สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย
พิมล วุฒิสินธ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Longan Dryer
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิมล วุฒิสินธ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พิมล วุฒิสินธ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย ประกอบด้วย 3 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 พัฒนาเครื่องอบแห้งลำไยเนื้อแบบต่อเนื่อง ได้ต้นแบบเครื่องอบแห้งลำไยเนื้อที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ขนาดความจุ 1000 กก.ผลลำไย พร้อมเทคโนโลยีการอบแห้งที่ลด ต้นทุนด้านเชื้อเพลิง โดยใช้ชุดให้กำเนิดความร้อน สำหรับอบแห้งแบบอินฟาเรดใช้แก๊ส LPG เป็นเชื้อเพลิงอีกทั้งยังลดระยะเวลาในการอบแห้งลำไยเหลือประมาณ 7.5 ชั่วโมง ด้วยการแบ่งเป็นห้องอบแห้งอุณหภูมิสูงใช้เวลาอบประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง ต่อ จากนั้น อบต่อในห้องอบอุณหภูมิต่ำจนแห้ง พบว่า ลำไยเนื้ออบแห้งที่ได้มีคุณภาพดีเป็นที่พอใจของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต กิจกรรที่ 2 พัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งลำไยเนื้อแบบชาวบ้านได้นำรูปแบบ และ เทค โนโลยีการอบแห้งลำไยเนื้อ รวมทั้งชุดกำเนิดความร้อนแบบเชื้อเพลิงชีวมวล และเผยแพร่แล้วโดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ให้เกษตรกรนำไปปรับใช้แทนเครื่องอบแห้งแบบเดิมของเกษตรกร ซึ่งมีปัญหาทั้งด้านการกระจายลมร้อน ปริมาณลมและแหล่งกำเนิดความร้อน ทำให้ประสิทธิภาพต่ำมีความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน โดยใช้วัสดุในการสร้างที่หาได้ง่ายและราคาต้นทุนต่ำในท้องถิ่น เกษตรกรสามารถสร้างได้เอง พบว่า การทดสอบในพื้นที่เกษตรกรมีความพอใจและลำไยเนื้ออบแห้งมีคุณภาพดี กิจกรรมที่ 3 พัฒนาชุดคัดแยกลำไยก่อนและหลังการอบแห้งให้ได้มาตรฐาน เป็นการคัดขนาดลำไยก่อนและหลังการอบแห้ง เพื่อการซื้อขาย ทำความสะอาด โดยทำการศึกษาเครื่องคัดขนาดลำไยที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้ซื้อในปัจจุบัน เป็นแบบตะแกรงคัดเป็นทรงกระบอกวางซ้อนกัน 4 ชั้น ได้ทำการทดสอบหาความเหมาะสมของอัตราการป้อนกับพื้นที่และความเร็วรอบของตะแกรงคัด พบว่า พื้นที่ตะแกรงคัด 1.42 ตารางเมตร ความเร็วรอบ 12 รอบ/นาที ความเร็วเชิงเส้น 14.21 เมตร/นาที ควรจะคัดในอัตราการป้อนไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม/ชั่วโมง สำหรับการคัดลำไยผลสด และไม่เกิน 900 กิโลกรัม/ชั่วโมง สำหรับลำไยผลแห้งทั้งเปลือกจะได้เปอร์เซ็นต์การปนคละของแต่ละเกรดไม่เกินร้อยละ 10 ตามมาตรฐาน มกอช. 1-2546
บทคัดย่อ (EN): This propjet consist of 3 experimentals to study and development on longan drying technology and grading fresh and dried longan to improve the drying efficiency and the quality of product. 1) Research study on continuous type longan dryer. Two drying chambers high and low drying temperature with infrared burner reduce the drying time to about 7.5 hours and gas consumption the Capacity was about 1,300 kg fresh longan 2) Research and development on longan drying technology for farmer scale. The drying chamber was constructed from low cost material. Heat source using biomass furnace and heat exchanger. Improve the distributing of heated air circulating system in drying chamber. It was found that good quality of dried longan and accepted by formers. 3) Development of standard fresh and dried longan grading machines. To study on suitable feeding rate and revolution related to grading area of grader machine. It was found that grading area 1.42 m2 12 rev/min feeding rate of fresh longan 1,200 kg/hr and 900 kg/hr for dried longan.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2551
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบดแห้งและทอดทุเรียน ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาลำไย โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลำไย โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องทอดสุญญากาศสำหรับเนื้อลำไย ผลของความแก่อ่อนและสภาวะการอบแห้งด้วยตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ ที่มีต่อคุณภาพของส้มแขกแห้ง โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องวัดความชื้นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไย ผลของกระบวนการอบแห้งต่อคุณภาพของขนมขบเคี้ยวจากผลไม้ สารตกค้างในลำไยอบแห้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก