สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของสมาชิกต่อความสำเร็จการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
จันจิรา สายรอด - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของสมาชิกต่อความสำเร็จการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จันจิรา สายรอด
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคำพระ ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจของษมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และศึกษาปัญหา แนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคำพระ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคำพระ ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งหมด 107 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุสูงกว่า 50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว มีอาชีพหลักทำนา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีที่ดินเป็นของตนเอง มีรายได้ในครัวเรือนระหว่าง 30,000 - 50,000 บาท มีสถานภาพเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีระยะเวลาเป็นกรรมการกลุ่มมากกว่า 12 เดือน และมีระยะเวลาเป็นสมาชิกกลุ่มอยู่ระหว่าง 7 - 10 ปี สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเห็นด้วยว่าปัจจัยที่มีความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่ม ได้แก่ การได้รับผลประโยชน์ ธุรกิจตรงกับความต้องการ การมีคุณธรรม และความเป็นผู้นำ ความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ของคณะกรรมการ การเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ การได้รับการสนับสนุน การแบ่งงาน การมีส่วนร่วม ความรู้ความเข้าใจของสมาชิก การประชุม การประเมินผล ธุรกิจต่อเนื่อง การวางแผนที่ชัดเจนและการประสานงาน ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มมากอันดับหนึ่งได้แก่ สมาชิกกลุ่ม ปัญหาในการดำเนินงานกลุ่ม อันดับหนึ่งได้แก่ คณะกรรมการไม่ช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ แนวทางแก้ไขที่ดำเนินการไปแล้วอันดับหนึ่งได้แก่ การจัดหาตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน ระบุให้มีการพัฒนาคณะกรรมการกลุ่มสมาชิก ธุรกิจ หน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานภาคเอกชน ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ คือ การพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแผนงานที่ชัดเจน สอดคล้องสัมพันธ์กัน เหมาะสมกับสถานการณ์ และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการทำงานเป็นทีม และจิตวิทยาในการทำงานกลุ่ม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของสมาชิกต่อความสำเร็จการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรผสมผสาน บ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก