สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยางสดในการหาเปอร์เซ็นต์ยางแห้ง ในน้ำยางสด
ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยางสดในการหาเปอร์เซ็นต์ยางแห้ง ในน้ำยางสด
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Specific Gravity of Latex as Percentage Measurement of Dry Rubber Latex
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางสด (DRC) เป็นดัชนีชี้วัดในการซื้อขายน้ำยางสดจากต้นยางพารา ปริมาณเนื้อยางในน้ำยางธรรมชาติอาจมีความแปรปรวนตั้งแต่ 25 – 45 เปอร์เซ็นต์ การใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยางสดมาใช้เป็นดัชนีแสดงปริมาณเนื้อยางในน้ำยางธรรมชาติ โดยหาค่าความถ่วงจำเพาะด้วยวิธี platform scale method เปรียบเทียบกับการหาปริมาณเนื้อยางในน้ำยางธรรมชาติ ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 16 ชั่วโมง พบว่าค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยางมีความสัมพันธ์เชิงเอ็กซ์โพเนนเชียลกับปริมาณ DRC และมีค่า R2 เท่ากับ0.99 ใช้เวลาในการวัดตัวอย่างละ 10 นาที วิธีวัดความถ่วงจำเพาะนี้สามารถใช้ตรวจสอบการปลอมปนด้วยการผสมแป้งมันลงในน้ำยางสดเพื่อให้มีน้ำหนักสูงขึ้นได้ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมดำเนินการต่อยอดความสัมพันธ์ที่ได้เป็นต้นแบบเครื่องวัดปริมาณ DRC เพื่อให้เกษตรกรไทยได้ใช้เครื่องวัดที่มีความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและมีราคาย่อมเยาต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยางสดในการหาเปอร์เซ็นต์ยางแห้ง ในน้ำยางสด
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การทดสอบและพัฒนาการใช้ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ยางแห้งในน้ำยางสด โดยใช้วิธีวัดความถ่วงจำเพาะและต้นแบบเครื่องวัดความชื้นในเนื้อยาง โดยใช้ค่าทางไฟฟ้า การศึกษาการใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยางสดในการหาเปอร์เซ็นต์ยางแห้งในน้ำยางสด การศึกษาทดสอบและพัฒนาต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ยางแห้งในน้ำยางสด โดยใช้วิธีวัดความถ่วงจำเพาะ การผลิตยางธรรมชาติอิพอกไซด์จากน้ำยางสด การศึกษาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราในเขตจังหวัดเลย อิทธิพลของวิธีการเตรียมแผ่นฟิล์มต่อปริมาณโปรตีนละลายน้ำได้ในน้ำยางสดและน้ำยางข้น แนวทางในการตัดสินใจของเกษตรกรในการขายยางแผ่นดิบและน้ำยางสด การทำตุ๊กตายางจากน้ำยางสดโดยวิธีการหล่อเบ้าพิมพ์ การใช้เอนไซม์ในการลดโปรตีนในน้ำยางเพื่อการผลิตยางแท่ง การใช้สารเคมีรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อลดปริมาณไนโตรซามีนในยาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก