สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสดในการทำนาหว่านแห้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 และความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โสฬส แซ่ลิ้ม - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสดในการทำนาหว่านแห้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 และความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Study on rates of high organic fertilizer and green manure crops in sow dry seedling paddy for increasing yield Jasmine rice and soil ferlitily in Northeastern
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โสฬส แซ่ลิ้ม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสดในการทำนาหว่านแห้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 และความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการในพื้นที่สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จุดพิกัดที่ 48P 0372532 E 1720094 N ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ทำการทดลองในกลุ่มชุดดินที่ 7 ชุดดินท่าตูม โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 14 ตำรับทดลอง คือ ตำรับที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ปลูกพืชปุ๋ยสด ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง) ตำรับที่ 2 ปุ๋ยเคมีตามกรมการข้าวแนะนำ (ใส่ปุ๋ยเคมี 16 – 8 – 8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวงอก 7 วัน และปุ๋ยเคมี 46 – 0 – 0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงเวลา 30 วันก่อนข้าวออกดอก ) ตำรับที่ 3 ถั่วพร้าอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 4 ถั่วพุ่มอัตรา 8 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 5 ถั่วพร้าและปุ๋ยเคมีตามกรมการข้าวแนะนำ ตำรับที่ 6 ถั่วพุ่มและปุ๋ยเคมีตามกรมการข้าวแนะนำ ตำรับที่ 7 ถั่วพร้าและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 17.50 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 8 ถั่วพร้าและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 9 ถั่วพร้าและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่10 ถั่วพร้าและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 105 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่11 ถั่วพุ่มและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 17.50 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่12 ถั่วพุ่มและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่13 ถั่วพุ่มและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่14 ถั่วพุ่มและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 105 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองทั้ง 2 ปี พบว่า การปลูกถั่วพุ่มและใส่ปุ๋ยเคมีตามกรมการข้าวแนะนำ มีผลทำให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิสูงสุดทั้ง 2 ปี คือ 387 และ 399 กิโลกรัมต่อไร่ แต่การใส่ปุ๋ยเคมีตามกรมการข้าวแนะนำ ให้ผลตอบแทนทางเศณษฐกิจสูงสุดทั้ง 2 ปี คือ 1,779 และ 1,766 บาทต่อไร่ ส่วนการปลูกถั่วพุ่มและใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 105 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิมากกว่า การปลูกถั่วพร้าหรือถั่วพุ่มและใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตราต่างๆ คือ 376 และ 392 กิโลกรัมต่อไร่ แต่การปลูกถั่วพุ่มและใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่าทั้ง 2 ปี คือ 1,283 และ 1,439 บาทต่อไร่ ส่วนการปลูกถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ใส่ปุ๋ยเคมี การปลูกถั่วพร้าหรือถั่วพุ่มและใส่ปุ๋ยเคมี และการปลูกถั่วพร้าหรือถั่วพุ่มและใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีผลทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นจาก 2.20 เป็น 4.00 – 5.87 กรัมต่อกิโลกรัม แต่อยู่ในระดับต่ำมากถึงต่ำ
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสดในการทำนาหว่านแห้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 และความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29 การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับพืชปุ๋ยสดและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในระบบปลูกพืชถั่วเขียว ; ข้าวโพดหวาน กลุ่มชุดดินที่ 35 การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การใช้ข้อมูล RADARSAT-1 SAR (standard mode) เพื่อทำแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ต่างชนิดต่อผลผลิตข้าวนอกนา อัตราปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตของผักกาดหอม ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตลองกอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก