สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางแผ่นคุณภาพดีของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยางในจังหวัดปัตตานี
นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางแผ่นคุณภาพดีของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยางในจังหวัดปัตตานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางแผ่นคุณภาพดีของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น และขายยางในจังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ และคำแนะนำส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ต่อสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยาง ในการตัดสินใจทำยางแผ่นคุณภาพดี และเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยาง รวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่า T-test ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เกษตรกรมากว่าครึ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 67.0 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 36.0 แต่งงานและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 89.0 จบประถมศึกษาร้อยละ 64.0 มีสมาชิกในครัวเรือนมากกว่า 5 คน ร้อยละ 29.0 อาชีพหลักทำสวนยางพารา ร้อยละ 95.0 สมัครเข้ากลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 51.0 รายได้สุทธิของครัวเรือนในรอบปี 50,000-80,000 บาท ร้อยละ 28.0 เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว 10,000-30,000 บาท ร้อยละ 51.0 มีที่ดินถือครอง 10-20 ไร่ ร้อยละ 53.0 ความรู้ในการทำยางแผ่นคุณภาพดี อยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติในการตัดสินใจ ผลิตยางแผ่นคุณภาพดี ในระดับปานกลางค่อนข้างดี แรงจูงใจในการตัดสินใจผลิตยางแผ่นในระดับปานกลาง และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นคือ การผูกขาดการซื้อขายของพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น ร้อยละ 38.0 การขาดความรู้เกี่ยวกับการบัญชีและการเงินและบริหารกลุ่ม ร้อยละ 26.0 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางแผ่นคุณภาพดีของเกษตรกร คือ ความรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ รหัสเก่า ทะเบียนวิชาการเลขที่ 22-42-2-31-43-2 รหัสใหม่ ทะเบียนวิชาการเลขที่ 43-006022-02-031 เรื่อง การยอมรับการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลือง โดยวิธีผสมผสานของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อผู้แต่ง นายสุรพล เจียมตน ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2542 บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร ศึกษาการยอมรับและปัญหาอุปสรรคในการป้องกันกำจัดศัตรูถั่วเหลืองโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลืองโดยวิธี ผสมผสานในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 173 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Sample Random Sampling) ได้ตัวอย่างจำนวน 88 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เกษตรกรตามแบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 48.81 ปี การศึกษาส่วนใหญ่จบชั้นประถมปีที่ 4 ถึงชั้นประถมปีที่ 7 หรือเทียบเท่า มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.83 คน มีจำนวนแรงงานทำการเกษตรเฉลี่ย 2.26 คน มีการจ้างแรงงานเพื่อทำการเกษตรเฉพาะฤดูกาลเฉลี่ย 13.91 คนใช้อัตราค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 102.84 บาทต่อคนต่อวัน มีขนาดของพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 15.51 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกถั่วเหลืองมาแล้วเฉลี่ย 14.30ปี การใช้สารเคมีมีการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงส่วนใหญ่เฉลี่ย 2.70 ครั้งต่อฤดูปลูกมีขนาดพื้นที่ถั่วเหลืองเฉลี่ย 6.53 ไร่ ได้ผลผลิตถั่วเหลืองเฉลี่ย 208.19 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ต้นทุนเฉลี่ย 1,608.22 บาทต่อไร่ แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ กู้มาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีรายได้ส่วนใหญ่จากการเกษตร โดยมีรายได้จากการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 13,090.16 บาทต่อปี/ฤดู ได้กำไรจากการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 386.33 บาทต่อไร่ และมีรายได้รวมทั้งหมดของครอบครัวเฉลี่ย 52,355.09 บาทต่อครัวเรือนต่อปี อาชีพนอกจากภาคการเกษตรส่วนใหญ่คืออาชีพรับจ้างทั่วไป ได้รับการฝึกอบรมด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูถัวเหลืองเฉลี่ย 2.82 ครั้งต่อปี การติดต่อปรึกษาหารือและรับฟังเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลือง จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ญาติหรือเกษตรกรและโปสเตอร์โดยมีการปรึกษาหารือเจ้าหน้าที่และเกษตรโดยเฉลี่ย 3.45 ครั้งต่อฤดูปลูก จากการศึกษาการยอมรับการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลือง โดยวิธีผสมผสานใน 6 ประเด็น คือ การยอมรับโดยการปฏิบัติตามหลักการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลือง โดยวิธี ผสมผสาน การยอมรับการปฏิบัติในระยะก่อนปลูกถึงปลูก ในระยะต้นอ่อน ในระยะเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ในระยะการเจริญเติบโตทางดอกและติดฝัก และในระยะฝักแก่ถึงเก็บเกี่ยวเกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการ แต่เมื่อนำมาวัดระดับการยอมรับโดยการให้คะแนนและแบ่งระดับการยอมรับเป็น 3 ระดับ คือ การยอมรับน้อย การยอมรับปานกลาง และการยอมรับมาก พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่(ร้อยละ 59.1)มีการยอมรับในระดับปานกลาง ปัญหาอุปสรรคในการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลือง โดยวิธีผสมผสานส่วนใหญ่คือการขาดวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลืองโดยวิธีผสมผสานเช่น ขาดวัสดุในการสะกัดสารธรรมชาติ ขาดตัวห้ำ ตัวเบียน และมีปัญหาขาดความรู้ในการทำสารสะกัดจากธรรมชาติ ที่จำเป็นต้องใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูถั่วเหลืองโดยวิธีผสมผสาน
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545-11-15
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางแผ่นคุณภาพดีของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยางในจังหวัดปัตตานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
15 พฤศจิกายน 2545
ศึกษาสมบัติทางเทคนิคยางแผ่นดิบคุณภาพชั้นต่าง ๆ จากตลาดกลางยางพารา หาดใหญ่ การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยาง ของจังหวัดพังงา ระบบควบคุมคุณภาพยางแผ่นรมควัน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกกาแฟบนที่สูง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกร อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกอ้อยของเกษตรกร อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ภาพของยางแผ่นผึ่งแห้งคุณสมบัติทางกายภาพของยางแผ่นผึ่งแห้ง การประเมินศักยภาพการเจริญเติบโตและผลผลิตของยางพาราและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราในพื้นที่นาร้าง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพผลผลิตมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดตรัง โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจลงทุนการผลิตและสินค้าเกษตร ของผู้ประกอบการ SMEs ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กรณีศึกษา กลุ่มการผลิตและการค้าสินค้าเกษตร (ยางพารา) จังหวัดนค

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก