สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทย กรณีศึกษา ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล (12 พ.ย. 2557)
ัสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทย กรณีศึกษา ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล (12 พ.ย. 2557)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ัสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัจจุบัน กระแสนิยมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการตอบสนองความต้องการดังกล่าว ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสมุนไพร ที่สำคัญ โดยวัตถุดิบสมุนไพรสามารถนำมาแปรรูปเบื้องต้นเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และเป็นที่ต้องการ ของตลาด ทั้งในรูปของยารักษาโรค อาหารเสริม เครื่องสำอาง ขากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น สมุนไพรไทยจึง มีโอกาสในการพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การผลิต การตลาดและการแปรรูปของ สมุนไพร 4 ชนิด คือ ว่านทางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล รวมทั้งศึกษาดันทุนและ ผลตอบแทนจากการผลิต มูลค่าเพิ่มจากการแปรรูป ต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ประกอบการ รวมถึง วิถีตลาดและส่วนเหลื่อมตลาด วิเคราะห์ในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยได้ข้อมูลจากการสำรวจเกษตรกร และผู้ประกอบการ ในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญรวม 150 ราย ผลจากการศึกษา พบว่า ในด้านการผลิต ว่านหางจระเข้ สามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากที่สุด 9,834 กิโลกรัม รองลงมาคือ ตะไคร้หอม ไพล ( อายุ 2ปี) และฟ้าทะลายโจร โดยเกษตรกรจะเสียต้นทุน จากการปลูกไพล ( อายุ 2 ปี) มากที่สุด เฉลี่ยไร่ละ 24,099 บาท รองลงมาคือตะไคร้หอม ว่านหางจระเข้ และฟ้าทะลายโจร ซึ่งไพล ( อายุ 2ปี) สามารถสร้างกำไรสุทธิให้แก่เกษตรกรได้มากที่สุด เฉลี่ยไร่ละ 14,008 บาท รองลงมาคือ ว่านทางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร และตะไคร้หอม ด้านการแปรรูป ลูกเต๋าว่านหางจระเข้บรรจุกระป้อง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ ได้มากที่สุดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.02 บาท ส่วนฟ้าทะลายโจรแห้ง น้ำมันตะไคร้หอม และไพลผง สามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18. 58 1.79 บาท และ 20 50 บาท ตามสำดับ ด้านการตลาด พบว่า ลูกเตี๋าว่านหางจระเข้บรรจุกระป้อง มีส่วนเหลื่อมการตลาคระหว่างเกษตรกร และผู้ประกอบการค้ามากที่สุด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.59 บาท รวมทั้งมีต้นทุนการตลาด และสร้างกำไร ให้แก่ผู้ประกอบการค้าได้มากที่สุดเช่นกัน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.23 และ 12.36 บาท ตามลำดับ ส่วนฟ้าทะลายโจรผง น้ำมันตะไคร้หอม และน้ำมันหอมระเหขจากไพร มีต้นทุนการตลาดเฉลี่ย กิโลกรัมละ 18 470 และ 196. 4 บาทตามลำดับ และสร้างกำไรให้แก่ผู้ประกอบการค้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.23 1,022 และ 840.45 บาท ตามลำดับ จากการศึกษา พบปัญหาด้านการผลิตที่ยังขาดการจัดระบบการผลิตดีที่เหมาะสม ( ขาดการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ และปัญหาที่เกิดจากโรครากเน่า ส่วนด้านการแปรรูปบางแหล่งผลิตยัง GAP) ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการนำทคโนโล่ยีใหม่ๆมาใช้ในการผลิต ด้านการตลาด พบปัญหาเรื่อง ขาคแคลน ตลาดรับซื้อผลผลิต ตลาดมีความต้องการไม่แน่นอน มีการกำหนดโควตาในการรับซื้อผลผลิต ดังนั้น รัฐบาลกวรดำเนินน โขบายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยจัดทำระบบการผลิตที่เหมาะสม (GAP) พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ และให้การรับรองGAP จัดทำระบบ Contract Farming เร่งรัดการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ ในด้านการแปรรูป ให้การสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติในการแปรรูป ( GMP)รวมทั้งถ่ายทอดและ ให้การรับรอง GMP จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้แก่กลุ่มเกษตรกร ในด้าน การตลาด ควรสนับสนุนการสร้างเสริมประสิทธิภาพการตลาด โดยวิจัยตลาดถึงความต้องการ ของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดให้แก่กลุ่มเกษตรกร รวมถึงการประชาสัมพันธ์/จัดงานแสดงสินค้าเพื่อขยายฐานตลาดให้เพิ่มมากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/Aloe_Creat_lavender_Ginger49.PDF
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี นครปฐม สระแก้ว นครปฐม เพชรบุรี กาญจนบุร
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2548/49
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทย กรณีศึกษา ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล (12 พ.ย. 2557)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การวิจัยวิธีการเขตกรรมเพื่อพัฒนาผลผลิตและคุณภาพของไพล โครงการวิจัยศึกษาการผลิตฟ้าทะลายโจร การพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูจากว่านหางจระเข้สด โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลที่มีคุณภาพ การเพิ่มมูลค่าของฟ้าทะลายโจรเพื่อเสริมภูมิต้านทานโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนู ผลของสารสกัดไพลมาตรฐานต่อการต้านการอักเสบและยับยั้งการหดตัวของหลอดลมหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยฮิสตะมีน ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 23 เรื่อง สถานการณ์โรคธาลัสซีเมียในจังหวัดเชียงรายประจำปี 2557 ผลของยาไพลในการยับยั้งปฏิกิริยารอยนูนแดงของสารฮิสตะมีนและสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังของผู้ป่วยโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้ ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 23 เรื่อง การสำรวจภาวะสุขภาพของบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประจำปี 2557

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก