สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกแบคทีเรียจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลิตเอทานอล
ธณิกานต์ ธรสินธุ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกแบคทีเรียจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลิตเอทานอล
ชื่อเรื่อง (EN): Screening Bacteria from Various Source for Ethanol Production
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธณิกานต์ ธรสินธุ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอทานอลจากแหล่งน้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งหมด 146 ตัวอย่าง พบเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอทานอลทั้งหมด 105 ไอโซเลต แบ่งเป็นแบคทีเรีย 86 ไอโซเลต และยีสต์ 19 ไอโซเลต จุลินทรีย์มีประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลได้แตกต่างกัน แบคทีเรียที่ผลิตเอทานอล 0.203 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) สามารถจัดจำแนกได้เป็น Leuconostoc mesenteroides ssp. mesenteroides และ Micrococcus luteus ATCC9341 ผลิตเอทานอล 0.003 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) ยีสต์ผลิตเอทานอลได้สูงที่สุด 1.021 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) เมื่อศึกษาสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และการจัดจำแนกระดับโมเลกุล สามารถจัดจำแนกได้เป็น Kloeckera apis ซึ่งสามารถเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และผลิตเอทานอลสูงที่สุดภายใน 12 ชั่วโมง เท่ากับ 1.07 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) K. apis SCSO0824 สามารถเจริญเติบโตเกิดการหมักที่อุณหภูมิ 32, 37, 40 และ 42 องศาเซลเซียส แต่ไม่สามารถเจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส และสามารถเจริญเติบโตได้ในอาหารที่มีแป้งและเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ K. apis SCSO0824 เกิดการหมักน้ำตาลหลายชนิดได้แก่ D-glucose, Fructose, D-mannose, Cellobiose, Dextrose และ Maltose ส่วนอาหารที่เติมกรดอะซิติก 0.5 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) (ค่าพีเอช 4.11) มีการเจริญเติบโตและผลิตเอทานอลต่ำกว่าอาหารที่ไม่เติมกรดอะซิติก (ค่าพีเอช 6.30) ผลของกรดอะซิติก 0.5 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ K. apis SCSO0824 ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะผลิตเอทานอลสูงสุดได้ 0.79 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) ในชั่วโมงที่ 72 อย่างไรก็ตามกรดอะซิติก 1.0 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรโดยปริมาตร) (ค่าพีเอช 3.80) สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ K. apis SCSO0824 ได้อย่างสมบูรณ์ คำสำคัญ: การคัดเลือก จุลินทรีย์ การผลิตเอทานอล
บทคัดย่อ (EN): Screening of microorganisms strains, with efficiency of producing ethanol, was collected from 145 samples including various sugar sources. 105 isolates produced ethanol including 86 bacteria isolates and 19 yeast isolates. The level of ethanol produced varies from culture to culture. Bacteria that produced ethanol concentration was identified as Leuconostoc mesenteroides ssp. mesenteroides (0.203 % v/v) and Micrococcus luteus ATCC9341 (0.003 % v/v). The maximum ethanol concentration obtained from yeast (SCSO0824) was 1.021 % v/v. Based on morphological, physiological and molecular studies, this strain was identified as Kloeckera apis. It was found to rapidly grow and produce ethanol within 12 h of fermentation and showed highest ethanol concentration 1.07 % v/v. Kloeckera apis SCSO0824 was able to grow at 32 ?C, 37?C, 40?C and 42?C. However, no growth was observed at 45?C. It grew in medium that including starchy and cellulosic component. In addition, K. apis SCSO0824 fermented various sugar sources such as D-glucose, Fructose, D-mannose, Cellobiose, Dextrose and Maltose. In medium added 0.5 % v/v acetic acid (pH 4.11) it grew with lower rate and provided lower ethanol concentration than in medium without adding acetic acid (pH 6.30). The effect of acetic acid (0.5 % v/v) inhibited growth within 48 h of fermentation. After that, it produced highest ethanol concentration 0.79 % v/v for 72 h. However, Kloeckera apis SCSO0824 was completely inhibited by 1.0 % v/v acetic acid (pH 3.80). Keyword: Screening, Microorganisms, Ethanol production
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกแบคทีเรียจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลิตเอทานอล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2551
การพัฒนากระบวนการผลิตเอทานอลจากของเสียเศษอาหารโดยหมักร่วมยีสต์และแบคทีเรียภายใต้สภาวะไม่ฆ่าเชื้อ การศึกษาศักยภาพการผลิตเอทานอลจากมันเทศ การคัดเลือกแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์กลูตามิเนสจากกุ้งส้มและการผลิตกุ้งส้มโดยใช้กล้าเชื้อที่คัดเลือกได้ การคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์สำหรับผลิตเอทานอลในสภาวะอะไบโอติก การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์ไลเปสจากดินในเขตพื้นที่อุบลรัตน์เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตไบโอดีเซล การบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตเอทานอลจากแป้งมันสำปะหลังด้วยระบบไม่ใช้อากาศแบบลูกผสม การผลิตเอทานอลจากเจลแป้งที่เสียจากกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียในการควบคุมโรคผลเน่าที่เกิดจากแบคทีเรียของเมลอน การผลิตไฮโดรเจนจากของเสียกลีเซอรอลโดยแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากแหล่งต่างๆ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก