สืบค้นงานวิจัย
การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง
นันทชัย บุญจร - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Indo-Pacific Mackerel Gill Net Fishery in the Middle Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นันทชัย บุญจร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nuntachai Boonjorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: -
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): -
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: ศึกษาการทำประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนกลางระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552 พบเรือประมง 3 ประเภท ได้แก่ เรือหางยาว เรือเครื่องยนต์วางท้องขนาดเล็ก และเรือ เครื่องยนต์วางท้องขนาดใหญ่ อวนลอยปลาทูใช้เนื้ออวนไนล่อน (nylon monofilament) เบอร์ 25 ขนาดช่อง ตาอวน 4.3-4.5 เซนติเมตร เรือหางยาวมีความยาวเรือ 6.0-12.0 เมตร ใช้เครื่องยนต์ขนาด 40-90 แรงม้า เครื่องกว้านขนาด 5-8 แรงม้า ความยาวอวน 810-3,600 เมตร ลึก 65-70 ตา ออกทำประมง 16-22 วันต่อ เดือน ที่ระดับน้ำลึก 6-30 เมตร มีฤดูทำประมงช่วงเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ และเมษายน อัตราการจับ เฉลี่ยสัตว์น้ำรวมและปลาทูเท่ากับ 82.60 และ76.02 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ องค์ประกอบสัตว์น้ำ ประกอบด้วยปลาทูร้อยละ 80.81 ความยาว 12.50-21.00 เซนติเมตร เฉลี่ย 17.30±0.93 เซนติเมตร รายได้ เหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ย 863.46 บาทต่อวัน อวนลอยปลาทูเรือเครื่องยนต์วางท้องขนาดเล็ก ความยาวเรือ 7.5-14.0 เมตร เครื่องยนต์ขนาด 90-120 แรงม้า เครื่องกว้านอวนขนาด 5-13 แรงม้า ความยาวอวน 1,620- 6,840 เมตร ลึก 65-70 ตา ออกทำประมง 20-22 วันต่อเดือน ที่ระดับน้ำลึก 6-33 เมตร มีฤดูทำประมงช่วง เดือนเมษายน อัตราการจับเฉลี่ยสัตว์น้ำรวม และปลาทูเท่ากับ 118.41 และ 103.53 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ องค์ประกอบสัตว์น้ำประกอบด้วยปลาทูร้อยละ 74.64 ความยาว 9.50-22.00 เซนติเมตร เฉลี่ย 17.44±0.90 เซนติเมตร รายได้เหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ย 1,310.37 บาทต่อวัน เรือเครื่องยนต์วางท้องขนาดใหญ่ ความยาวเรือ 14.5-22.0 เมตร เครื่องยนต์ขนาด 250-600 แรงม้า เครื่องกว้านอวนขนาดมากกว่า 10 แรงม้า ความยาวอวน 7,200-18,000 เมตร ลึก 70-100 ช่องตา ออกทำประมง 20-24 วันต่อเดือน ที่ระดับน้ำลึก 15-57 เมตร มีฤดู ทำประมงช่วงเดือนมกราคม และพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม อัตราการจับเฉลี่ยสัตว์น้ำรวมและปลาทูเท่ากับ 915.39 และ 710.94 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ องค์ประกอบสัตว์น้ำประกอบด้วยปลาทูร้อยละ 60.45 ความยาวเฉลี่ย 17.59±0.99 เซนติเมตร รายได้เหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ย 7,962.66 บาทต่อวัน
บทคัดย่อ (EN): Study on Indo-Pacific mackerel gill net fisheries in middle Gulf of Thailand was conducted between January and December in 2009. Three types of fishing boats were found; long tail boat, small inboard engine boat and large inboard engine boat. The net of Indo- Pacific mackerel gill net was made from nylon monofilament number 25, meash size was ranged from 4.3 to 4.5 cm. Long tail boat had a length of 6.0-12.0 meters, using a 40-90 housepower engine, winches 5-8 horsepower, using net length of 810-3,600 meters and depth of 65-70. The average fishing daywas 16-22 days/month, while the fishing ground reported at 6-30 m water depth. Fishing season was pronoured during January to February and April. Average total catch and Indo-Pacific mackerel catch rate were 82.60 and 76.02 kg/day, Indo-Pacific mackerel was contributed 80.81 % of total catch and average total length was 17.30±0.93cm. Average net revenue was 863.46 baht/day. The small inboard engine boat was 7.50-14.0 m length, 90-120 horse power engines, 5-13 power box horse power engines, 1,620-6,840 m net length, 65-70 net depth were used. The average fishing effort was 20-22 days/month at 6-33 m water depth which fishing season in April. The average total catch and Indo-Pacific mackerel catch rate were 118.41 and 103.53 kg/day. Indo-Pacific mackerel was contributed 74.64% of total catch and average total length was 17.44±0.90 cm. Average net revenue was 1,310.37 baht/day. The large inboard engine boat was 15.0-22.0 m length, 250-600 horse power engines, >10 power box horse power engines, 7,200-18,000 m net length and, 70-100 net depth were used. The average fishing effort was 20-24 days/month, where the fishing ground was at 15-57 m water depth which fishing season found in January and May-July. The average total catch and Indo-Pacific mackerel catch rate were 915.39 and 710.94 kg/day. Indo-Pacific mackerel was contributed 60.45% of total catch and average total length was 17.59±0.99 cm. Average net revenue was 7,962.66 baht/day.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร)
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 55-0409-55011
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/files/th/162561.pdf
พื้นที่ดำเนินการ: อ่าวไทยตอนกลาง
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-25T09:22:33Z No. of bitstreams: 1 16-61 การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง นันทชัย.pdf: 4456692 bytes, checksum: 1aa7dfd8509e6fe12d27e00e652ac7e3 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ เกาะสมุยเกาะกระ ถึง แหลมตะลุมพุก การจำแนกประชากรและแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของปลาทูบริเวณอ่าวไทย ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน การศึกษาการประเมินปริมาณการจับสัตว์น้ำและการลงแรงทำการประมงเครื่องมือทำการประมงอวนลาก โดยใช้ข้อมูลการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง สมุดบันทึกการทำการประมงและองค์ประกอบสัตว์น้ำ การจัดการประมงกุ้งมังกร (Panulirus spp.) อย่างยั่งยืนเพื่อชุมชนประมง แหล่งและฤดูทำการประมงของการประมงพาณิชย์บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งแชบ๊วยบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก