สืบค้นงานวิจัย
ผลของไคโตซานต่อคุณภาพหลังเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาของ หน่อไม้ฝรั่ง
มยุรี กระจายกลาง - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: ผลของไคโตซานต่อคุณภาพหลังเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาของ หน่อไม้ฝรั่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Chitosan on Postharvest Quality and Storage Life of Asparagus Spears (Asparagus officinalis L.).
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มยุรี กระจายกลาง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำตาลและแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณมาก แต่ใน ปัจจุบันมีการนำไปใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งประเกท เส้นใยที่มีการย่อยได้ต่ำและมีปริมาณโปรตีนต่ำ โดยอาศัยข้อดีของกระบวนการหมักแบบสภาพอาหาร แข็ง ที่สามารถปรับปรุงปริมาณโปรตีนและเยื่อใยในวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้ดี ทำให้งานวิจัยนี้จึง พัฒนากระบวนการเปลี่ยนเชิงชีวภาพของชานอ้อยโดยอาศัยราที่สามารถผลิตเอ็นไซม์เซลลูเลสได้ดี Aspergillus niger BC1 ให้ผลิตภัณฑ์ชานอ้อยหมักเพื่อใช้ทดแทนอาหารสัตว์สำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไก่ เนื้อ การทดลองถูกออกแบบเพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมในการทดแทนที่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อ ประสิทธิภาพการผลิตไก่และไม่ก่อให้เกิดการตายของไก่ ทั้งนี้เป็นที่คาดหวังว่าการใช้ชานอ้อยหมัก ทดแทนดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไก่ในส่วนของค่าใช้จ่ายอาหารไก่ ซึ่งโดยทั่วไปจัดเป็นต้นทุน หลักในการผลิตไก่ ในการทดลองนี้ใช้ไก่เนื้อทั้งหมด 96 ตัวที่มีอายุ 8 วันเพื่อนำมาจัดกลุ่มการทดลอง ออกเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับอาหารที่มีสัดส่วนของชานอ้อยหมักทดแทนแตกต่างกันที่ร้อยละ 0 (กลุ่มควบคุม), 5, 10 และ 20 โดยน้ำหนัก เมื่อทำการเลี้ยงจนกระทั่งไก่มีอายุ 35 วัน (พร้อมจำหน่าย) พบว่าไก่สามารถใช้อาหารชานอ้อยหมักทดแทนได้ในระดับร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก โดยให้น้ำหนักตัวที่ เพิ่มขึ้นมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นอกจากนั้นยังไม่พบการตาย เจ็บป่วยจากการเกิดโรค หรืออันตรายที่มี ผลต่อสุขภาพของไก่ในระหว่างช่วงของการทดลองให้อาหารทดแทนเป็นเวลา 27 วัน ดังนั้นงานวิจัยจึง ให้ข้อมูลเบื้องต้นที่มีความสำคัญสำหรับความเป็นไปได้ในการใช้ชานอ้อยหมักเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการทดแทนอาหารสำหรับเลี้ยงไก่เนื้อ
บทคัดย่อ (EN): Sugarcane bagasse is produced in a large amount from sugar and alcohol industries. However, this fibrous waste is currently under-utilized as potential animal feed sources, because of its low digestibility, low protein content, and bulkiness. Due to the feasibility and advantages of solid state fermentation in protein and fiber upgrading of agricultural wastes, the present study has been proposed as a means of bioconversion of sugarcane bagasse, by a cellulase producing fungal, Aspergillus niger BC19 for broiler feeding supplementation. The experiments were designed to find out the maximal proportion of the fermented sugarcane bagasse (FSB) in broiler rations to avoid deleterious effect on production performance and mortality rate, meanwhile develop broiler feedstuff at lower cost. A total of 96 eight-day-old broiler chicks were fed on four experimental diets which FSB was supplemented to the commercial diet at 0, 5, 10 and 20% (w/w). The FSB could be supplemented beneficially up to 10% level with higher body weight gain (P0.05) in feed conversion ratio as compared to the control commercial feed. There was no mortality, no disease and danger affecting the health of broilers throughout the 27-day feeding trial. Since this experiment was conducted as a preliminary study of the feasibility of feeding broilers with FSB supplementation, the results of the study suggested that FSB can be an alternative economical contribution to broiler feeding.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของไคโตซานต่อคุณภาพหลังเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาของ หน่อไม้ฝรั่ง
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2552
ผลของกัมอารบิกที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียนหลงลับแลเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ ผลของไคโตซานและไทอะมีโทแซมต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ ผลของสารล้างผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะนาว ผลของการประยุกต์ใช้น้ำแข็งดัดแปลงต่ออายุการเก็บรักษาปลาน้ำจืด ผลของไคโตซานความเข้มข้นต่ำต่อคุณภาพการเก็บรักษาชมพู่ พันธุ์ทองสามสี ผลของโอโซนต่ออายุการเก็บรักษาลำไย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องเพาะงอกผสมและทดสอบอายุการเก็บรักษา คุณภาพและระยะเวลาการเก็บรักษาไข่แดงเค็มอบพร้อมปรุง ผลของอุณหภูมิการเก็บรักษาต่อการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่น ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก