สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วเพื่อการดอง
ภคินี อัครเวสะพงศ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วเพื่อการดอง
ชื่อเรื่อง (EN): Harvesting Index of Kaew Mango for Picking
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภคินี อัครเวสะพงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pakinee Akkaravessapong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: มะม่วงแก้ว
บทคัดย่อ: ได้ศึกษาอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของมะม่วงแก้วสายพันธุ์ ศก. 007 และ ศก. 002 เพื่อทำมะม่วงดองในปี พ.ศ. 2530 และ 2531 ตามลำดับ ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ โดยใช้มะม่วงแก้ว ศก. 007 ที่อายุเก็บเกี่ยว 11, 12, 13 และ 14 สัปดาห์ และมะม่วงแก้ว ศก. 002 ที่อายุเก็บเกี่ยว 11, 12, 13, 14, 15, 16, และ 17 สัปดาห์ ภายหลังดอกบาน โดยดองในน้ำเกลือที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 และมีโซเดียมเบนโซเอทร้อยละ 0.1 ทำการวิเคราะห์คุณภาพของมะม่วงทั้งกายภาพและเคมีก่อนและหลังการดอง และทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสส่วนมะม่วงดอง ศก. 002 ทำการทดสอบคุณภาพทุกระยะ 3, 5 และ 7 เดือน ภายหลังจากการดอง ผลการดองปรากฏว่า มะม่วงแก้วดอง ศก. 007 อายุเก็บเกี่ยว 11 สัปดาห์ ภายหลังจากการดอง 1 เดือน ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ชิมและมีคุณภาพต่ำกว่ามะม่วงดองที่ใช้มะม่วงอายุเก็บเกี่ยว 12,13 และ 14 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่มะม่วงอายุตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนมะม่วงดอง ศก.002 ที่อายุเก็บเกี่ยว 11 สัปดาห์ มีคุณภาพต่ำที่สุด รองลงมาคือ 12 สัปดาห์ มะม่วงดองทั้งสองอายุเก็บเกี่ยวมีคุณภาพต่ำกว่ามะม่วงอายุตั้งแต่ 13 สัปดาห์ขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีคุณภาพไม่เป็นที่ยอมรับ มะม่วงอายุ 11 สัปดาห์ ทั้งสองสายพันธุ์เมื่อดองจะนิ่มและเน่าเสียหายมากที่สุด ตลอดจนมีสีและกลิ่นผิดปกติ สำหรับมะม่วงดอง ศก.002 อายุ 17 สัปดาห์ มีแนวโน้มดีที่สุด โดยมะม่วงจะกรอบ รสชาติดี และเป็นที่ยอมรับสูงสุด อย่างไรก็ตาม มะม่วงตั้งแต่อายุ 13 สัปดาห์ ถึง 17 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และอายุการดองมะม่วงไม่มีผลต่อคุณภาพและการยอมรับผู้ชิม
บทคัดย่อ (EN): A study on suitable harvesting index of Kew mangoes CV. SK 007 and SK 002 for pickling was conducted in 1987 and 1988 respectively at the Sisaket Horticultural Research Center. SK 007 mangoes at harvesting index of 11, 12, 13, 14 weeks after anthesis and SK 002 mangoes of 11, 12, 13, 14, 15, 16 and 17 weeks after anthesis were harvested and pickled in a 10% brine solution with 0.1% sodium benzoated. The fruit qualites were initially analysed on arrival and at subsequent intervals during pickling. Sensory evaluation of SK 007 pickled mangoes was assessed 1 mouth after 1, 3, 5 and 7 mouth for SK 002 pickled mangoes. Results showed that the mangoes harvested at 11 weeks after anthesis were significantly poorer in quality and acceptability than those of more nature fruits. The earliest harvesting time for SK 007 and SK 002 were 12 and 13 weeks after anthesis respectively. However SK 002 harvested at 17 weeks tended to be the best. It was found that the picking period did not affect picking quality.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2532
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2532
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วเพื่อการดอง
กรมวิชาการเกษตร
2532
เอกสารแนบ 1
ผลของพารามิเตอร์บางประการต่อการคายน้ำของมะม่วงพันธุ์ แก้ว การประเมินสายต้นมะม่วงแก้วเพื่อการแปรรูปเป็นมะม่วงอบแห้ง การพัฒนาของรอยผสานของมะม่วง การคัดเลือกผลมะม่วงแก้วเพื่อการส่งออกและการแปรรูป อายุการเก็บเกี่ยว และสภาพการเก็บรักษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า อายุการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เหมาะสมในดินที่มีเนื้อดินแตกต่างกัน ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตมะม่วงนอกฤดูอย่างยั่งยืน ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความหวานในเนื้อมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้กับโปรตีนในเปลือกมะม่วงที่มีลักษณะแตกต่างกันตลอดการสุกโดยใช้เทคนิคโปรติโอมิกส์ ผลของการปลูกหญ้าแฝกในแบบต่างๆ ต่อความชื้นดินในพื้นที่ปลูกมะม่วง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก