สืบค้นงานวิจัย
การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการบริหารงาน : การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
วชิรา ไฝเจริญมงคล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการบริหารงาน : การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วชิรา ไฝเจริญมงคล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเพิ่มผลผิตอ้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินโครงการ ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็นและวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ปี 2546 จาก 15 หมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม ทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการ จำนวน 113 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความแตกต่างในการปฏิบัติของเกษตรกรก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยวิธี Paired samples t-test ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.6 ปี จบการศึกษาชั้นประถมต้น เกษตรกรร้อยละ 50.4 มีพื้นที่ในการปลูกอ้อยน้อยกว่า 30 ไร่ ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อวิธีการปฏิบัติเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย ในการปฏิบัติด้านการปลูกอ้อยของเกษตรกรหลังดำเนินโครงการ พบว่า เกษตรกรจะพิจารณาตัดอ้อยตอเป็นอันดับแรก และร้อยละ 62.8 จะตัดอ้อยชิดดิน มีเกษตรกรร้อยละ 55.8 ไม่เผาใบอ้อย ในการบำรุงตออ้อยหลังตัดนั้นมีเกษตรกรเพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้นที่ไถพรวนหลังตัดอ้อยไม่เกิน 15 วัน และร้อยละ 11.2 ที่ให้น้ำหลังตัดไม่เกิน 15 วัน เกษตรกรร้อยละ 39.8 มีการปลูกอ้อยปลายฝน เกษตรกรร้อยละ 53.1 มีการปรับปรุงบำรุงดินดิน และเกษตรกรร้อยละ 88.5 เห็นว่าการปลูกอ้อยท่อนคู่ดีกว่าการปลูกท่อนเดี่ยว เกษตรกรส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมีในอ้อยปลูกใหม่ 2 ครั้ง โดยใส่ครั้งแรกรองพื้นพร้อมปลูก ครั้งที่ 2 จะใส่ในช่วงอ้อยแตกกออายุ 2-3 เดือน ส่วนในการใส่ปุ๋ยอ้อยตอนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จะใส่ 2 ครั้ง โดยมีเกษตรกรเพียงร้อยละ 16.9 ที่มีการใส่ปุ๋ยครั้งแรกหลังการตัดอ้อยไม่เกิน 15 วัน ส่วนครั้งที่ 2 จะใส่ในช่วงที่อ้อยมีอายุ 4-5 เดือน และสูตรปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใส่ในแต่ละครั้งจะแตกต่างกัน ในการกำจัดวัชพืชเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้วิธีกล มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 22.1 ที่ปล่อยแตนเบียนในแปลงอ้อยเพื่อป้องกันกำจัดหนอนกออ้อย ส่วนผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ พบว่า การปฏิบัติของเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ 3 ประเด็น คือ จำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยเคมีในอ้อยตอเพิ่มมากขึ้นจากเดิม เกษตรกรไม่เผาใบอ้อยเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม และ เกษตรกรมีการพรวนดินหลังตัดอ้อยไม่เกิน 15 วันลดลงจากเดิม ข้อเสนอแนะที่ควรจะต้องมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติของเกษตรกรในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพที่ดีขึ้น คือจะต้องมีการส่งเสริมและให้ความรู้แก่เกษตรกรควบคู่ไปกับการจัดทำแปลงสาธิตเปรียบเทียบ ในประเด็นของ การปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกอ้อยแบบหนาแน่น(ท่อนคู่)เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ การใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง การปลูกอ้อยปลายฝนในพื้นที่ดินทราย การไม่เผาใบอ้อย การตัดอ้อยชิดดิน การบำรุงตออ้อย การควบคุมหนอนกออ้อยและการใช้สารกำจัดวัชพืช
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการบริหารงาน : การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรมของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเมินผลกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ภาคตะวันตก โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานส่งเสริมการเกษตร ระดับหัวหน้างานของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเหนือ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนา Food Valley ภาคอีสาน ปี 2559 การดำเนินงานกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เทคโนโลยีการปลูกพริกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก