สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนในภาคใต้: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นเมืองให้บริสุทธิ์
สำเริง แซ่ตัน - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนในภาคใต้: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นเมืองให้บริสุทธิ์
ชื่อเรื่อง (EN): Rainfed lowland rice breeding project in southern region: Purification and improvement of local non-glutinous rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำเริง แซ่ตัน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somreang Saeton
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การปลูกข้าวในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อาศัยน้ำฝน เกษตรกรยังนิยมปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ผสม เนื่องจากเกษตรกรที่ทำนาจะปลูกข้าวไว้เพื่อบริโภคส่วนหนึ่ง และบางส่วนจำหน่าย จึงมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่หลากหลาย พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูกติดต่อกันมายาวนาน มีการปะปนพันธุ์ทำให้เกษตรกรใช้พันธุ์ที่ไม่บริสุทธิ์ โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ประการหนึ่ง เพื่อพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรนิยมปลูกให้มีความบริสุทธิ์ของพันธุ์ ให้ได้ผลผลิตสูงมีคุณภาพ การดำเนินงานในช่วงปี 2553-2555 ได้ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้บริสุทธิ์ การประเมินผลผลิต ศึกษาคุณภาพเมล็ด ทดสอบปฏิกิริยาของสายพันธุ์ข้าวต่อโรคสำคัญ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี และศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ผลการทดลอง ได้คัดเลือกพันธุ์พื้นเมืองบริสุทธิ์ จำนวน 71 สายพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี จำนวน 19 สายพันธุ์ พบว่าพันธุ์ช่อจังหวัดให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 436 กิโลกรัม/ไร่ และเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จำนวน 6 สายพันธุ์ พบว่าพันธุ์ยาไทร ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 511 กิโลกรัมต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): Purification and improvement of local non-glutinous rice is a sub-project under the Rainfed Lowland Rice Breeding in Southern Region aim s to improve local rice varieties with high yielding potential and specific good grain qualities for niche markets. The experiment s were conducted by using randomized complete block design with four replications. Inter-station yield trials were located in Phatthalung, Nakhon Si Thammarat, Pattani and Krabi rice research centers during 2010-2012. Regional yield trials were experimented in Phatthalung, Nakhon Si Thammarat and Songkla during 2011-2012 wet season. The results from the intra-station yield trials showed the average yield of Chaw Jangwat higher than Chiang Phatthalung by 21 percent and in regional yield trial, Yah Sai gave the highest average yield.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328782
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนในภาคใต้: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นเมืองให้บริสุทธิ์
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ถูกใจเกษตรกร การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่างและตะวันตก โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวนาขั้นบันไดในพื้นที่จังหวัดน่าน โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝน การพัฒนาพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดเพื่อบริโภคผลสด โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนบน ปี 2551-2553

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก