Tropaqualfs, sandy clay - loam in the Aeric Plinthic Tropaqualfs, and acidsulfate-clay soil in the Typic Tropaquepts. Recommended non-photosensitive, photosensitive andmildly photosensitive rice varieties were used. Nitrogen fertilizer application rates varied from 0 to 225 kg N ha-1, Response to nitrogen fertilizer level depended on soil type and rice variety. Response in relation to soil type was in decreasing magnitude for clay > clay-loam > sandy-clay-loam > acid-sulphate-clay. for any soil type the response was greater in teh dry season than the wet season. The amount of nitrogen needed to maximise yield increased in order of clay < clay-loam < sandy-clay-loam < acid-sulfate-clay. Yield potentials established for wet season cropping were 5794, 4688 and 4463 kgha-1 of paddy for non-photosensitive, mildly photosensitive and photosensitive varieties, respectively; for dry season cropping of non-photosensitive varieties the yield potential was 6031 kg ha-1 of paddy. The maximum and optimum rates of nitrogen fertilizer application were able to be computed from the quadratic response equations.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในภาคกลาง
กรมวิชาการเกษตร
2527
เอกสารแนบ 1
การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การตอบสนองของข้าวต่อปุ๋ยชีวภาพ การตอบสนองของข้าวโพดต่อสภาพขาดน้ำในดินและต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในช่วงฟื้นตัว ระยะเวลาการแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมสำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในนาดินเหนียว และนาดินร่วน การตอบสนองของรากต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และปริมาณน้ำที่ได้รับในข้าวขาวดอกมะลิ 105 การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีในเขตภาคตะวันตก การศึกษาการตอบสนองต่อความไวของช่วงแสงของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในภาคกลาง ประจำปี 2548 การศึกษาผลตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนและระยะเวลาใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมของข้าวขึ้นน้ำในเขต จ.สุพรรณบุรี การตอบสนองของข้าวไร่และข้าวสาลีต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสเฟต และโพแทช ระยะยาวในเขตจังหวัดเชียงใหม่ การเพิ่มผลผลิตข้าวภาคกลางจากการจัดเขตศักยภาพของพื้นที่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก