สืบค้นงานวิจัย
สภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
ศักดิ์ศิริ ธูปวงศ์ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: สภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศักดิ์ศิริ ธูปวงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง สภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน กรณีศึกษา : เขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัญหา ความต้องการ เกี่ยวกับการถือครองและการ ใช้ประโยชน์ที่ดิน ของเกษตรกรที่เข้าถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน ในแปลงที่ดินที่ออกหนังสือ อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) ประชากรที่ใช้ศึกษาคือเกษตรกรที่เข้า ถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน ในแปลงที่ดินที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูป ที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) จำนวนทั้งสิ้น 4,728 แปลง เนื้อที่ 66,743 ไร่ (ข้อมูล ณ 5 กุมภาพันธ์ 2553) ครอบคลุมพื้นที่ 15 หมู่บ้าน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างจากประชากรแบบ หลายขั้นตอน (multipal stage random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากรจำนวน 369 แปลง คิดเป็นร้อยละ 7.80 ของประชากร ที่ระดับความคลาดเคลื่อนที่ผู้วิจัยยอมรับได้ 5% จัดแบ่งจำนวนตัวอย่างที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (proportional stratifed random sampling) เพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม มาตรวจสอบความถูกต้องและจัดหมวดหมู่ ลงหัส เพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ และนำข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มาใช้สนับสนุนความเชื่อ มั่นต่อข้อมูลเชิงปริมาณ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่จะทำการสนทนากลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรที่ยังถือครองและทำประโยชน์ในที่ดิน และกลุ่มเกษตรกรที่ ไม่ถือครองและไม่ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วรวมถึงเกษตรกรรายใหม่ที่เข้าถือครองและ ทำประโยชน์ในที่ดิน จำนวนกลุ่มละ 8 คน จัดเวทีแยกจากกัน กลุ่มละ 1 ครั้ง ผลการวิจัยสรุป ตามประเด็นการศึกษา ได้ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปพบว่าเกษตรกรผู้ตอบแบบสอบถาม มีอายุเฉลี่ย 45.34 ปี ร้อยละ 78.9 จบ การศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้สุทธิครัวเรือนต่อปีระหว่าง 30,001-70,000 บาท และ เกษตรกรร้อยละ 87.5 มีภาวะหนี้สิน โดยเป็นหนี้สินกับสถาบันการเงินของรัฐ เฉลี่ย 141,482.81 บาท สถาบันการเงินเอกชน เฉลี่ย 98,916.67 บาท และเป็นหนี้นอกระบบ เฉลี่ย 56,762.71 บาท การศึกษาสภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดิน พบว่า เกษตรกรร้อยละ 76.4 เป็น ผู้ถือครองที่ดินเดิม มีเนื้อที่ถือครองโดยเฉลี่ย 23.54 ไร่ มีช่วงระยะเวลาในการถือครองที่ดิน เฉลี่ย 15.16 ปี ร้อยละ 91.1 ทำประโยชน์ในที่ดินเอง และเกษตรกร ร้อยละ 55.0 มีแหล่งเงินทุนในการทำการเกษตรจากครอบครัวและกู้ยืม ลักษณะดินที่ใช้ในการทำประโยชน์ ร้อยละ 57.5 เป็นดินร่วนปนทราย การใช้น้ำในการผลิตผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 57.5 มีน้ำสำหรับ ทำการเกษตรเพียงพุอเฉพาะฤดูฝน มีรายได้เฉลี่ยต่อปีจากพืช 61,152.58 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อ ปีจากสัตว์ 30,745.78 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อปี จากรายได้เสริม(ทั้งในและนอกภาคการเกษตร) 49.059.20 บาท เกษตรกรผู้ตอบแบบสอบถาม มีปัญหา ที่ตั้งที่ดินอยู่ไกลแหล่งน้ำ ดินไม่อุดม สมบูรณ์ / ดินเสื่อมโทรม ขาดแคลนแหล่งน้ำ บ่อบาดาล สระน้ำประจำไร่นา ถนนเข้าพื้นที่ทำการ เกษตรไม่สะดวก ไม่มีถนนเข้าแปลงที่ดิน และขาดแคลนแหล่งทุนทำการเกษตร แหล่งทุนดอกเบี้ย ต่ำ เกษตรกรต้องการให้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือหน่วยราชการอื่นๆ ช่วย แก้ปัญหาในเรื่องการถือครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ให้สอดคล้องกับปัญหา ความ ต้องการของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=352
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: พิษณุโลก
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ : ศึกษากรณีขนาดการถือครองที่ดินไม่เกิน 10 ไร่ต่อครัวเรือน การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดขอนแก่น การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555 แนวทางการบริหารจัดการโรงเรือนกางมุ้งในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท และ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี การเพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ในการให้เช่าซื้อที่ดินเอกชนในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผลของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกยางพาราในจังหวัดพัทลุง การถือครองที่ดินต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของครัวเรือนเกษตร การติดตามประเมินผล โครงการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฎิรูปที่ดิน จังหวัดน่าน ปี 2555 การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก