สืบค้นงานวิจัย
การประเมินสมรรถนะการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3
บุญฤทธิ์ สินค้างาม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การประเมินสมรรถนะการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation of Combining Ability Waxy Corn S3 Generation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญฤทธิ์ สินค้างาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Bunyarit Sinkangam
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประเมินสมรรถนะการผสมข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีศักยภาพเพื่อการพัฒนาพันธุ์ลูกผสม โดยการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถภาพการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3 ทุกลักษณะสำคัญทางการเกษตรเพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสมที่ดีและมีประสิทธิภาพใน จ.พะเยา จากสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 3 จำนวน 7 สายพันธุ์ (UPW 1,2,3,4,5,6 และ 7) ผสมแบบพบกันหมดตามวิธีของ Griffing’s method IV ได้ลูกผสมจำนวน 21 คู่ผสม โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ที่แปลงปฏิบัติการคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2555 พบว่าสายพันธุ์ UPW5 ให้ค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปทั้งผลผลิตทั้งเปลือกและผลผลิตปอกเปลือกสูงที่สุดขณะที่ลักษณะทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ น้ำหนักฝักมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ shelling เปอร์เซ็นต์การตัดผ่าน เปอร์เซ็นต์อะมิโลแพคติน ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด ปริมาณน้ำตาล non-reducing ลักษณะต้นและลักษณะฝัก โดยสายพันธุ์ที่ให้ค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปดีที่สุดคือ UPW7, UPW7, UPW5, UPW6, UPW1, UPW1, UPW7, และ UPW6 ตามลำดับ ขณะที่ลักษณะการรวมตัวเฉพาะคู่ผสมที่ให้ค่าผลผลิตทั้งเปลือกสูงที่สุดคือ UPW2 x UPW4 เท่ากับ 2,127 กก./ไร่ ผลผลิตปอกเปลือกคือ UPW5 x UPW6 เท่ากับ 1,523 กก./ไร่สำหรับลักษณะคุณภาพในการบริโภคประกอบด้วย ความชอบความนุ่มและความหนาของ pericarp พบว่าคู่ผสม UPW1 x UPW5, UPW4 x UPW7 และ UPW1 x UPW5 (4.1, 4.3 and 1.5) มีค่าดีที่สุดเท่ากับ 4.1 4.3 และ 1.5 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Evaluation of combining ability of waxy corn inbred lines is an important procedure in hybrid development. The objective of this study was aimed to evaluate combining ability of waxy corn inbred lines of several agronomic characters in good hybrid adaptability in Phayao. Sever S3 generation (UPW 1,2,3,4,5,6 and 7) were crossed using model Griffing’s method IV and 21 hybrids were performed in a randomized complete block design with four replications at the Experimental Farm of the Faculty of Agriculture and Natural Resources, University of Phayao in dry season 2012. Combining ability evaluation, UPW5 was expressed with the best combination of best combination of GCA effects for green weight and also white. In the others agronomic characters namely standard ear weight, shelling percentage, cutting percentage, amylopectin percentage, total sugar, non-reducing sugar, plant aspect and ear aspect were shown the superior in UPW7, UPW7, UPW5, UPW6, UPW1, UPW1, UPW7, and UPW6, respectively. Furthermore, the SCA results showed that the best breen weight was crossed of UPW2 x UPW4 that gave 2,127 kg/rai and white weight was UPW5 x UPW6 (1,523 kg/rai). Most important, the eating quality containing with flavor, tenderness and pericarp thickness was found in UPW1 x UPW5, UPW4 x UPW7 and UPW1 x UPW5 (4.1, 4.3 and 1.5), respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินสมรรถนะการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3
กรมวิชาการเกษตร
2556
เอกสารแนบ 1
การทดสอบสมรรถนะการผสมเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่มีศักยภาพการผลิตในจังหวัดพะเยา การพัฒนาสายพันธุ์เพศผู้เป็นหมันของข้าวโดยวิธีการผสมกลับและทดสอบสมรรถนะการผสม การประเมินความทนทานต่อความแห้งแล้งของประชากรข้าวผสมกลับสุรินทร์1 การคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดหวานลูกผสมด้วยค่าประเมินสมรรถนะการผสมของสายพันธุ์แท้ การตอบสนองของข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีเด่น CNW 4901 ต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจนบนดินเหนียวชุดราชบุรีในเขตชลประทานภาคกลาง การทดสอบสมรรถนะการผสมเพื่อการคัดเลือกเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดจากพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมทางการค้า การประเมินเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวโดยการเปรียบเทียบ วิธีการคัดเลือกในพื้นที่จังหวัดพะเยา การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวในการปลูกแบบอินทรีย์ สมรรถนะในการผสมและการปรับปรุงประชากรสวีทเมล่อนจากการผสมข้ามแบบพบกันหมด การปรับปรุงพันธุ์สังเคราะห์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่มีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก