สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
ปรีดา ศรีนฤวรรณ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): The Potential Creativity of organic Agricultural Production Farmer Group Operation Management
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปรีดา ศรีนฤวรรณ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงสภาพทั่วไป รูปแบบการจัดการการตลาด รวมทั้งปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายชนชั้นกลางขึ้นไป เป็นกลุ่มที่รักสุขภาพ และมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ สำหรับตำแหน่งทางการตลาด กลุ่มเกษตรกรได้กำหนดตำแหน่งว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารเคมีและราคาได้มาตรฐาน รูปแบบการจัดการการตลาด ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านกระบวนการแบบปลอดสารเคมีทุกขั้นตอน การกำหนดราคา ใช้วิธีการประชุมกับสมาชิกเพื่อกำหนดราคาร่วมกัน การจัดจำหน่ายจำหน่ายโดยตรงไปยังผู้บริโภค ในรูปแบบของตลาดนัด ตลาดเฉาพะ และตลาดทั่วไป และจัดจำหน่ายสินค้าแปรรูปผ่านคนกลางที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลอดสารเคมี การส่งเสริมการตลาด ใช้การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การใช้พนักงานขาย การจัดกิจกรรมทางการตลาด และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ปัญหาด้านการตลาด กลุ่มเป้าหมายจำกัดเฉพาะบางกลุ่ม ไม่มีความหลากหลาย ขาดความเป็นเอกลัษณ์ ยังหาจุดขายของทางกลุ่มไม่ได้ ขาดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ขาดความต่อเนื่องในการผลิตผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ตามฤดูกาล ยังขาดการวางแผนร่วมกันระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายการตลาด การกำหนดราคายังขาดเสถียรภาพ การกำหนดราคายังอาศัยความรู้สึกของตนเองมากกว่าข้อเท็จจริง ขาดความหลากหลายของช่องทางการจัดจำหน่าย ขาดงบประมาณและวิธีการในการส่งเสริมการตลาด
บทคัดย่อ (EN): This research was conducted to investigate general conditions, pattern, and problems for the management of marketing of the farmer group doing organic agricultural production in Chiang Mai province. Data collection was done through in-dept interview and focus groups. The results show that a person who works in government sector and private business plays an important in this area. Middle class, health care group and have positive attitude in Organic Agriculture were theirs target , and good quality, hygienic and standard price were used to positioning for this market. Marketing Management Model ; hygienic products would be processed and mark-up price was set by members. Furthermore, direct marketing and intermediate would be distributed through special market , fair market and general market. Promotion that were advertised, public relation, personal selling , event marketing and customer relationship management would be implemented. Problems have also been found; least target group, lack of variety products, identity, selling proposition, continuous of production, seasonal product, no planning between production and marketing. contingency price. Moreover, variety of the channel of distribution, budget and method of promotion have been limited.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะบริหารธุรกิจ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-51-001.3
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-51-001.3.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2551
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน การพัฒนาระบบบัญชีการเงินและระบบบัญชีเพื่อการบริหารของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน พัฒนาระบบบัญชีการเงินและระบบบัญชีเพื่อการบริหารของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อความเข็มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน พัฒนาระบบโปรแกรมเครื่องมือทางการเงินของกลุ่มเกษตรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง : กรณีศึกษากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านดอกแดง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ การพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ การเพิ่มศักยภาพการบริหารการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีย์ศึกษา เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก