สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สุภาพร บัวแก้ว, จุมพฏ สุขเกื้อ, เอนก กุณาละสิริ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): A Study on Economics of Rubber Production in Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาเศรษฐกิจและสังคมของชาวสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้มีข้อมูลของสภาพทั่วไปในการผลิตยาง และสภาพเศรษฐกิจสังคมของชาวสวนยางรวม 6 จังหวัด โดยการสำรวจใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 209 รายในปี พ.ศ.2551 จากพื้นที่ๆ มีการปลูกยางสูงเป็น 3 อันดับแรก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 3 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย เลยและอุดรธานี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 3 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี พบว่าผลการศึกษา เป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อ แม่ ลูก อยู่รวมกันร้อยละ 52 สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 5 ราย การศึกษาสูงสุดของหัวหน้าครอบครัว จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อาชีพที่ทำควบคู่กับการทำสวนยาง ได้แก่ ทำนา พืชไร่ รับราชการและค้าขาย แรงงานที่ทำงานในสวนยางเฉลี่ย 2 คน พื้นที่ปลูกยางที่ถือครองเฉลี่ย 34.43 ไร่ เปิดกรีดแล้วเฉลี่ย 16.86 ไร่ สวนยางอ่อนเฉลี่ย 22.25 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่เฉลี่ย 8.27 ไร่ และนาข้าวเฉลี่ย 16.31 ไร่ การปลูกยางเริ่มปลูกตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกมากที่สุดเป็นพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 96.20 เปิดกรีดเมื่ออายุยางมากกว่า 7 ปี ร้อยละ 58.40 ใช้แรงงานในครัวเรือนกรีดยางร้อยละ 81.30 ที่เหลือเป็นการจ้างกรีด แบ่งหน้ากรีดครึ่งลำต้นร้อยละ 53.10 ความถี่กรีดยาง 2 วัน หยุด 1 วัน ร้อยละ 88.60 เกษตรกรร้อยละ 59.80 ผลิตยางแผ่นดิบ และร้อยละ 40.20 ผลิตยางก้อนถ้วย สถานที่ขายยางโดยเฉพาะยางแผ่นดิบจะมีการรวมกลุ่มในรูปของกลุ่มสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์กองทุนสวนยาง และสหกรณ์การเกษตร เพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. รวมกัน ร้อยละ 46.40 ของตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาเป็นพ่อค้าเร่เข้าไปรับซื้อผลผลิตถึงสวนยาง และบ้านเรือนเกษตรกรร้อยละ 30.10 เกษตรกรมีรายได้จากยางพารา เฉลี่ยเดือนละ 16,413 บาท มีรายจ่าย เฉลี่ยเดือนละ 6,630 บาท (ไม่รวมหนี้สินและค่าผ่อนสินค้าอุปโภครายเดือน) เกษตรกรมีรถจักรยานยนต์ร้อยละ 83.3 มีรถยนต์ร้อยละ 56.00 มีรถไถเดินตามร้อยละ 58.40 และมีอุปกรณ์การเกษตรร้อยละ 31.60 เกษตรกรร้อยละ 57.9 0 กู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) หนี้สินรวมเฉลี่ย 93,796 บาท เป็นหนี้สินที่กู้มาเพื่อการลงทุน ทั้งภาคการเกษตรและสร้างที่อยู่อาศัย
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระยะที่ 3) โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก