สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสายพันธุ์เตยหนามและพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสายพันธุ์เตยหนามและพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Crop Production Technologies of Screwpine in the Lower South
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ฉันทนา คงนคร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เตยเป็นพืชท้องถิ่นที่มีความหลากหลายสูง เส้นใยมีคุณสมบัติเหมาะที่จะนำมาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อส่งขายต่างประเทศ แต่การขยายตลาด มีข้อจำกัดเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ จึงศึกษาและวิจัยหาเทคโนโลยีการผลิตเตยหนามในภาคใต้ตอนล่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตและการเก็บรักษาเส้นใยเตยหนามรวมทั้งรวบรวมพันธุ์และจำแนกพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2556 มี 3 กิจกรรมหลักประกอบด้วย 1.การศึกษาและจำแนกสายพันธุ์พืชสกุลเตยภาคใต้ตอนล่าง จากการสำรวจใน 7 จังหวัด ทำการเก็บรวมได้ทั้งหมด 59 แหล่ง จำแนกตามลักษณะสัณฐานได้ 3 ชนิด คือ 1) เตยทะเล (P. odoratissimus) จำนวน 7 แหล่งเก็บ 2) เตยหนาม จำนวน 51 แหล่งเก็บ (P. kaidus) และ 3) เตยเขา (P. monothecus) จำนวน 1 แหล่งเก็บ 2.การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเตยหนาม ได้ศึกษาถึงสภาพพื้นที่ปลูก ระยะปลูก การใส่ปุ๋ย พบว่า เตยหนามที่ปลูกในสภาพพื้นที่พรุมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีกว่าการปลูกในสภาพพื้นที่ดอน ในขณะที่การใส่ปุ๋ยในอัตราต่างๆ เตยหนามมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ และ การปลูกด้วยระยะ 2x2 เมตร มีผลผลิตใบเฉลี่ยสูงสุด ส่วนระยะ 4x1 เมตร เป็นระยะปลูกที่สามารถเข้าไปปฏิบัติการต่างๆได้สะดวก และ 3.การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเส้นใยเตยหนามให้มีคุณภาพ ทำการสำรวจและสุ่มเก็บตัวอย่างเส้นใยเตยหนามจากกลุ่มหัตถกรรมตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ไม่พบแมลงศัตรูเส้นใย เนื่องจากอายุการเก็บรักษาสั้นไม่เกิน 6 เดือน จึงศึกษาวิธีการเก็บรักษาและแหล่งของเส้นใยที่มีผลต่อคุณภาพ พบว่า เส้นใยทั้งเตยปลูกและเตยธรรมชาติ ไม่พบโรคและแมลงศัตรูในโรงเก็บ แต่เส้นใยเริ่มเปลี่ยนสีหลังการเก็บรักษานานกว่าหนึ่งปี การเก็บในถุงตาข่ายไนล่อน กระสอบใยพลาสติกและเก็บโดยวิธีแขวนเส้นใยเปลี่ยนสีเร็วกว่าการเก็บในถุงพลาสติกและกระสอบป่าน คุณภาพของเส้นใย (ความแข็งแรงและการยืดตัว) ทั้งจากเตยปลูกและเตยธรรมชาติไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การเก็บโดยวิธีแขวนเส้นใยมีความแข็งแรงและการยืดตัวสูงสุด
บทคัดย่อ (EN): Screw pine is a highly diversity local crop and with good fiber properties suitable to be woven into various products for exporting. However, market expansion was limited with insufficient material. The objectives of this project were to search the suitable production technologies and fiber storage technologies of screw pine. This study consisted of 3 activities, which conducted during 2011 to 2013. The first activity was to survey, collection and classification of screw pine and Pandanus sp. in the lower south. The survey covered 59 sites in 7 provinces. Morphological classification divided them into 3 species, 1) Tuey Thalay ( P. odoratissimus) was collected from 7 sites 2) Tuey Nham ( P. kaidus ) was collected from 51 sites 3)Tuey Khao ( P. monothecus) was collected from 1 site. The second activity was research and development on screw pine production technologies, suitable planting area, spacing and fertilizer application. Planting in peat swamp area was growth and yield better than planting in upland areas. Whereas different fertilizer application rate gave no significant effect on growth and yield. Planted with a spacing of 2x2 meters gave highest average yield but a spacing of 4x1 meters practical for field operating. The third activity was research and development on storage of screw pine fiber. The study on storage insect pest of screw pine fiber was conducted at handicraft group in Tumbol Khu Tao, Hat Yai district, Songkhla province. They did not have infestation of storage insect pest of all samples collected from farmers. This incident may cause by the farmer kept their fiber less than 6 months. Study on storage methods and sources of screw pine on fiber quality revealed both fiber from cultivated and natural screw pine were not infested by insect pest and disease. However, after more than one year storage the color had changed. Color of the fiber stored in nylon mesh bag, in fiber plastic bag and hanging method change faster than stored in plastic bag and in gunny sack. Quality of fiber (strength and elongation) from both sources did not significantly different, but fiber stored by hanging method had highest strength and elongation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสายพันธุ์เตยหนามและพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเตยหนามและพืชสกุลเตยในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกชีในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอหอมหาดใหญ่ในภาคใต้ตอนล่าง เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผักอนามัยของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชที่มีศักยภาพในภาคใต้ตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก