สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
สมบัติ บวรพรเมธี, สันติ พรหมคำ, วีระพงษ์ เย็นอ่วม, อานนท์ มลิพันธ์, สุภาพร สุขโต - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
ชื่อเรื่อง (EN): On Farm Trial and Development Technology of Cassava Production in Central and Western Regions
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: -การวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก เพื่อศึกษาหาพันธุ์ วิธีการเขตกรรม และการใช้อัตราปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินในพื้นที่จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยการทดสอบพันธุ์มันสำปะหลังในพื้นที่อับฝนจังหวัดลพบุรี พบว่า พันธุ์ระยอง 72 เป็นพันธุ์ที่มีอัตราการอยู่รอดหลังปลูกสูง และมีศักยภาพให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่สูง ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ช่วงอายุ 8-9 เดือนหลังปลูก แต่ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูแล้งและช่วงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตควรปราศจากการตกของฝน เพื่อให้มีปริมาณแป้งในหัวสดสูงขึ้น ในขณะที่การทดสอบพันธุ์และปุ๋ยเคมีกับการผลิตมันสำปะหลังในสภาพดินทรายและดินร่วนปนทรายเขตจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า การเลือกใช้พันธุ์ระยอง 86-13 และการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินในพื้นที่เกษตรกร สภาพดินทรายควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 16-4-16 กก. N-P2O5-K2O ต่อไร่ ส่วนในดินร่วนปนทรายควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 16-4-8 กก. N-P2O5-K2O ต่อไร่ ทำให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 และเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรมีต้นทุนต่ำกว่ากรรมวิธีของเกษตรกร ส่งผลให้รายได้ต่อพื้นที่ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น สำหรับการทดสอบพันธุ์และปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับการผลิตมันสำปะหลังจังหวัดอุทัยธานี พบว่า การเลือกใช้พันธุ์ระยอง 86-13 และใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินในสภาพดินร่วนปนทรายส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีที่อัตรา 16-4-8 กก. N-P2O5-K2O ต่อไร่ ทำให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่เพิ่มขึ้น และเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรทำให้ต้นทุนต่ำกว่ากรรมวิธีของเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น จากการดำเนินงานโครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกในระหว่างปี 2559-2561 สรุปผลได้ดังนี้ (1) ปลูกใช้ต้นพันธุ์ที่สดใหม่ไม่เกิน 15 วันหลังตัด (2) เลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (คุณสมบัติของดิน สภาพอากาศ และพฤติกรรมช่วงการเก็บเกี่ยวของเกษตรกร) และ (3) ใช้อัตราปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ต้นแบบการผลิตมันสำปะหลังที่ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตหัวสดต่อไร่สูงขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพเพิ่มขึ้น และทำให้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตลดลง รวมทั้งนำเทคโนโลยีจากแปลงทดสอบเผยแพร่ขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงได้ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดี และปรับวิธีการผลิตในแนวทางของแปลงต้นแบบต่อไป
บทคัดย่อ (EN): -The studies for test and development of technology for suitable cassava production method planted in central and western regions were evaluated. The purpose of this research was to investigate the suitable cassava variety, good agricultural practice and applying fertilizer according to the soil tests in Lop Buri, Nakhon Sawan and Uthai Thani provinces. Cassava varieties were tested planting in rain shadow areas in Lop Buri province. The result showed that Rayong 72 cultivar had the greatest survival rate and fresh root yield per rai at 8-9 months of harvest time after planting. However, Rayong 72 cultivar should be harvested during the dry season and without raining that produced high starch contents. While, evaluation of varieties and fertilizer application on cassava production planted on sandy and loamy sand soil were tested in in Nakhon Sawan province. It was found that Rayong 86-13 variety, application of fertilizer according to soil tested from farmer’s field (which the suitable rate applied on sandy soil was 16-4-16 kg N-P2O5-K2O per rai, and loamy sand soil was 16-4-8 kg N-P2O5-K2O per rai) can enhance of fresh root yield per rai more than 10 percent. In addition, application of the Department of Agriculture (DOA) technology was less production cost which supports help stabilize farmer income. Testing of varieties and fertilizer application for suitable cassava production in Uthai Thani province, found that Rayong 86-13 and fertilizer application rate 16-4-8 kg N-P2O5-K2O per rai planted in loamy sand soil was suitable for increase of fresh root yield per rai. In addition, cost production of DOA technology was less than farmer’s practice which help to increasing the income of cassava farmers per area. The improving production efficiency of cassava project in central and western regions have operated during 2016-2018 by collecting related data, the results can be summarized as follows: (1) fresh stem cutting within 15 days after cutting was the best for planting (2) select a suitable variety for specific areas (soil property, weather and harvesting time of farmers behavior) and (3) applying fertilizer according to the soil tests. The prototype cassava production in this study can enhance the appropriate of high fresh root yield per rai, high production and low production cost per unit. Therefore, dissemination of knowledge from testing field to farmers in nearby areas also prefer planting good cassava variety and adjusted these production methods in further farmer area.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
อาหารจากมันสำปะหลัง การพื้นฟูดินสันป่าตองด้วยหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มผลิตมันสำปะหลัง รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวเปลือกนาปรังในภาคกลางและภาคตะวันตก โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขตภาคกลาง การศึกษาสภาวะการเพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตก ปี 2538 โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก