สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวสาลีอินทรีย์
สุธีรา มูลศรี - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวสาลีอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Organic Wheat Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธีรา มูลศรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุธีรา มูลศรี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาข้าวสาลีที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นหาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพตรงตามความ ต้องการของอุตสาหกรรมเบเกอรี่ แต่ปัจจุบันมีการตื่นตัวในด้านสุขอนามัย มีการใช้ประโยชน์จากข้าวสาลี เพื่อเป็นอาหารเสริมสุขภาพและใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและความงาม ดังนั้นการ ผลิตข้าวสาลีแบบอินทรีย์จึงเป็นการสอดคล้องกับการนําใช้ประโยชน์ในรูปแบบดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม มูลค่าให้แก่ข้าวสาลีไทย การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลีอินทรีย์จะเป็นแนวทางเลือกหนึ่ง ของเกษตรกรที่จะสามารถเพิ่มรายได้ในฤดูแล้ง จึงได้มีงานวิจัย เพื่อศึกษาหาเทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลี อินทรีย์ที่เหมาะสมที่จะสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรได้ ประกอบด้วย การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของ ดิน การประเมินพันธุ์ข้าวสาลีในการผลิตข้าวสาลีแบบอินทรีย์ และ การศึกษาลักษณะความเป็นหมันของ ข้าวสาลีคามุต ผลการดําเนินงาน ไม่พบความแตกต่างระหว่างวิธีการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่การใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดตามหลังข้าวสาลีเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินมีแนวโน้มที่จะ ทดแทนปุ๋ยอินทรีย์และเพิ่มผลผลิตข้าวสาลีได้ ทั้งนี้ถ้าดําเนินการต่อเนื่องในระยะยาว การใช้ปอเทืองเป็น ปุ๋ยพืชสดอาจช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของปุ๋ยอินทรีย์ลงได้ นอกจากนี้สภาพดินนาในภาคเหนือ ตอนบนมีปัญหาการขาดธาตุฟอสฟอรัส การใช้หินฟอสเฟตร่วมในระบบจะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ ของดินในการจัดการระบบอินทรีย์ได้ ในเรื่องของพันธุ์ข้าวสาลีพบว่าพันธุ์ฝาง 60 และพันธุ์สะเมิง 2 สามารถส่งเสริมในระบบอินทรีย์ได้ ขณะที่ข้าวสาลีดูรัมคามุตยังให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ํา อายุหนัก และมีความ แปรปรวนในการให้ผลผลิตสูง ซึ่งในงานทดลองเบื้องต้นพบว่าวันปลูกที่เหมาะสมอยู่ระหว่างกลางเดือน พฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในแต่ละปี และการงดให้น้ําระยะออกรวงและ ระยะผสมเกสรไม่ทําให้การติดเมล็ดของข้าวสาลีดูรัมคามุตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามข้าวสาลีที่ปลูกใน ประเทศไทยแม้ว่าจะไม่อยู่ในระบบอินทรีย์ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นพืชที่ปลอดภัยเนื่องจากไม่ค่อยพบโรคแมลง เข้าทําความเสียหาย ทําให้เกษตรกรไม่จําเป็นต้องใช้สารเคมีกําจัดโรคแมลง จึงมีต้นทุนการผลิตค่อนข้าง ต่ํา นอกจากนี้ยังเป็นพืชอายุสั้น จึงเป็นพืชทางเลือกหนึ่งให้เกษตรกรใช้ตามหลังข้าวนาปีได้
บทคัดย่อ (EN): In the past, the objective of research and development on wheat was to improve wheat varieties for high yielding and good quality for bakery. Now healthy consumption are very popular, there are many types of wheat using for healthy food and product for health and beauty that organic wheat is more needed. Research and Development on Organic Wheat Production was conducted to improve organic wheat production technology that can transfer to farmers and increase incomes. This project consists of management on soil fertility for organic wheat production, evaluate wheat varieties for organic wheat production and study on sterility of organic kamut wheat. For soil fertility for organic wheat production, we found that it was not significant between treatment but planting sunn hemp after rice was relatively better for improve soil fertility and could reduce organic fertilizer in long term. Using rock phosphate might improve soil fertility and enhance of phosphorus defficiency problem. For evaluate wheat varieties for organic wheat production, fang 60 and samoeng 2 could be used in organic system while kamut gave low yield, late maturity and very sensitive to high temperature. The suitable time for planting kamut was between middle of November to early of December and depended on temperature at that time too. To stop irrigation at heading and fertilization stages could not improve seed fertility. However wheat system in Thailand is not organic but it is rather safety because of non fungicide and pesticide. Besides wheat production is low cost and using short times so this is good opportunity for farmers to choose as crop following rice.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวสาลีอินทรีย์
กรมการข้าว
30 กันยายน 2553
กรมการข้าว
การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม วิธีปลูกข้าวสาลีโดยไม่ไถเตรียมดิน แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) ปีที่ 3 การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) ปีที่ 2 การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) เทคโนโลยีบางประการที่มีผลต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก