สืบค้นงานวิจัย
การขยายพันธุ์และการเติบโตของไม้พะยูง
พฤทธิ์ ราชรักษ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การขยายพันธุ์และการเติบโตของไม้พะยูง
ชื่อเรื่อง (EN): Propagation and Growth of Rose wood Dalbergia cochinchinensis)
บทคัดย่อ: พะยูงเป็นไม้ที่มีความสำคัญและคุณค่าทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากความต้องการใช้ประโยชน์มีมากกว่ากำลังการผลิตหรือการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติ การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการขยายพันธุ์เพื่อทดแทนวิธีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติหรือการขยายพันธุ์โดยวิธีอาศัยเพศที่มีอัตราการผลิตต่ำและความผันแปรทางพันธุกรรมสูงด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยการชักนำยอดจำนวนมากจากตายอดตาข้างและการชักนำแคลลัส ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างกล้าไม้พะยูงจากการเพาะเมล็ดในวัสดุเพาะทรายหยาบและดินผสมขุยมะพร้าว เมล็ดจะเริ่มงอกใน 5-7 วัน และการงอกจะเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อครบ 12-15 วัน จากนั้นอัตราการงอกจะลดลงและงอกครบทุกเมล็ดเมื่อครบ 28-32 วัน การงอกของเมล็ดพะยูงในวัสดุเพาะทรายหยาบและดินผสมขุยมะพร้าวมีอัตราใกล้เคียงกันคือ 98 และ 100 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ ชิ้นตัวอย่างตายอดตาข้างพะยูงจากกล้าไม้อายุ 6 เดือนที่ผ่านการตัดแต่งกิ่งถูกทำความสะอาดด้วยคลอรอกซ์ความเข้มข้น 10 เปอร์เซนต์ ระยะเวลา 10 นาที ให้ประสิทธิภาพในการปลอดเชื้อและรอดตายสูงสุด 90 เปอร์เซนต์ การชักนำยอดจำนวนมากจากตายอดและตาข้างพบว่า อาหารสูตร MS ที่ประกอบด้วย 0.2 ppm kinetin ร่วมกับ 1.0 ppm BAP ให้ผลการชักนำยอดเฉลี่ย 12 ยอดต่อชิ้นตัวอย่างซึ่งสูงที่สุด เมื่อเลี้ยงเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ การชักนำรากจากอาหารสูตร MS ที่ประกอบด้วยสารเร่งการเจริญเติบโต IBA ความเข้มข้น 8 ppm ให้ผลการชักนำรากดีที่สุดมีความยาวเฉลี่ย 0.8 เซนติเมตร จำนวนเฉลี่ย 2 รากต่อชิ้นตัวอย่าง เมื่อเลี้ยงเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ การชักนำแคลลัสพบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติมสารเร่งการเจริญเติบโต 1 ppm BAP ร่วมกับ 0.5 ppm Kn ให้ผลการชักนำการเกิดแคลลัสได้ดี เมื่อเลี้ยงเป็นระยะเวลา 21-28 วัน และแคลลัสสามารถเพิ่มปริมาณให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการย้ายลงอาหารสูตร MS ที่มีส่วนผสม 5 ppm BAP ร่วมกับ 0.5 ppm NAA เมื่อเลี้ยงได้ระยะเวลา 21-28 วัน และพบว่าอาหารสูตร ?MS ที่มีน้ำมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ 10 เปอร์เซนต์ และ 20 เปอร์เซนต์ ร่วมกับ 0, 0.2, 0.4, 0.6, และ 1,0 ppm BAP ตามลำดับ พบว่ายังไม่สามารถชักนำยอดจากแคลลัสได้เมื่อเลี้ยง 30 วัน
บทคัดย่อ (EN): Rose wood (Dalbergia cochinchinensis), a high important value species, is as a high number of requirement on wood timber increasingly more than a natural reproductive propagation. The objective of the project research is purpose for support their requirement and also increases natural propagation indirectly which frequently gives low yield out come and high genetic variation. In vitro culture method is used for enhance propagation by inducing of shoot multiplication and callus initiation from axillary and shoot bud. Seed germination for explants preparation in rough sand and soil mixed with coconut fiber showed germination percentage of 98 and 100, respectively. Seeds began sprout in 5-7 days after culture, and highest seed germination performed culture on 12-15 days. The seeds germination gradually decreased sprouting and were complete germination when culture 28-32 days. Shoots and axillary buds from 6 months stock pruning were used as explants for aseptic culture. They were sterilized in a disinfectant solution of 10% Clorox for 10 min showed highly effective cleaning at 90 percent. Multiple shoot induction was successful on MS medium including 0.2 ppm kinetin and 1.0 ppm BAP which induced highest multiple shoot of 12 shoots per explants after 6 weeks culture. The root initiation obtained from MS medium with plant growth regulator, 8.0 ppm IBA, revealed root average 2 roots per explants and length average of 0.8 cm after culture within 6 weeks. For callus induction, MS medium containing 1 ppm BA and 0.5 ppm Kn was a good result for callus initiative induction (21-28 days). After 4 weeks, callus was transferred to MS medium containing 5 ppm BAP and 0.5 ppm NAA showed effectively callus proliferation (21-28 days). For shoot induction from callus, ?MS medium included 10-20% coconut milk and plant growth regulator, 0, 0.2, 0.4, 0.6, and 1,0 ppm BAP, could not induce proliferate shoot when culture 30 days
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การขยายพันธุ์และการเติบโตของไม้พะยูง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2559
การพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ไม้พะยูงด้วยระบบ Temporary immersion เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและ ผลิตไม้แปรรูป การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อการขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์ไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์บางชนิด โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์พันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต การขยายพันธุ์ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camaldulensis Dehn.) โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแม่ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินลูกรัง เขตพื้นที่จังหวัดแพร่ โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์สับปะรดประดับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ศึกษาการขยายพันธุ์ผักย่านางด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์ต้น Tea Tree โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก