สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการหมักร่วมระหว่างวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรกับสาหร่ายและการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพด้วยสาหร่าย
กมลดารา เหรียญสุวรรณ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการหมักร่วมระหว่างวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรกับสาหร่ายและการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพด้วยสาหร่าย
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Co-digestion System from Agricultural waste with Algae and Study of biogas purification using Algae
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กมลดารา เหรียญสุวรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาการหมักร่วมระหว่างวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรกับสาหร่ายและการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพด้วยสาหร่าย จากการศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมหญ้าและสาหร่าย ในถังหมักขนาด 20 ลิตร ทำการเลี้ยงที่อุณหภูมิ 35?2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน พบว่ามีปริมาณก๊าซมีเทน ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ สูงสุดคือ 4.2 ลิตร/ลิตรสารตั้งต้น, 3.7 ลิตร/ลิตรสารตั้งต้น, 1.5 ลิตร/ลิตรสารตั้งต้นและ1.9 ลิตร/ลิตรสารตั้งต้นตามลำดับ ผลการศึกษาสภาวะการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Chlorella sp. พบว่า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายที่สภาวะMixotrophic จะมีการเจริญของเซลล์สาหร่ายสูงกว่าที่เลี้ยงภายใต้สภาวะ Autotrophic และ Heterotrophic คือ7.77 ?106 เซลล์ต่อมิลลิลิตร, 6.67?106 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และ 7.18?106 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ โดยสาหร่ายที่เลี้ยงในสภาวะ Mixotrophic และ Heterotrophic เข้าสู่ระยะคงที่ในวันที่ 12 ส่วนการเลี้ยงในสภาวะ Autotrophicเข้าสู่ระยะคงที่ในวันที่ 15 ของการเลี้ยง ผลการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพโดยการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Chlorella sp. พบว่าสามารถลดองค์ประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 22.0-38.4 และลดองค์ประกอบของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ ได้ร้อยละ 100 และสามารถเพิ่มองค์ประกอบของก๊าซมีเทนสูงสุดร้อยละ13.6
บทคัดย่อ (EN): This study was conducted to show the co-digastion from agricultural waste with algae and the biogas purification using algae. The co-digastion from agricultural waste with algae was studied in a 20 L bioreactor at temperature of 35?2 oC. The results of the study operated at 30 day showed that the highest values of CH4, H2, CO2 and H2S were 4.2 L(CH4)/Lmedium, 3.7 L(H2)/Lmedium, 1.5 L(CO2)/L medium and 1.9 L(H2S)/L medium respectively. The optimum condition for Chlorella sp. cultivated under autotrophic heterotrophic and mixotrophic conditions was studied. It was found that the growth of Chlorella sp. under mixotrophic condition was higher than that of autotrophic and heterotrophic conditions. The maximum yield of Chlorella sp. were 7.77 ?106 cell/ml, 6.67?106cell/ml and 7.18?106cell/ml in mixotrophic heterotrophic and autotrophic conditions respectively. The biogas purification using algae was studied. The reductions of CO2 and H2S in the resulting biogas were 22.0-38.4% and 100 % respectively. Moreover, 13.6 % increase in CH4 of the biogas product was obtained.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: วิทยาลัยพลังงานทดแทน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-58-079
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-58-079.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการหมักร่วมระหว่างวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรกับสาหร่ายและการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพด้วยสาหร่าย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2558
เอกสารแนบ 1
การวิจัยและพัฒนาการหมักปุ๋ยจากวัสดุเหลือทิ้งในสวนปาล์มน้ำมัน พฤติกรรมและความต้องการของตลาดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเศษวัสดุเหลือ ทิ้งทางการเกษตร ศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในสภาพไร้อากาศแบบแห้ง การพัฒนากระบวนการผลิตไบโอเอทานอลจากวัสดุเหลือทิ้งไร่ข้าวโพด โดยการหมักแบบแยกกระบวนการผลิต การเพาะเลี้ยงสาหร่ายNostoc commune เพื่อเป็นอาหารปลอดภัยโดยระบบอัจฉริยะ แผ่นยางปูพื้นจากวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การผลิตเอนไซม์ย่อยสลายลิกโนเซลลูโลสโดยแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเพื่อย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การพัฒนาพลังงานจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ พืชอาศัย การแพร่กระจายและความหลากหลายของสาหร่ายปรสิตพืช Cephaleuros Kunze ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ฟิล์มวัสดุประกอบชีวภาพเพาะต้นกล้าจากเปลือกข้าวโพด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก