สืบค้นงานวิจัย
การจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมมันฝรั่งของเกษตรกรในจังหวัดตาก
ทรงกลด ซื่อสัตตบงกช - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมมันฝรั่งของเกษตรกรในจังหวัดตาก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทรงกลด ซื่อสัตตบงกช
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมมันฝรั่งของเกษตรกรในจังหวัดตาก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ลวิธีปฏิบัติของเกษตรกรประเมินความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับพื้นที่เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม การส่งเสริมและปัญหาของบริษัทในการประกอบธุรกิจการผลิตมันฝรั่งเพื่อส่งโรงงานแปรรูป ตลอดจนหาความสัมพันธ์ของปัจจัยบางประการกับวิธีปฏิบัติในการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 130 ราย ประเมินความรู้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจำนวน 21 ราย และสัมภาษณ์ผู้แทนของบริษัทผู้ประกอบธุรกิจการผลิตมันฝรั่งจำนวน 2 บริษัท ในพื้นที่อำเภอพบพระ และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไส้เดือนฝอยรากปมในเรื่องช่วงระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นใต้ดินของมันฝรั่ง(ระยะลงหัว)ที่ไส้เดือนฝอยเริ่มเข้าทำลาย เรื่องส่วนของมันฝรั่งที่แสดงอาการให้เห็นชัดเจนที่สุดเมื่อถูกไส้เดือนฝอยเข้าทำลายมีลักษณะเป็นปุ่มปม ประเด็นเรื่องโรครากปมในมันฝรั่งสาเหตุเกิดมาจากไส้เดือนฝอยละเรื่องพื้นที่ในแปลงมันฝรั่งที่พบการระบาดของไส้เดือนฝอยทำความเสียหายมากเป็นบริเวณที่มีลักษณะเป็นที่ชุ่ม ชื้นแฉะ ด้านความรู้ของเกษตรกรในการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการไถและปล่อยดินทิ้งไว้ตากแดดหลายๆ ครั้งว่าเป็นการช่วยกำจัดไข่และตัวไส้เดือนฝอย การกำจัดวัชพืช พืชอาศัยและเก็บเศษซากพืชไปทำลายจะช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอย เมื่อเกิดการระบาดในฤดูกาลต่อไปต้องย้ายแปลงปลูกใหม่ไม่ปลูกซ้ำในแปลงเดิม การปลูกพืชหมุนเวียนแทน 2-3 ฤดู เพื่อลดการระบาดของไส้เดือนฝอยเรื่องสารสกัดชีวภาพจากพืชและสัตว์ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมไส้เดือนฝอย และการปลูกต้นดาวเรืองร่วมกับมันฝรั่งเพื่อกำจัดไส้เดือนฝอย ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอย สำหรับวิธีปฏิบัติในการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติโดยการย้ายแปลงปลูกใหม่เมื่อพบการระบาดและปลูกพืชหมุนเวียน 2-3 ฤดู ในแปลงเดิม การเตรียมดินเกษตรกรทำการไถ 1-2 ครั้งและปล่อยดินทิ้งไว้ตากแดดนาน 1-2 สัปดาห์ กำจัดวัชพืช พืชอาศัยและเก็บเศษซากพืชออกจากแปลงปลูกนำไปทำลาย ใช้สารเคมีรองก้นหลุมก่อนปลูกและพ่นสารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอยหลังจากมันฝรั่งงอกแล้ว 1 เดือน ในการเปิดรับข่าวสารการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมจากแหล่งความรู้ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากบริษัทส่งเสริมการผลิตมันฝรั่งส่งโรงงานมากที่สุด โดยได้รับจากพนักงานส่งเสริมของบริษัทที่เดินทางมาพบเกษตรกรในไร่ จากการเดินทางไปขอคำแนะนำถึงบริษัทและดูงานในแปลงทดสอบของบริษัท รองลงมา เกษตรกรได้รับจากการพูดคุยกับเพื่อนบ้าน จากพ่อค้าสารเคมีในท้องถิ่น พูดคุยกับเกษตรกรผู้นำ และได้รับจากเกษตรตำบล ปัญหาในการผลิตมันฝรั่งเพื่อส่งโรงงาน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการระบาดของไส้เดือนฝอยทำความเสียหายแก่ผลผลิต ปัญหาการจัดการป้องกันและกำจัด การจำแนกลักษณะพืชที่ถูกทำลาย การใช้สารเคมี การวางแผนปลูกพืชในฤดูถัดไปเพื่อเลี่ยงการระบาด ตลอดจนปัญหาการใช้แรงงานในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การใช้หัวพันธุ์ และการจัดการผลผลิตมันฝรั่ง การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับวิธีปฏิบัติในการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอย พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างวิธีปฏิบัติในการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยของเกษตรกรกับการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอย จากแหล่งความรู้ คือ พนักงานส่งเสริมของบริษัท การเดินทางไปดูแปลงทดสอบของบริษัท และเกษตรตำบล ในการประเมินระดับความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม พบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับพอรู้แต่ไม่มั่นใจในรายละเอียด 11 ประเด็น ใน 14 ประเด็นมีความรู้พอเพียงแล้ว 3 ประเด็น การประกอบธุรกิจการผลิตมันฝรั่งเพื่อส่งโรงงานในอำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก มี 2 บริษัทคือ บริษัท เป๊ปซี่ โคล่า(ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ส่งเสริมในช่วงฤดูแล้งและบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟูดส์ จำกัด ส่งเสริมตลอดทั้งปี บริษัทดำเนินการกับกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือก โดยจะสนับสนุนด้านสินเชื่อในรูปปัจจัยการผลิตได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมี และหัวพันธุ์ ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการผลิตมันฝรั่งบริษัทส่งเสริมแบบรายบุคคล โดยพนักงานส่งเสริมของบริษัทเดินทางไปพบให้คำแนะนำเกษตรกรในไร่ตลอดฤดูกาลอย่างสม่ำเสมอ การรับซื้อผลผลิตเป็นตลาดข้อตกลง รับซื้อตามราคาประกันและบริษัท เป๊ปซี่ โคล่า(ไทย)เทรดดิ้ง จำกัด ยังใช้เปอร์เซ็นต์แป้งกำหนดคุณภาพ จัดเกรดคุณภาพผลผลิตให้ราคาต่อหน่วยสูงขึ้น ในการจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยทั้งสองบริษัทส่งเสริมให้เกษตรกรป้องกันและกำจัดโดยวิธีเขตกรรมและใช้สารเคมีนอกจากนี้บริษัท เป๊ปซี่ โคล่า(ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ดำเนินกิจกรรมสุ่มตัวอย่างดินในแปลงสมาชิกนำไปวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของไส้เดือนฝอยปีละ 2 ครั้ง ช่วงต้นและปลายฤดูฝน บริษัทจะไม่ส่งเสริมการผลิตในช่วงฤดูฝนเพื่อหลีกเลี่ยงช่วงการระบาดของไส้เดือนฝอย จึงดำเนินการเฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น สำหรับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด เสริมกิจกรรมการควบคุมไส้เดือนฝอยโดยให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยมูลไก่ 50กิโลกรัม/ไร่ รองพื้นก่อนปลูก พูนโคนต้นมันฝรั่งเพื่อป้องกันน้ำขัง และกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตให้สั้นลง คือ ช่วงอายุมันฝรั่ง 70-75 วัน สำหรับปัญหาในการดำเนินธุรกิจของบริษัทคือความไม่ซื่อสัตย์ของเกษตรกรบางรายที่ลักลอบนำปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากบริษัทและผลผลิตไปขาย ปัญหาได้รับผลผลิตไม่ตรงตามเป้าหมาย และประสบปัญหาการระบาดรุนแรงของศัตรูพืช ทำลายมันฝรั่งได้แก่ โรคไหม้ ไส้เดือนฝอยรากปมและโรคเหี่ยวทำให้ผลผลิตลดลง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดตาก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมมันฝรั่งของเกษตรกรในจังหวัดตาก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การคัดเลือกพืชทดสอบเพื่อใช้ประเมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน การค้นหาไส้เดือนฝอยตัวห้ำเพื่อใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูผักของเกษตรกรบ้านเสริมสุข ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก การใช้สารป้องกันรังสีอาทิตย์เคลือบไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าทำลายแมลงอาศัยหนอนกินรังผึ้ง Galleria mellonella (Linnaeus) การคัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของพืชผักบางชนิด ประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในพริก เทคโนโลยีการผลิตนุ่นของเกษตรกรในจังหวัดตาก ศักยภาพการใช้พืชปฏิปักษ์และผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก